ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นโยบายกีฬาสู่ความสำเร็จของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ ตอนที่ 1

นโยบายกีฬาสู่ความสำเร็จของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในระดับนานาชาติSport Policies to Successful International Elite Sports

ถนอมศักดิ์ เสนาคำ
ศิริเชษฐ์ พูลทิพายานนท์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ




ใกล้ถึงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ อีกครั้ง ในปลายปีนี้ที่ประเทศฟิลิปินส์ นะครับ วันนี้ผมอยากจะเขียนบทความที่ทำให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับ นโยบายทางการกีฬาของประเทศไทย จากภาพสะท้อนของซีเกมส์ครั้งที่ผ่านมาว่าประเทศไทยของเรานั้นประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในระดับนานาชาติ ในที่นี้ก็คือระดับอาเซียนนั้นเองครับ เพื่อเป็นข้อมูลในการวัดและประเมินนโยบายทางการกีฬาของประเทศที่จะก้าวเดินต่อไปสำหรับกีฬาโอลิมปิคเกมส์ ในปี 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นนะครับ ว่านโยบายกีฬาของเรานั้นส่งผลต่อความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 



       
ภาพจากเวบไซต์ หนังสือพิมพ์ข่าวสด นะครับ 

บทความนี้ไม่ได้เขียนจากความรู้สึกนะครับ เราใช้หลักการประเมินความสำเร็จโมเดลเดียวกับที่ใช้กับองค์กรกีฬาชั้นนำของโลกซึ่งเราจะไม่พูดถึงงบประมาณที่ลงไปนะครับ เพราะนั่นคือ Efficiency ซึ่งทางเราไม่มีข้อมูลของงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาหรือลงทุน  แต่อย่างไรก็ตามเราได้เตรียมเผื่อไว้แล้ว หากได้ข้อมูลงบประมาณในการเตรียมตัวของนักกีฬาเพื่อการแข่งขันกีฬาในแต่ละครั้ง  เราคงจะได้เห็นข้อมูล ถึงประสิทธิภาพในการเตรียมนักกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ผ่านมา ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน



     เรามาดูวิธีการประเมินในครั้งนี้กันนะครับ จากกีฬาซีเกมส์ 2017 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในกีฬาซีเกมส์ นั้นจะประกอบด้วย โอลิมปิกสปอร์ต หรือกีฬาสากล และกีฬาที่เล่นในภูมิภาค (เช่น ปัญจักสีลัต กาบัดดี้ เซปักตะกร้อ วูซู มวยไทย) อันนี้เป็นกีฬาพื้นบ้านนะครับ เราจะไม่นำมาคิด เราจะคิดเฉพาะ Olympics Sports เพราะอะไร เพราะกีฬานั้นเป็นมาตรฐานและหลายประเทศได้มีการเตรียมนักกีฬามาอย่างต่อเนื่องนั่นเองครับ และเราจะได้ทราบว่าตัวเองนั้นเป็นหนึ่งในอาเซี่ยนจริงหรือไม่ นั่นเอง



สำหรับการวิเคราะห์นั้นจะใช้ผลสัมฤทธิ์ นั่นก็คือจำนวนเหรียญในการแข่งขัน ในการคาดการณ์แนวโน้มการพัฒนาของนักกีฬา โดยใช้หลักการคำนวณด้วย เทคนิค Market Share จากการคำนวณด้วยระบบ Scoring System ในการใช้เทคนิค Market Share นั้นจะทำให้เกิดการ Normalized จำนวนเหรียญเมื่อเปรียบเทียบกับซีเกมส์ในครั้งก่อน ซึ่งในบางกีฬา จำนวนเหรียญในการแข่งขันก็อาจจะไม่เท่ากันและยังเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวัดและสะท้อนถึงประสิทธิภาพของนโยบายการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศซ (Impact of Policy on Elite Sports Development system)







จากเทคนิค MKS พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกันสองซีเกมส์ ระหว่างปี 2015 และ 2017 ประเทศไทยนั้นแม้จะมีจำนวนเหรียญมาเป็นที่สองเมื่อเทียบกับ มาเลเซียเจ้าภาพ แต่เมื่อเทียบจำนวน Market Share ของเหรียญจากซีเกมส์ทั้งสองครั้งที่ผ่านมาพบว่า มีการลดลงถึงร้อยละ 7.3 นั่นหมายความว่าในกีฬาสากล นั้นประเทศไทยมีแนวโน้มการพัฒนาที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเหรียญทองที่ได้ ยังสูงอยู่นั่นแสดงถึงเหรียญที่มาจากกีฬาในภูมิภาค นั่นเอง เช่น เซปักตะกร้อ มวยไทย เป็นต้น


ครั้งต่อไปเราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละชนิดกีฬานะครับ โปรดติดตามนะครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่