ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

สรุปข้อคิดที่ได้จากยุโรป

มาทำงานสิบกว่าวันในดินแดนยุโรป นี่ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายที่ยังไม่เคยเห็นดังนี้ 1) European Union เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การรวมกลุ่มทำให้เกิดการพัฒนา ความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็งสำหรับการศึกษา เศรษฐกิจ และการวิจัย นี่คือสิ่งที่น่าสนใจ 2) หลังจากที่อิตาลีตกรอบ ไม่ได้ไปบอลโลก สิ่งหนึ่งที่สมาคมกำลังทำก็คือ Stop and Rethink ในการปรับปรุงระบบครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากระดับเยาวชน ผ่านทางสโมสรต่างๆ ที่ร่วมมือร่วมใจกัน การเอาธุรกิจออกห่างจากวงการกีฬาเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน 3) Big Data และ Data Analysis ยังมีความจำเป็นเป็นอย่างมากสำหรับวงการกีฬาข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ ต้องมีการวิเคราะห์และกำหนด Framework ที่ชัดเจนสำหรับการเก็บข้อมูล และความเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แค่ทีมที่ใช้ข้อมูลแต่เป็นข้อมูลสำหรับทีมชาติด้วยเช่นกัน Data Sharing จึงยังมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับ การพัฒนากีฬา การไม่แบ่งข้อมูลทำให้วงการพัฒนาแต่ภาพรวมของประเทศไม่พัฒนา 4) การวิจัย ต้องเน้นการ Spin ออกไปเป็นสินค้า มากกว่าจะส่งประกวด เพราะผลลัพธ์คือต้องเอาไปขายและนำเงินมาต่อยอดการพัฒนาต่อไป หมดสมัยก...

การฟื้นสภาพ Recovery ในนักกีฬา เรียนรู้จากการทำงานของท่านผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ในการช่วยเหลือทีมหมู่ป่าอะคาเดมี่ ⚽

          ขอเป็นกำลังใจให้กับแผนการช่วยเหลือทีมหมู่ป่าอะคาเดมี่ ให้ทุกคนได้กลับบ้านได้ นะครับ นั่งติดตามข่าว แล้วก็ลองจับแนวคิดในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ของฝ่ายต่างๆ ที่นำโดยท่านผู้ว่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าเชียงรายในฐานะของ ผอ.ศอร.แล้วลองโยงเข้ามากับเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬา กันดูบ้างนะครับ ก็ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องของการฟื้นสภาพของนักกีฬา ซึ่งก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจทุกท่าน นะครับ  ⚽      เรื่องของการฟื้นสภาพนั้น จริงๆแล้วสำคัญไม่น้อยกว่าการกำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมนะครับ และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนนั้น ยังไม่เข้าใจเรื่องของการฟื้นสภาพที่แท้จริง วันนี้เลยขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับเรื่องของการฟื้นสภาพล้วนๆนะครับ ปกติแล้วเรากำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมโดยดูการฟื้นสภาพของนักกีฬาหรือไม่ ???  หรือว่าจะตามโปรแกรมการฝึกซ้อมของเรา เท่านั้น จากแต่ก่อนที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องของโหลดในนักกีฬาไปลแล้วทั้งสองตอนนะครับ ว่า นักกีฬานั้น มีโหลดต่างๆที่มากระทบต่อตัวเขาไม่ใช้แค่โหลดทางด้านสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว ...

ความสวยงามของกำปั้นบนผืนผ้าใบกับผลงานอันสุดยอดของกำปั้นทีมชาติไทย (ไม่ใช่ชุดปัจจุบัน)

🥊 เรื่องราวนี้เขียนจากประสบการณ์ของผม สมัยจบปริญญาโท ร้อนๆเมื่อปี 2008 ในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ หลังจากเหรียญทองประวัติศาสตร์ของสมรักษ์ คำสิงห์ ที่เมืองแอตแลนต้า ผลงานของทีมกำปั้นไทย ก็มีมาโดยตลอดแบบว่าไม่เคยขาดเหรียญทองโอลิมปิก จนส่งผลให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยสมัยนั้น กลายเป็นสมาคมเกรดเอ และกีฬามวยสากลสมัครเล่นก็สร้างความสุขให้กับคนไทยเสมอมา กีฬามวยสากลสมัครเล่นสมัยนั้น แม้จะโดนหลายสื่อมองว่าเป็นกีฬาที่มีความไม่ยุติธรรมในการตัดสินมาบ้าง แต่ทีมชาติไทยก็โชว์ฟอร์มได้เฉียบขาดมาโดยตลอด กับการทำงานอย่างหนักของชายที่ชื่อ เสธ.วีป พลเอกทวีป จันทรโรจน์ นักกีฬา และผู้ฝึกสอน ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านมวยสากลสมัครเล่นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่สมรักษ์ มนัส มาจนถึงสมจิตร วรพจน์ กับเหรียญเงินประวัติศาสตร์อีกเช่นกัน และเหรียญทองแดงของนักมวยอีกหลายคน ในโอลิมปิกเกมส์ และมวยชิงแชมป์โลกอีกมากมาย การวางแผนและเข้าใจถึงมวยสากลสมัครเล่นของ เสธ.วีป ทำให้ลีลาการชกมวยของนักมวยทีมชาติไทยนั้นล้วนสร้างความปวดหัวให้กับคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะไฟต์ชิงชนะเลิศ ของมนั...

นักมวยกับความเสี่ยงพาร์กินสัน (Boxer VS Parkinson's)

สวัสดีครับ ทุกวันนี้เราคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ อดีตนักมวย ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน กันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มูฮัมหมัด อาลี , เฟรดดี้ โรช เทรนเนอร์ของปาเกียว หรือ นักมวยของไทยหลายๆคน ที่มีอาการของทางสมอง พาร์กินสัน และ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อเลิกชกมวยไปแล้วนะครับ วันนี้จึงจะขอนำเสนองานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Basal ganglia และอยู่ในฐานข้อมูลของ Science Direct นะครับ เป็นของเพื่อนบ้านเราอย่างประเทศฟิลิปินส์ รายงานการวิจัยชิ้นนี้เพิ่งจะถูกตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว 2017 นะครับ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยของประเทศฟิลิปินส์ที่เลิกชกไปแล้ว สาเหตุที่จะต้องศึกษาก็เพราะ กีฬามวยสากล หรือ มวยสากลสมัครเล่นนั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศฟิลิปินส์ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะแรงบันดาลใจจาก แมนนี่ปาเกียว และแชมป์โลกคนอื่นๆอีกหลายคน นะครับเลยเป็นเหตุให้กีฬามวยของประเทศฟิลิปินส์ นั้นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มียิมมวย ค่ายมวย ตามอำเภอ จังหวัดต่างๆของฟิลิปินส์จำนวนมาก มีรายการชกมวยกันแทบจะทุกอาทิตย์ นะครับ ตามที่เราได้ทราบๆกันแล้วว่า มวยนั้น เป็นกีฬาต่อสู้ และเกิดก...

คนไทยยังเสพติดรีวิว

เราเลยกลายเป็นเครื่องมือการตลาดของธุรกิจต่างๆ การรีวิวสมัยนี้มันแยกยากระหว่าง รีวิว เพราะอยากจะรีวิว หรือ ถูกจ้างมารีวิว เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม แม้กระทั่งเวย์โปรตีน มักจะใช้คนรีวิวแทบทั้งสิ้น การเขียนรีวิว ในประเทศไทยมักจะต่างจากประเทศอื่นคือ มักจะเสนอแต่สิ่งดีๆ แต่ไม่เคยบอกสิ่งที่ไม่ดี ของสินค้านั้นๆ และต่างใช้คนดังหรือ Influener มาเป็นคนที่จะบอกว่าสินค้านี้ดี ต้องซื้อ ต้องหามาใช้ พอเรื่องแตกขึ้นมา Influencer เหล่านั้นก็สะบัดตูดหนี บอกว่าเขาจ้างมารีวิ วเท่านั้น แต่จริงๆแล้วคุณก็ไม่ต่างอะไรกับมิจฉาชีพ ที่หลอกลวง ต้มตุ๋น ประชาชนหรอกครับ จากเหตุการณ์เครื่องสำอางค์เมจิกสกิน หรือ การจับอาหารเสริม ยาลดความอ้วน ที่เกิดขึ้น จับผลิตภัณฑ์เรียกค่าไถ่ บล็อคเกอร์ รีวิว ดาราบางคน ก็เอาโปรดักส์มาขู่เช่น ถ้าส่งผลิตภัณฑ์ให้รีวิว ผลรีวิวก็จะออกมาห่วยๆ เขียนแต่ทางที่ไม่ดี ไม่พูดความจริง ทั้งที่ผลิตภัณฑ์เขามีการรับรองมาตรฐาน ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน แต่พวกคุณมึงกลับบอกว่า ไม่ดี กรรม แต่ถ้าลองมีการเสนอเงิน ทอง หรือ สิทธิประโยชน์ เช่น พาไปเที่ยวต่างประเทศ โปรดักซ์ที่เป็นซาตานก็จะ...

การแช่น้ำเย็นสำหรับการกีฬา Cold Water Immersion

วันนก่อนเขียนเรื่องแลคเตท กับ ความเมื่อยล้าไปแล้ว มีการแนะนำวิธีการแช่น้ำเย็น (Cold Water immersion) วันนี้เลยขออ้างอิงบทความจาก my sport sci เกี่ยวกับหลักการของการแช่น้ำเย็น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักของการฝึกเกิน กับการปรับชดเชยมากกว่าปกติ (Overload Principle and Supercompensation) ครับ ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาหรือออกกำลังกายทั่วไป หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างดี เอาง่ายๆก็คือ การฝึกที่หนักกว่าปกติจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากกว่าปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน เมื่อเราฝึกหนักๆเราก็จะเกิดความเมื่อยล้าขึ้นนะครับ ก่อนที่เราจะเลือกวิธีการแช่น้ำเย็น เราลองตั้งคำถามตัวเองดังนี้ 1. ต้องมีการแข่งขันหรือไม่ 2.วันแข่งขันของคุณเกิดขึ้นบ่อยมากแค่ไหน 3.กีฬาของคุณเกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื่อแบบ Eccentric คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อที่มีการยืดยาวออกของความยาวของกล้ามเนื้อ หรือมีแรงกระแทก การปะทะกันหรือไม่ 4. คุณมีความเมื่อยล้าหรือการบาดเจ็บอย่างมากหรือไม่ 5. คุณออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในที่ที่มีอากาศร้อนหรือไม่ 6. ช่วงเวลานั้นอยู่นอกช่วงการเตรียม หรือไม่ 7. การฝึก...

การฝึกโดยใช้ขีดจำกัดของพลังในการขี่จักรยาน Function Threshold Power (FTP) และโซนการฝึกซ้อมจักรยาน

🚴  ถ้าคุณเป็นนักปั่นที่ค่อนข้างจะจริงจัง และซีเรียสเรื่องความเร็วในการปั่นจักรยาน วันนี้เรามีเครื่องมือสองชิ้น มาแนะนำ ซึ่งคุณไม่สามารถที่จะปราศจากสองสิ่งนี้ได้ นั่นก็คือ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และการวัดพลังในการปั่นจักรยาน นั่นเอง 🚴  การวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นการวัดองค์ประกอบทางสรีรวิทยาที่สำคัญ ว่า ร่างกายมีการตอบสนองอย่างไร ในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน รวมทั้งการที่ร่างกายมีความสามารถในการฟื้นสภาพดีเพียงใด ตอบสนองต่อโปรแกรมการฝึกซ้อมได้ดีเพียงใด ในขณะที่ ตัววัดพลังในการปั่นจักรยาน Power Meter นั้นเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ที่จะทำให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับ พลังในการปั่นจักรยาน ความสามารถในการรักษาพลังในการขี่จักรยาน Functional Threshold Power (FTP) และสามารถสร้างโซนการฝึกซ้อมที่จะช่วยปรับสมรรถภาพของคุณอย่างละเอียดเพื่อเพิ่มความสามารถในการปั่นจักรยานของคุณ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องไปไขว่คว้าหามา ถ้ามันกระเทือนต่อวิถีชีวิตคุณ 🚴  เรามารดูความสัมพันธ์ระหว่างจุดเริ่มล้า กับ ขีดจำกัดของพลังในการขี่จักรยาน Function Threshold Power (FTP) 🚴  ขณะที่คุณมีการฝึกซ้อมที่ค...

แคมเปญรณรงค์การการเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับชาติ

SG National Step Challenge Season #3 วันนี้พาไปดูโครงการดีๆของประเทศเพื่อนบ้านของเรากันบ้างนะครับ โครงการการรณรงค์การเดิน แห่งชาติ หลังจากที่ ประธานาธิบดี ลี เซียน หลุง ได้ประกาศวาระแห่งชาติ คือ การเอาชนะโรคเบาหวาน ซึ่งกำลังคุกคามคนสิงคโปร์ การออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการลดอุบัติกาลและความเสี่ยงในการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น การหยิบเอาสิ่งง่ายๆรอบตัว มาเป็น Flagship ในการกระตุ้นให้คนเราเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ เริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว คือ การเดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน และเป็นก้าวแรกของการมีสุขภาพที่ดี ก่อนที่จะก้าวสู่การเริ่มการออกกำลังกายอย่างจริงจัง ในขั้นต่อไป การนำหลักจิตวิทยาง่ายๆ เช่นการตั้งเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจ เป็นหัวใจสำคัญในการดึงคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดยการแบ่งเป้าหมายออกเป็นขั้นๆ แล้วให้รางวัล แม้จะเป็นรางวัลไม่มาก แต่ก็มีคุณค่าสำหรับการเริ่มต้น และสร้างแรงจูงใจทำให้กล้าทำในขั้นต่อๆไป ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยากขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรก ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และ การรับประทานอาหารเข...

ข้อคำนึงในการกำหนดความหนักในการฝึก

เรื่องการกำหนดความหนักของการฝึกซ้อม สาเหตุหนึ่งของการฝึกซ้อมที่ไม่ได้เป็นไปตามโปรแกรมการฝึกซ้อมที่วางเอาไว้ก็คือ การทดสอบ ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การทดสอบความหนักสูงสุดของการออกกำลังกาย นั่นเป็นความหนักสูงสุดจริงๆแล้วหรือไม่ ??? รูปแบบ หรือ แบบทดสอบ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน เราเคยถามตัวเองไหมว่า เราเลือกแบบทดสอบสำหรับนักกีฬาอย่างไร ??? ทำตามๆกันมา? ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ?? แล้วเคยประสบปัญหาว่าแบบทดสอบที่ใช้ในการทดสอบ มันไม่ได้ข้อมูลที่แม่นยำกับนักกีฬาของเรา ผมเชื่อว่าหลายค นก็พยายามหาคำตอบอยู่เช่นกัน มีเทคนิคข้อหนึ่งของการเลือกแบบทดสอบไปใช้กับนักกีฬาคือ Intraclass Correlation. Coefficient: ICC ของแบบทดสอบ กับผู้ประเมินครับ ดูก็ได้ครับ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากครับ อีกวิธีนึงก็คือ การดูจาก Systematic Review ครับ ------------------------------------------------------------------ การทดสอบปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) นั้นเป็นความหนักสูงสุดของกีฬาชนิดนั้นๆจริงหรอ วิธีการทดสอบที่มีความเที่ยงตรง เชื่อมั่นเพียงใด การทดสอบนั้นมันเกี่ยวข้องกับกีฬามากน้อยแค่ไหน ผมยังเชื่อว่าการทดส...

การติดตามการตอบสนองต่อการซ้อมด้วยการวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ Heart Rate

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นการควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ Autonomic Nervous System ซึ่งจะมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการออกกำลังกาย หรือ การได้รับสิ่งเร้าต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งการดูการทำงานของอัตราการเต้นของหัวใจนั้น สิ่งหนึ่งที่มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายก็คือ การวัดอัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ HRV นั่นเอง สำหรับเรื่องของ HRV นั้นผมเคยเขียนไปในตอนที่แล้ว ๆ มา กับอีกวิธีหนึ่ง คือ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจในขณะฟื้นสภาพ HRR: Heart Rate Recovery แต่เมื่อไม่นานมานี้มีวิธีการวัดอัตราการหดตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นั่นก็คือ ระบบประสารทซิมพาเธติก และ พาราซิมพาเตธิก นั่นเอง ระบบประสาทอัตโนมัติ นั้น จะพยายามรักษาสมดุล Homeostasis ภายหลังจากการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม การฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายหนักต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดความเครียด และทำให้เกิดการสูญเสียความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งบางครั้งเราก็ใช้อัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ HRV ในการดูการเลี่ยนแปลงของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้น หรือการฝึกซ้อมนั่...