ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักมวยกับความเสี่ยงพาร์กินสัน (Boxer VS Parkinson's)


สวัสดีครับ ทุกวันนี้เราคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ อดีตนักมวย ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน กันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มูฮัมหมัด อาลี , เฟรดดี้ โรช เทรนเนอร์ของปาเกียว หรือ นักมวยของไทยหลายๆคน ที่มีอาการของทางสมอง พาร์กินสัน และ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อเลิกชกมวยไปแล้วนะครับ วันนี้จึงจะขอนำเสนองานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Basal ganglia และอยู่ในฐานข้อมูลของ Science Direct นะครับ เป็นของเพื่อนบ้านเราอย่างประเทศฟิลิปินส์ รายงานการวิจัยชิ้นนี้เพิ่งจะถูกตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว 2017 นะครับ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยของประเทศฟิลิปินส์ที่เลิกชกไปแล้ว สาเหตุที่จะต้องศึกษาก็เพราะ กีฬามวยสากล หรือ มวยสากลสมัครเล่นนั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศฟิลิปินส์ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะแรงบันดาลใจจาก แมนนี่ปาเกียว และแชมป์โลกคนอื่นๆอีกหลายคน นะครับเลยเป็นเหตุให้กีฬามวยของประเทศฟิลิปินส์ นั้นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มียิมมวย ค่ายมวย ตามอำเภอ จังหวัดต่างๆของฟิลิปินส์จำนวนมาก มีรายการชกมวยกันแทบจะทุกอาทิตย์ นะครับ ตามที่เราได้ทราบๆกันแล้วว่า มวยนั้น เป็นกีฬาต่อสู้ และเกิดการบาดเจ็บที่สมองได้เป็นปกติ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจากการถูกกระทบกระเทือนทางสมองก็ได้แก่ อาการเมาหมัด Punch-Drunk และ ภาวะของสมองเสื่อมนั่นเอง นอกจากนี้แล้วการศึกษาสภาวะ หรือ พยาธิสภาพของการบาดเจ็บที่สมองแบบเรื้อรัง ก็ได้ถูกนำมาพิจารณาประกอบ ด้วย ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนทางสมองซ้ำๆ หรือ การถูกชกเข้าที่ศรีษะ นั่นเอง ซึ่งการเกิดการบาดเจ็บเรื้องรัง ที่สมองนั้น อาจจะส่งผลต่อ ความจำ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (อารมณ์ไม่ปกติ) พาร์กินสัน หรือ ปัญหาในการพูด Speech Abnormal ซึ่งการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาแบบนี้นั้น ยังไม่ค่อยพบในเอเชีย จึงเป็นสาเหตุให้ เกิดการวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา เพื่อดูเกี่ยวกับความถี่ และความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคพาร์กินสันในนักมวยฟิลิปินส์ ที่เลิกชกไปแล้วหรือไม่
Image result for professional boxer
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คนซึ่งเป็นนักมวยสากลอาชีพของฟิลิปินส์ โดยแบบคัดกรองการเกิดโรคพาร์กินสัน ของ Movement Disorder Society ชื่อแบบทดสอบ undefied Parkinson’s disease rating scale (MDS-UPDRS) ผลการศึกษาพบว่า 17 คนจาก 21 คนมีสภาวะของโรค พาร์กินสัน (80.95%) สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเกิดโรคพาร์กินสันนั้น พบว่า จำนวนไฟต์ที่แพ้และจำนวนที่ถูกน็อคนั้น ส่งผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่า นักมวยในรุ่นใหญ่ นั้นจะมีโอกาสเกิดโรคพาร์กินสันได้สูงกว่านักมวยรุ่นเล็ก แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องหลังสุดนี้ จากข้อมูลนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ
1. การเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะซ้ำๆ หลายๆครั้งในนักมวยสากล นั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดและการพัฒนาของโรคพาร์กินสัน
2. อัตราการเกิดโรคพาร์กินสันในนักมวยสากล ของฟิลิปินส์ที่เลิกชกไปแล้ว มีอัตราการเกิดโรคร้อยละ 80.95
3. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพาร์กินสันนั้นก็คือ จำนวนไฟต์ และ จำนวนไฟต์ที่แพ้ และถูกน็อค ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญมาก
4. นักมวยทีพ่ายแพ้ และมีการถูกน็อคอยู่ในระดับสูงจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากข้อมูลชิ้นนี้คงถึงเวลาแล้วนะครับที่จะต้องตระหนัก ถึงความปลอดภัยในวงการมวยสากล รวมทั้งมวยสากลสมัครเล่น ที่พยายามจะปรับทั้งกติกา และอุปกรณ์ป้องกันให้เข้าไปใกล้เคียงกับมวยสากลอาชีพ มากขึ้น ยิ่งประสบการณ์ของนักกีฬาที่อายุยังน้อย และไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกกระทบกระเทือนทางสมองอันเป็นสาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน เมื่อ หยุดชกมวยไปแล้วก็เป็นได้ แต่ก็ต้องรอผลการศึกษาวิจัยที่จะมายืนยันอีกครั้ง
Image result for มวยไทย
ลองมองย้อนกลับมาที่มวยไทย มวยสากลสมัครเล่น กันบ้าง เราอยากให้มวยไทยเข้าสู่โอลิมปิคเกมส์ อยากให้มีความเป็นสากล แต่เรื่องความปลอดภัย เรื่องการป้องกัน สิ่งเหล่านี้ ยังไม่เห็นมีความเป็นรูปธรรมเลย เรามีคณะกรรมการกีฬามวยขึ้นมาทำไม ??? หน่วยงานนี้เคยลงไปตรวจสอบเรื่องราวเหล่านี้หรือไม่ แล้ว อีกนานแค่ไหน มวยไทย หรือ มวยสากลสมัครเล่น จะมีความเป็นสากล มีความปลอดภัย สายลมเท่านั้นที่รู้ การนำนักมวยที่มีความแตกต่างกันในด้านร่างกายหรือเทคนิค มาชกกัน เพียงเพื่อเป็นบันไดในการไต่บันลังก์โลก ควรจะเลิกได้แล้ว เพราะนั่นคือคุณกำลังทำบาป และหากินบนชีวิตของมนุษย์...เอวังด้วยประการฉะนี้แล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...