ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การฟื้นสภาพ Recovery ในนักกีฬา เรียนรู้จากการทำงานของท่านผู้ว่าณรงค์ศักดิ์ในการช่วยเหลือทีมหมู่ป่าอะคาเดมี่ ⚽


          ขอเป็นกำลังใจให้กับแผนการช่วยเหลือทีมหมู่ป่าอะคาเดมี่ ให้ทุกคนได้กลับบ้านได้ นะครับ นั่งติดตามข่าว แล้วก็ลองจับแนวคิดในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ของฝ่ายต่างๆ ที่นำโดยท่านผู้ว่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าเชียงรายในฐานะของ ผอ.ศอร.แล้วลองโยงเข้ามากับเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬา กันดูบ้างนะครับ ก็ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องของการฟื้นสภาพของนักกีฬา ซึ่งก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจทุกท่าน นะครับ 
     เรื่องของการฟื้นสภาพนั้น จริงๆแล้วสำคัญไม่น้อยกว่าการกำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมนะครับ และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนนั้น ยังไม่เข้าใจเรื่องของการฟื้นสภาพที่แท้จริง วันนี้เลยขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับเรื่องของการฟื้นสภาพล้วนๆนะครับ ปกติแล้วเรากำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมโดยดูการฟื้นสภาพของนักกีฬาหรือไม่ ??? 


หรือว่าจะตามโปรแกรมการฝึกซ้อมของเรา เท่านั้น จากแต่ก่อนที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องของโหลดในนักกีฬาไปลแล้วทั้งสองตอนนะครับ ว่า นักกีฬานั้น มีโหลดต่างๆที่มากระทบต่อตัวเขาไม่ใช้แค่โหลดทางด้านสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่มีโหลดอื่นๆมากมาย นะครับ ดังนั้นผู้ฝึกสอนหรือโค้ชก็ควรจะคำนึงถึงความเหมาะสมของโหลดที่เขาได้รับด้วย รวมทั้งการฟื้นสภาพของเขาเช่นกัน การฟื้นสภาพของนักกีฬา และอาการเมื่อยล้า Fatigue นั้นส่งผลทางตรงต่อความสามารถของนักกีฬา และได้รับความสนใจสำหรับนักกีฬาในเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ความสมดุลกันอย่างเพียงพอระหว่าง ความเครียด(การฝึกซ้อม การแข่งขัน หรือ องค์ประกอบอื่นในชีวิตประจำวัน) และการฟื้นสภาพของนักกีฬานั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับนักกีฬา ในการรักษาความต่อเนื่องของสมรรถภาพของเขา (ถ้าไม่เหมาะสม: เกิดสภาวะ Over training หรือ Overreaching ระดับสมรรถภาพของนักกีฬาก็จะลดลง ซึ่งทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมากในการรักษา และเสริมสร้างกันใหม่) งานวิจัยในปัจจุบันมักจะเน้นไปเที่ดีการวัดและติดตามองค์ประกอบทางสรีรวิทยาและพารามิเตอร์ทางจิตวิทยาที่จะมีผลต่อการฟื้นสภาพ หรือ กลยุทธ์ในการฟื้นสภาพที่จะส่งผลต่อพารามิเตอร์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยา แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว การติดตามสภาวะการฟื้นสภาพจะต้องมีการกระทำกันอย่างเป็นระบบ และเป็นกิจวัตร เพื่อพยายามที่จะรักษาการพัฒนาของนักกีฬาและป้องกันผลในทางบต่อนักกีฬา ที่จะส่งผลต่อทำให้เกิดสภาวะการฝึกเกิน พักผ่อนไม่เพียงพอ การบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นตามมา 📉

⁉️คำถามมีอยู่ว่า เมื่อเราออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬา Periodization เราเคยคำนึงถึงการฟื้นสภาพไหม
🏅ผมนึกถึงการทำงานของท่านผู้ว่าเชียงรายในกรณีการวางแผนช่วยเหลือนักเตะหมูป่า Academy เลยนะครับ สิ่งสำคัญในการตัดสินใจก็คือข้อมูล การทำงานบนพื้นฐานของข้อมูล จะทำให้เราตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งการปรับแผนการช่วยเหลือตามสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างที่เราสามารถเอามาปรับใช้ได้ครับ Periodization เป็นแค่กรอบการทำงาน แต่แผน การทำงานเราสามารถปรับตามสิ่งแวดล้อม และข้อมูลครับ นี่คือข้อคิดที่ได้จากผู้ว่าเชียงราย ท่านณรงค์ศักดิ์ ที่จะเอาไปปรับใช้ในการกีฬาครับ สิ่งหนึ่งที่ผมได้ข้อคิดจากท่านผู้ว่าอีกอย่างนึงก็คือการแก้ไขปัญหาของท่านนั้นเป็นแบบองค์รวม มีการบูรณาการและสอดประสานในการทำงานของฝ่ายต่างๆ Holistic Approach ครับ ในขณะที่หลายๆคนยังมองเป็นการแก้ไขปัญหาแบบตัวแปรเดียว คือ Single Approach อยู่ครับ แต่การดำเนินการต่างๆแม้จะเป็น การทำงานในทุกฝ่ายแต่ก็ยังอยู่บนแผนคือ Search and Recovery ที่เป็นแผนการกู้ภัยอยู่นะครับ ที่สำคัญคือ ท่านปล่อยให้ทุกอย่างเดินตามแผน ไม่มีการเร่งแผน เจ้าหน้าที่มีการผลัดเปลี่ยนพักผ่อน ไม่โหลดหน้าที่ของทีมต่างๆมากจนเกินไป
         อีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ ตัวเราไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นะครับ ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นที่ต้องทำทุกอย่างครับ ท่านไม่กลัวเสียศักดิ์ศรีที่จะขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะดังนั้น ถ้าจะเปรียบกับ ในทางกีฬาคือ โค้ชที่บริหารจัดการคนที่เกี่ยวข้องให้สามารถทำงานร่วมกันได้ นี่คือ สุดยอดโค้ช โค้ชที่เก่ง
ไม่ใช่โค้ชที่ทำงานคนเดียวนะครับ การมีทีมงานที่ดีทำให้ประสบความสำเร็จ และท่านก็ไม่เคยอวดอ้างหรือทนงตน ท่าจะให้เครดิตทีมงานเสมอ เพราะทุกคนคือทีม Teamwork ครับ 🏅

สำหรับแนวปฏิบัติที่ผู้เชี่ยวชาญได้สรุปมา มีดังนี้ 📈
       การวัดและการติดตามการฟื้นสภาพ และความเมื่อยล้า Fatigue ในการฝึกซ้อมและแข่งขันนั้น เป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงเน้นสาระสำคัญคือ คุณภาพของกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูล ที่จะต้องวัดเป็นกิจวัตรจะทำให้สามารถรักษาระดับหรือเพิ่มระดับการฟื้นสภาพได้ (มีปัญหาก็สามารถแก้ไขได้อย่างทันที) ในระหว่างการวางแผนนั้นจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเรื่องของการฟื่นสภาพนั้นเป็นเป้าหมายหลักของทีม และต้องมีการทำงานร่วมกัน อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นผู้ฝึกสอน นักกีฬา ทีมงาน ซึ่งจะรวมถึงการปรับโปรแกรมการฝึกซ้อมของนักกีฬาได้อย่างทันที เมื่อเกิดปัญหา เช่น นักกีฬาเกิดอาการ Muscle Damage : Creatine Kinase พุ่งสูง หรือ Force Development เกิดการลดลง ความเมื่อยล้าของระบบประสาท และ การเปลี่ยนแปลงทของระบบเผาผลาญ ซึ่งจะต้องมีการติดตามด้วย การวัดข้อมุลส่วนบุคคลนั้จะต้องดูถึงสถานการณ์ และความต้องการรวมทั้งสิ่งที่จำเป็นด้วย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายเป้นอย่างมาก สำหรับการนำการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง การคำนวณโหลดของการฝึกซ้อมจากแผนการฝึกซ้อม และกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มการฟื้นสภาพนั้นจะต้องวางแผนระยะยาว มากกว่า 6 เดือนและอ้างอิงจากข้อมูลที่เราได้เก็บในระะยาว การมีข้อมูลมากทำให้เราสามารถเลือก หรือ คัดกรอง รวมทั้ง หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อ หรือเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มการฟื้นสภาพของนักกีฬาได้

📈 สำหรับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื่นสภาพนั้น การวิจัยเพียงตัวแปรเดียว single Approach คงไม่สามารถบอกถึงการฟื้นสภาพของนักกีฬาได้อีกต่อไป การวิจัยแบบเป็นองค์รวม Holistic Apporach Model ในการหาแนวทางปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัย การปรับปรุงโปรแกรม การรักษา หรือแม้กระทั้งการประเมิน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่