ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมองถูกทำลายเพราะการลงนวม ???? Sparring and Brain Damage on Boxers

ใครหลายคนที่เป็นนักมวยคงจะคุ้นชินกับการลงนวมนะครับ การลงนวม Sparring เป็นการฝึกเพื่อความคุ้นเคย จำลองสถานการณ์จริงๆ ของการชกมวยนะครับ แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าไม่กี่ปีมานี้ พบว่า สาเหตุของการที่สมองถูกทำลายนั้น มาจากการลงนวมมากกว่าการแข่งขันเสียอีกครับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเสียด้วย เพราะ การลงนวม จำนวนครั้งนั้นมากกว่าการชกจริงในการแข่งขันเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลา จำนวนยก และความหนักในการลงนวมครับ สาเหตุของการที่สมองถูกทำลายในนักกีฬามวย ส่วนมากก็มาจากการถูกกระแทก และทำให้เกิด Concussion นั่นเอง เมื่อคุณได้รับการกระทบกระเทือนที่สมอง ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมอง Traumatic brain injury (TBI), ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการถูกทำลายของสมองในระยะยาว Chronic Brain Injury นั่นเองครับ นักมวยจะมีอาการทางสมอง สูญเสียความทรงจำ การเคลื่อนไหว การพูดมีปัญหา การประมวลผลข้อมูลและการตอบสนองช้าลง และถ้าเป็นมาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะครับ นักกีฬามวยสากล และสมัครเล่น หลายคนต้องทุกข์ทรมานจากโรคพาร์กินสัน ในบั้นปลายของชีวิต นะครับ ในต่างประเทศเราเห็นนักกีฬาบางคนเสียชีวิตระหว่างการลงนวมก็ยังมีครับ ที่พูดแบบนี้ไม่ได้ทำให้กลัวนะครับ เราสามารถลองนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพของนักมวยไทย และมวยสากลได้อีกด้วย


มีหลายคนอาจจะบอกว่า นวมที่ใช้สำหรับการลงนวมนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ก็จริงครับ แต่การที่เราใช้นวมใหญ่กว่าปกติ ในมิติของการป้องกันการแตก แต่โมเมนตัมของนวม นั้น ก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ตามมวลของนวมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง ดังนั้นการใช้นวมใหญ่ๆ จึงไม่ได้เป็นการป้องกันการถูกกระทบกระเทือนที่สมอง ในระหว่างการลงนวมนะครับ
ดังนั้น การลงนวมบ่อยๆ นั้นไม่ได้เป็นผลที่ดีกับนักกีฬามวยเลยนะครับ นักมวยระดับโลก เขาจะไม่ลงนวมเยอะครับ เพราะเขาไม่ต้องการให้สมองได้รับการกระทบกระเทือน ก่อนการแข่งขัน เพราะถ้าสมองได้รับการกระทบกระเทือนนั้น จะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวที่ยาวนาน นะครับเป็นเดือนๆ ปีๆ แต่ที่น่าห่วงคือ การลงนวมของนักมวยในประเทศไทยนั้น เราลงนวมกันถี่มากนะครับ
แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องถามตัวเองก่อนนะครับว่า การลงนวม ในนักกีฬามวยสากล นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และความถี่เท่าไร ถึงจะเพียงพอครับ ไม่ใช่ให้ไปฝึกการลงนวมถี่ๆ เพื่อพัฒนาเทคนิค และแทคติก แทนที่จะได้เทคนิคและแทคติก ผมว่าสมองไปหมดก่อนแล้วนะครับ สมองเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานของร่างกายนะครับ ดังนั้น ถ้าหากสมองได้รับการกระทบกรระเทือน แน่นอนว่าจะต้องส่งผลต่อสมรรถนะของนักกีฬาอย่างแน่นอนครับ
ดังนั้นการลงนวมที่ถูกต้องนั้น จะต้องมีการเพิ่มข้อกำหนด กติกา ของการลงนวม เพื่อป้องกันนักมวยจากการเกิดการกระทบกระเทือนเช่น โฟกัสเรื่องของเทคนิค ไม่โกัสที่ความหนักของเกม การยืน การต่อย Scence เหมือนที่อเมริกันฟุตบอล มี Flag Football สำหรับเยาวชน ที่ไม่ต้องแทคเกิลกันเอาจริงเอาจังไงครับ สมมติ ไม่ใช่หาคู่ชกแล้วไปแลกกันอย่างดุเดือดนะครับ การใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น Head Guard และ MouthPiece ก็สามารถช่วยในระดับนึง แต่ถ้าเราโฟกัสที่สมรรถนะ ลองเทียบเคียงการฝีกต่างๆ สามารถทดแทนการลงนวมได้หรือไม่ เราควรเลือกใช้อันนั้นก่อนนะครับ และการที่คณะกรรมการมวยของแต่ละประเทศต้องเข้มงวดกับขั้นตอนการวินิจฉัย และการรักษา อย่างเป็นระบบนะครับ การมีการตรวจและการสอบถามสมรรถภาพของนักมวยที่จะต้องไปแข่ง ณ ต่างประเทศ ระยะเวลาในการพัก การลงนวมต่างๆ
คืนนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ดังนั้น ถ้านักมวยใครบอกว่าลงนวมมาก นั่นแสดงว่าเขามีโอกาสที่จะเกิดการถูกทำลายของสมองได้มากครับ โค้ชก็ลองไปชั่งน้ำหนักกันดูนะครับ
Ref.
Bernick, C., & Banks, S. (2013). What boxing tells us about repetitive head trauma and the brain. Alzheimer's research & therapy, 5(3), 23. doi:10.1186/alzrt177
Clausen H, McCrory P, Anderson V. (2005). The risk of chronic traumatic brain injury in professional boxing: change in exposure variables over the past century British Journal of Sports Medicine 2005;39:661-664.
McCrory P. (2007). Boxing and the risk of chronic brain injury. BMJ (Clinical research ed.), 335(7624), 781–782. doi:10.1136/bmj.39352.454792.80

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่