ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข้อคำนึงในการกำหนดความหนักในการฝึก


เรื่องการกำหนดความหนักของการฝึกซ้อม สาเหตุหนึ่งของการฝึกซ้อมที่ไม่ได้เป็นไปตามโปรแกรมการฝึกซ้อมที่วางเอาไว้ก็คือ การทดสอบ ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การทดสอบความหนักสูงสุดของการออกกำลังกาย นั่นเป็นความหนักสูงสุดจริงๆแล้วหรือไม่ ??? รูปแบบ หรือ แบบทดสอบ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน เราเคยถามตัวเองไหมว่า เราเลือกแบบทดสอบสำหรับนักกีฬาอย่างไร ??? ทำตามๆกันมา? ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ?? แล้วเคยประสบปัญหาว่าแบบทดสอบที่ใช้ในการทดสอบ มันไม่ได้ข้อมูลที่แม่นยำกับนักกีฬาของเรา ผมเชื่อว่าหลายคนก็พยายามหาคำตอบอยู่เช่นกัน มีเทคนิคข้อหนึ่งของการเลือกแบบทดสอบไปใช้กับนักกีฬาคือ Intraclass Correlation. Coefficient: ICC ของแบบทดสอบ กับผู้ประเมินครับ ดูก็ได้ครับ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากครับ อีกวิธีนึงก็คือ การดูจาก Systematic Review ครับ
------------------------------------------------------------------
การทดสอบปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) นั้นเป็นความหนักสูงสุดของกีฬาชนิดนั้นๆจริงหรอ วิธีการทดสอบที่มีความเที่ยงตรง เชื่อมั่นเพียงใด การทดสอบนั้นมันเกี่ยวข้องกับกีฬามากน้อยแค่ไหน ผมยังเชื่อว่าการทดสอบที่เฉพาะเจาะจง หรือ พยายามให้เฉพาะเจาะจง นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการวัดความสามารถสูงสุด ที่สำคัญ ที่หลายคนลืมนึกถึงก็คือ ธรรมชาติของกีฬา ที่เป็นสิ่งสำคัญ บางคนคิดว่า ความแข็งแรง เป็นสรณะ เช่นกีฬาที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นจักรยาน เรือพาย แม้กระทั่งกรีฑา แต่จริงๆแล้ว การฝึกซ้อมกีฬานั้น อย่างที่ผมเคยเขียนในตอนก่อนหน้านี้ว่า จริงๆแล้ว ถ้านักกีฬามีมวลกล้ามเนื้อมาก แม้กล้ามเนื้อจะสร้างแรงได้มาก แต่ก็จะต้องชดเชยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น พื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแรงฉุด Drag มากขึ้นเช่นกันครับ ดังนั้นเราต้องหาจุดที่เหมาะสมที่สุดให้ได้นะครับ นั่นคือ จุดที่ทำให้เกิดสมรรถนะที่มากที่สุด Optimization ครับ...บางแห่งทดสอบสมรรถภาพทางกายแบบทั่วๆไป กับนักกีฬาระดับอีลิท มันก็เป็นเรื่องที่เสียเวลา และผลกรทดสอบยังไม่สามารถนำไปใช้ในการฝึกซ้อมได้ แถมยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บด้วยครับ
-----------------------------------------------------------------------
Maximize หรือฟิตมาก ไม่มีจริง แต่ Optimize สามารถทำให้เป็นจริงได้ เหมือนที่เขาบอกว่า ศูนย์ นั้นเป็นสิ่งสมมติ มีทั้งศูนย์แท้ และศูนย์ไม่แท้ สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับกีฬานั้น ก็มีแต่จุดสูงสุดเทียม ไม่มีความฟิตสูงสุดจริงๆ หรอกครับ ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย กับ สถิติ เป็นตัวกำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมเท่านั้นแต่ควรจะเข้าใจเกี่ยวกับ ความเหมาะสมขององค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายในด้านต่างๆ ให้ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว วิทยาศาสตร์การกีฬา มันไม่ได้เป็นแค่ศาสตร์ เท่านั้น แต่มันคือ ศิลปะ ความละเอียด และความเอาใจใส่ ด้วยนะครับ ผลลัพธ์จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า คุณมีการเก็บรายละเอียดได้มากน้อยเพียงใด ซึ่ง หาได้ยากมากในปัจจุบัน ยิ่งถ้าวางโปรแกรมแล้วเกิดไปพีคก่อนหรือหลังแข่งด้วย ยิ่งหายนะเลยนะครับ เขาบอกว่าร่างกายของมนุษย์สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองได้ ดังนั้น การฝึกซ้อมที่ดีมันจะทำให้มนุษย์เราก้าวข้ามขีดจำกัดของเราไปได้ครับ...อยากรู้ลึก แนะนำให้เรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา ครับ โดยเฉพาะที่ มศว ของเรา รับรองว่าได้รู้จริง รู้ลึก แน่นอนครับ
สวัสดี! มีความสุขกันในวันวาเลนไทน์ และเทศกาลตรุษจีนนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่