ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แคมเปญรณรงค์การการเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับชาติ



SG National Step Challenge Season #3

วันนี้พาไปดูโครงการดีๆของประเทศเพื่อนบ้านของเรากันบ้างนะครับ โครงการการรณรงค์การเดิน แห่งชาติ หลังจากที่ ประธานาธิบดี ลี เซียน หลุง ได้ประกาศวาระแห่งชาติ คือ การเอาชนะโรคเบาหวาน ซึ่งกำลังคุกคามคนสิงคโปร์ การออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการลดอุบัติกาลและความเสี่ยงในการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น การหยิบเอาสิ่งง่ายๆรอบตัว มาเป็น Flagship ในการกระตุ้นให้คนเราเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ เริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว คือ การเดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน และเป็นก้าวแรกของการมีสุขภาพที่ดี ก่อนที่จะก้าวสู่การเริ่มการออกกำลังกายอย่างจริงจัง ในขั้นต่อไป การนำหลักจิตวิทยาง่ายๆ เช่นการตั้งเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจ เป็นหัวใจสำคัญในการดึงคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดยการแบ่งเป้าหมายออกเป็นขั้นๆ แล้วให้รางวัล แม้จะเป็นรางวัลไม่มาก แต่ก็มีคุณค่าสำหรับการเริ่มต้น และสร้างแรงจูงใจทำให้กล้าทำในขั้นต่อๆไป ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยากขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรก ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และ การรับประทานอาหารเข้าไปในโปรเจคต์อีกด้วย เราลองมาดูรางวัลกัน ส่วนเรื่องอุปกรณ์การนับก้าว Tracker นั้น จะใช้ของใคร ยี่ห้อใดก็ได้ครับ หรือ ถ้าไม่มีเงินซื้อ รัฐบาลก็แจกฟรีกันไปเลยครับ

รางวัลในแต่ละวันคือ 

  • 5000 ก้าว 10 Health Point
  • 7,500 ก้าว 25 Health Point
  • 10,000 ก้าว 40 (max) Health Point

รางวัลในแต่ละขั้น

  • Tier 1 750 Health Point รางวัลมูลค่า $5
  • Tier 2 Additional 1,500 HealthPoint รางวัลมูลค่า $10
  • Tier 3 to 6 Additional 750 per tier เพิ่มทุกๆขั้น รางวัล

มูลค่า $5 ถ้าเราเดินครบทุกขั้นเราก็จะได้เงินรวม 30 SGD ประมาณ 750 บาท และยังมี Challenge รางวัลใหญ่ๆ เช่น ตั๋วเครื่องบินไป ของที่ระทึก โดยเป็นการได้สิทธิ์ในการจับรางวัล จากขั้นแต่ละขั้นแตกต่างกันออกไป เช่น Tier1 ได้ 1 สิทธิ์ Tier2 ได้ 2 สิทธิ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันระหว่างองค์กร หรือ หน่วยงานในแต่ละประเทศไปพร้อมๆกัน โดยคนที่อยู่ในหน่วยงานสามารถแข่งได้สองรูปแบบ เลยนะครับ โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ หน่วยงานที่มากกว่า 200 คน กับหน่วยงานที่น้อยกว่า 200 คน แบ่งเป็น 4 รอบการแข่งขัน : (a) 15 – 31 มกราคม 2018; (b) 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2018; (c) 1 – 31 มีนาคม 2018; and (d) 1 – 30 เมษายน 2018. รางวัลถ้าหน่วยงานขนาดใหญ่ ก็ 10,000 SGD หรือประมาณ 250,000 บาทครับ เงื่อนไขคือ สามารถชนะได้เพียงครั้งเดียว เพื่อกระจายรางวัลให้ทั่วถึงกันครับ แต่ถ้าหน่วยงานไหนเห็นความสำคัญก็สามารถจัดแคมเปญย่อย เป็นการแข่งขันขึ้นภายในหน่วยงานอีกได้เช่นกัน
การสร้างสภาพแวดล้อม EcoSystem เป็นสิ่งจำเป็นมาก ในการที่จะทำให้มนุษย์นั้นเกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการมีเป้าหมายที่ชัดเจน และการบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน จะทำให้ เป้าหมายนั้นสำเร็จ ไม่เป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง ไปนั่นเอง โครงการนี้ ดำเนินการโดย กระทรงสาธารณสุข และ คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ถ้าเปรียบหน่วยงานบ้านเราก็คือ สสส นั่นเอง สิ่งที่รัฐบาลได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ในแต่ละวัน นั้น รัฐบาลก็สามารถจัดการข้อมูลแบบ Big Data ได้ ว่า เราควรจะวางแผนกระตุ้นอย่างไร คนในเขตไหนมีการตื่นตัวแค่ไหน หรือ การเปลี่ยนแปลงของงบประมาณรักษาพยาบาลมีการลดลงหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงแผนกลยุทธ์ของรัฐบาลทางด้านสุขภาพว่าเหมาะหรือไม่เหมาะสมอย่างไร แต่ผมคิดว่า ถ้าโครงการนี้ไม่เห็นผลคงพับเก็บไปตั้งแต่ Season #1 แล้วหละครับ
พอดูบ้านคัลท์ เมืองคัลท์ เราย้อนกลับมามองดูบ้านตัวเองบ้าง บ้านเรานั้นโครงการเพียบครับ งบประมาณก็เยอะกว่า มาก แต่กระจายลงไป โดยที่ไม่มีโรดแมป ชัดเจน สุดท้ายโครงการต่างๆก็เป็นหมือนไฟไหม้ฟาง นั่นแหละครับ ก็หวังว่าถ้าผมยังไม่ตายคงจะได้เห็นโครงการลักษณะแบบนี้ โครงการที่มีการบูรณาการ ทุกภาคส่วน เป็นวาระแห่งชาติ ในบ้านเราเมืองเรากันบ้างนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...