ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปข้อคิดที่ได้จากยุโรป

มาทำงานสิบกว่าวันในดินแดนยุโรป นี่ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายที่ยังไม่เคยเห็นดังนี้
1) European Union เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การรวมกลุ่มทำให้เกิดการพัฒนา ความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็งสำหรับการศึกษา เศรษฐกิจ และการวิจัย นี่คือสิ่งที่น่าสนใจ
2) หลังจากที่อิตาลีตกรอบ ไม่ได้ไปบอลโลก สิ่งหนึ่งที่สมาคมกำลังทำก็คือ Stop and Rethink ในการปรับปรุงระบบครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากระดับเยาวชน ผ่านทางสโมสรต่างๆ ที่ร่วมมือร่วมใจกัน การเอาธุรกิจออกห่างจากวงการกีฬาเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน


3) Big Data และ Data Analysis ยังมีความจำเป็นเป็นอย่างมากสำหรับวงการกีฬาข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ ต้องมีการวิเคราะห์และกำหนด Framework ที่ชัดเจนสำหรับการเก็บข้อมูล และความเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แค่ทีมที่ใช้ข้อมูลแต่เป็นข้อมูลสำหรับทีมชาติด้วยเช่นกัน Data Sharing จึงยังมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับ การพัฒนากีฬา การไม่แบ่งข้อมูลทำให้วงการพัฒนาแต่ภาพรวมของประเทศไม่พัฒนา
4) การวิจัย ต้องเน้นการ Spin ออกไปเป็นสินค้า มากกว่าจะส่งประกวด เพราะผลลัพธ์คือต้องเอาไปขายและนำเงินมาต่อยอดการพัฒนาต่อไป หมดสมัยการทำไปประกวด ผู้บริโภคคือผู้ตัดสิน
5) จีน และ อินเดีย กำลังสยายปีกในวงการ Medical การแพทย์ มีการวิจัยและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และ ค่าใช้จ่ายในการตรวจถูกกว่า ดังนั้นเราอาจจะเห็นเครื่องมือทางการแพทย์ และวิจัยจากจีนและอินเดียเกลื่อนบ้านเมืองเราในไม่ช้า
6) การทำกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ถ้ารอแต่เงินจากรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน หน่วยงานที่จะมาขับเคลื่อนต้องเป็นภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรม เพราะ Policy ของรัฐบาลไม่แน่นอน ดังนั้น เหนื่อยหนักเหนื่อยนาน ถ้าจะหวังพึ่งเงินจากรัฐบาล
7)Basic Research และ Applied Research ทำเงิน ส่วน Repeated Research สร้างขยะ...
8. สถาบันใหญ่ๆในยุโรปเริ่มปรับตัว ETHZ เปลี่ยนงานวิจัยมาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ค่อนข้างก้าวหน้า แต่ปัญหาคือ ต้องหาทีมงานมาพัฒนาการขาย เพราะบางเรื่องต่อให้ปีนบันได ก็ยังเข้าไม่ถึงครับ
9) เด็กนักศึกษาที่นี่ทำการบ้านมาดีครับทำให้อภิปรายกันได้อย่างสนุกสนาน การศึกษาที่ดีต้องสอนให้รู้จักแสดงความคิดเห็นเชิงวิชการ Criticized ภาพย้อนกลับมาที่ประเทศไทย
10)การพนันทำให้ถูกกฎหมายไปเถอะครับ ดีกว่าเงินไหลออกไปนอกประเทศ ผ่านทางโต๊ะตามชายแดนและร้านพนันออนไลน์ ที่สำคัญตำรวจก็เก็บส่วยไม่ได้ครับ
หมด
ขอบคุณที่เชิญมาบรรยาย เลี้ยงเบียร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...