ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตามการตอบสนองต่อการซ้อมด้วยการวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ Heart Rate


เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นการควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ Autonomic Nervous System ซึ่งจะมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการออกกำลังกาย หรือ การได้รับสิ่งเร้าต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งการดูการทำงานของอัตราการเต้นของหัวใจนั้น สิ่งหนึ่งที่มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายก็คือ การวัดอัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ HRV นั่นเอง สำหรับเรื่องของ HRV นั้นผมเคยเขียนไปในตอนที่แล้ว ๆ มา กับอีกวิธีหนึ่ง คือ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจในขณะฟื้นสภาพ HRR: Heart Rate Recovery แต่เมื่อไม่นานมานี้มีวิธีการวัดอัตราการหดตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นั่นก็คือ ระบบประสารทซิมพาเธติก และ พาราซิมพาเตธิก นั่นเอง ระบบประสาทอัตโนมัติ นั้น จะพยายามรักษาสมดุล Homeostasis ภายหลังจากการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อม การฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายหนักต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดความเครียด และทำให้เกิดการสูญเสียความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งบางครั้งเราก็ใช้อัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ HRV ในการดูการเลี่ยนแปลงของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้น หรือการฝึกซ้อมนั่นเอง ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมในการวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นั่นก็คือ การวัดอัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ HRV และ การวัดการฟื้นสภาพของอัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากการออกกำลังกายในการคืนสู่สภาวะปกติภายหลังจากการออกกำลังกาย (ที่เขาบอกว่าถ้าคนฟิต อัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากการออกกำลังกายจะลดลงกลับคืนสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว นั่นเอง) 
เรามาดูกันนะครับจากการวิจัยที่ผ่าน ๆ มา เรามาดูว่าในนักกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทนสูง ๆ วิธีการไหนจะเหมาะเหม็งที่สุดในการดูเรื่องของการฝึกซ้อม การทบทวนวรรณกรรมนี้ใช้ระบบ PRISMA: Preferred Reporting Items for Systematics Review and Meta-Analysis) จากการค้นหาในฐานข้อมูลการวิจัยจาก 7032 เรื่อง นำมาคัดกรองที่ซ้ำ และไม่ตรงกับเกณฑ์ออกไป จนเหลือเพียง 35 เรื่อง เมื่อรวมกลุ่มตัวอย่างจากงานวิจัยเข้าด้วยกันแล้วได้จำนวน 355 คนซึ่งได้รับการฝึกซ้อมและมีทั้งการวัดการทำงานของระบบประสารทอัตโนมัติ และโปรแกรมการฝึกซ้อม ทั้งทางด้านบวกและลบ
หากนักกีฬามีการฝึกซ้อมความอดทน นั้นผลที่ได้ก็คือ การเพิ่มขึ้นของความสามารถของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิตนั้นเอง ซึ่งจะดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากการออกกำลังกาย Post Exercise HRV และอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นสภาพ จากการทบทวนวรรณกรรมย้อนหลังเพื่อดูผลในทางบวก และลบของการพัฒนา หรือ ตอบสนองต่อโปรแกรมการฝึกซ้อม นั้น จากการวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ โดยการวัดผลของการปรับตัวต่อการฝึกซ้อมควบคุ่กับการวัด อัตราการผันแปรของหัวใจในขณะพัก Resting HRV อัตราการเต้นของหัวใจภายหลังการออกกำลังกาย Post-Exercise HRV อัตราการเต้นของหัวใจภายหลังหยุดออกกำลังกาย Post Exercise HR Recovery และ อัตราเร่งของอัตราการเต้นของหัวใจ HR Acceleration พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของการทำงานของระบบประสาท ซิมพาเธติก (ระบบประสาทที่เน้นเรื่องการผ่อนคลาย) ที่มีต่อการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก ในกรณีของการวัด HRR และ HR Acceleration) ในนักกีฬาที่มีการตอบสนองต่อโปรแกรมฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสม อีกสิ่งหนึ่งที่ได้จากการวิเคราะห์และทบทวนวรรณกรรมนี้ก็คือ การใช้ HFP (High Frequency Power) ในการวิเคราะห์ คลื่นความถี่ Frequency Domain Analysis ของอัตราผันแปรของการเต้นของหัวใจ นั้นพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการทบทวนวรรณกรรม แสดงให้เห็นว่าการฝึกซ้อมนั้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของสมรรถนะของนักกีฬา แต่ก็อาจเกิดจากข้อจำกัดในการวัด หรือ รูปแบบท่าทาง ในการวัด เช่น การนั่ง หรือ นอนราบ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม 


และยังพบอีกว่าการลดลงของสมรรถนะของนักกีฬาในการฝึกซ้อมที่เกิดสภาวะ Overreaching นั้นมีผลต่ออัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากวิธีการในการวัด ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และการทบทวนวรรณกรรมนี้ยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากออกกำลังกาย Recovery Phase นั้นเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของความสามารถในการออกกำลังกาย ซึ่งการใช้อัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากการออกำลังกาย Heart Rate @ Recovery เป็นเครื่องมือในการวัดการตอบสนองต่อการฝึกซ้อมเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นการวัดตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อมและโหลดที่ใช้ในการฝึกซ้อมนอกเหนือจากการใช้อัตราการเต้นของหัวใจเพียงอย่างเดียวอาจจะมีความจำเป็นมากขึ้นในการวัดการตอบสนองต่อโปรแกรมการฝึกซ้อมนอกเหนือจากตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอัตรากาเต้นของหัวใจเพียงอย่างเดียว สำหรับการวัดอัตราเร่งของระบบหัวใจและไหลเวียนนั้นยังมีการวิจัยน้อยอยู่แต่ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับการวัดสภาวะของการฝึกเกินได้ หรือ การฝึกที่กระตุ้นความเมื่อยล้าเป็นต้น
จากการทบทวนวรรณกรรมเราจะเห็นได้ว่า ไม่ได้มีเครื่องมือตัวไหนที่สามารถตอบโจทย์ในการวัดการตอบสนองของร่างกายของเราในการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมได้ครบถ้วน ดังนัน การรู้จักศึกษาหาความรู้ และใช้ข้อมูลต่าง ๆ ประกอบจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการวัดและควบคุมความหนัก ในการฝึกซ้อมรวมทั้งการรักษาสภาพร่างกายให้เหมาะสม การฝึกซ้อมหนัก และไม่สมดุลกับการพักผ่อนหรือการฟื้นสภาพนั้น จะทำให้เราเกิดสภาวะสุดเอื้อมหรือการฝึกเกินได้ โดยง่ายดาย ปัจจุบันมีเครื่องมือ และตัวแปร ต่าง ๆ หลายตัวที่สามารถช่วยให้เราติดตามการฝึกซ้อมได้อย่างเป็นระบบ ตอนนี้พูดเฉพาะเรื่องความอดทน และการตอบสนองต่อโปรแกรมการฝึกซ้อมนะครับ แต่ถ้าเป็นสมรรถภาพ ทางกายด้านอื่น ๆ ก็ต้องใช้การวัดที่แตกต่างกันออกไปครับ และงานวิจัยก็ไม่ใช่ข้อสรุปนะครับ งานวิจัยก็เหมือนเหรียญทั้งสองด้านครับ เราก็ต้องศึกษาหาข้อมูลให้รอบด้าน บางคนเลือกงานวิจัยมาเพื่อสนับสนุนเฉพาะความคิดของตนเอง แต่แท้ที่จริงแล้ว แนวโน้มอาจจะไม่ไปอย่างที่เขาคิดก็ได้ ซึ่งเราก็ต้องอ่านและพิจารณากันอย่างมีสติ เพราะทุกวันนี้บางเพจก็เอางานวิจัยที่สนับสนุน ความคิด หรือ สิ่งที่แอดมินตั้งใจจะให้เป็นมาอ้างอิงกันเป็นอย่างมาก….ไม่ได้ให้เชื่อ หรือไม่เชื่อ แต่สิ่งที่ผมต้องการมาก คือการอภิปราย แลกเปลี่ยนรวมทั้งแบ่งปัน นะครับ
สิ่งที่ได้จากการศึกษานี้
1. การวัดอัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ (Post Exercise HRV) และอัตราการเต้นของหัวใจภายหลังจากการออกกำลังกาย (Post- Exercise HRR) รวมทั้งการวัดอัตราเร่งของอัตราการเต้นของหัวใจ นั้น มีผลต่อ การเพิ่มขึ้นของการตอบสนองต่อโปรแกรมการฝึกซ้อมและออกกำลังกาย
2. มีการลดลงของความสามารถ เมื่อมีการฝึกที่ความหนักสูงมาก ๆ อัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นสภาพ และอัตราการผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจ (Post Exercise HRV) มีการเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าไม่มีการวัดตัวแปรอื่น ๆประกอบด้วยอาจจะทำให้เกิดการวิเคราะห์ผลที่ผิดพลาด ดังนั้นควรตะต้องเพิ่มตัวแปรอื่น ๆ เข้าไปด้วย
3. การฝึกหนักมาก ๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการผันแปรของอัตรากาเต้นของหัวใจขณะพักน้อยมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามจำนวนของการศึกษานั้นยังน้อยอยู่ ซึ่งบางทีอาจจะเกี่ยวข้องกับวิธีในการออกแบบการวิจัย ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
4. สำหรับเรื่องของอัตราเร่งของอัตราการเต้นของหัวใจนั้น ยังมีจำนวนการศึกษาที่น้อยอยู่ แต่ยังคงเป็นตัวแปรที่น่าสนใจสำหรับการดูเรื่องของการฝึกเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเมื่อยล้าได้
Bellenger CR, Fuller JT, Thomson RL, Davison K, Robertson EY, Buckley JD. Monitoring Athletic Training Status Through Autonomic Heart Rate Regulation: a Systematic Review and Meta-Analysis. Sports Med. 2016 Oct;46(10):1461-86. doi:10.1007/s40279-016-0484-2. Review. PubMed PMID: 26888648.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่