ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลศึกษาในประเทศฟินแลนด์ ตอนที่ 1


กลับจากทริปทำวิจัย และทำงานที่ ต่างประเทศ เลยพอจะมีเวลาช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์ ตามสัญญาครับ เขียนเกี่ยวกับการศึกษาในฟินแลนด์ ที่หลายคนอยากรู้ว่าเขามีการเรียนการสอนอย่างไร นะครับ การศึกษาในฟินแลนด์ ในครั้งแรก ขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางของประเทศก่อนนะครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจรูแบบการจัดการศึกษาของฟินแลนด์และจะค่อยๆเชื่อมโยงไปสู่พลศึกษาต่อไป


Think Positive Education

ปัจจุบันใช้ Curriculum ปี 2014 นะครับ สำหรับ National Curriculum Course ซึ่งจะใช้ใน เกรด 1-6 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2016 นะครับ ซึ่งมีการปรับปรุงในเกรด 7 ไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2017 และ เกรด 8 ในปี 2018 เกรด 9 ในปี 2019 ซึ่งคอนเซปต์การเรียนรู้ของหลักสูตรการเรียนการสอนในฟินแลนด์นั้น สามารถเขียนเป็น Diagram ได้ดังนี้ครับ 


Curriculum
      ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนครับ โดยการเน้นที่ Learning Environment หรือ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ การประเมินผล และการสนับสนุนการเรียนการสอน โดยจะมีการประเมินผลและเกษณฑ์การประเมินผลที่แตกต่างกับการจัดการเรียนรู้ของประเทศไทย นะครับ จะเห็นได้ว่า มีคำว่า Motivation and Joy of Learning (การสร้างแรงจูงใจและความสนุกสานในการจัดการเรียนการสอน) ด้วยรูปแบบบการจัดการเรียนการสอน ที่น่าสนใจ รวมทั้งการสอนทักษะชีวิต ที่จำเป็นในการใช้ชีวิต สำหรับวิชาพลศึกษาเอง ก็จะสอนเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน Fundamental Movement Skill นั่นเอง บางครั้งอาจจะเรียกว่า Physical Literacy ก็ได้นะครับ สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในเกรดต้นๆ นั้นยังไม่เน้นการจัดการเรียนการสอนกีฬา นะครับ แต่จะเน้น การเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรม โดยมีการ Cross Disciplinary ด้วย เช่น การสอนเกี่ยวกับทักษะในการคำนวณกับการเคลื่อนไหว เป็นต้น ครับ 

เป้าหมายสำหรับการปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์ 

    สำหรับเป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์นั้น เขาจะเน้นทั้งด้านความรู้และทักษะ ของเด็กและเยาวชนของฟินด์แลนด์ที่จะต้องใช้เมื่อเจริญเติบโตไปในอนาคต ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ เนื่องจากประเทศฟินแลนด์นั้นมีทรัพยากรค่อนข้างที่จะจำกัด ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงต้องพยายามทำให้คนของฟินแลนด์มีความเป็นนานาชาติ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร จะต้องเรียน ภาษาอังกฤษ ภาษาฟินแลนด์ ภาษาสวีเดน ภาษาเดนมาร์ก เป็นต้น นอกจากนั้น วิทยวิธีการสอน Pedagogy Guideline นั้นจะช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มความสนใจให้กับเด็กและเกิดการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ อีกด้วย

      กุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์นั้น คือ การเพิ่มจำนวนของเด็กในการเข้าร่วมกิจกรรม หรือการจัดการเรียนการสอน และทำให้เขารู้สึกเรียนแล้วประสบความสำเร็จ และพยายามพัฒนาตัวเองต่อไปเป็นขั้นๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป นักเรียนจะถูกกระตุ้นให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในงานของโรงเรียนด้วย เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ มีการให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนีรู้ในการแก้ปัญหา หน้าที่ของครูผู้สอนนั้นมีหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ดังนั้นจำนวนครูต่อนักเรียน จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากครับ ในชั้นเด็กเล็ก นักเรียน 20 คน ต่อครู 2 คน หรืออาจจะมีครูผู้ช่วย Teaching Assistance เพิ่มเข้าไปด้วย การให้คำแนะนำกับเด็กหรือนักเรียนนั้นจะมีความเป็นปัจเจกบุคคล Individual มากกว่าสำหรับเด็กแต่ละคนที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาเป็นอย่างมาก

นักเรียนทุกระดับชั้นจะต้องผ่านการเรียนในรายวิชาต่างๆ ที่มีการกำหนดเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้
  • ภาษาแม่ (ภาษา Finland) และวรรณกรรม mother tongue and literature
  • ภาษาต่างประเทศที่สอง ได้แก่ อังกฤษ  second national language
  • ภาษาต่างประเทศอื่น เดนนิช สวีดิช รัสเซีย หรือ เยอรมัน foreign languages
  • คณิตศาสตร์ mathematics
  • สิ่งแวดล้อม environmental studies
  • ชีววิทยา biology
  • ภูมิศาสตร์ geography
  • ฟิสิกส์ physics
  • เคมี chemistry
  • สุขศึกษา health education
  • ศาสนา religion
  • จริยธรรม ethics
  • ประวัติศาสตร์ history
  • สังคมศาสตร์ social studies
  • ดนตรี music
  • จิตกรรม visual arts
  • งานฝีมือ crafts
  • พลศึกษา physical education
  • เศรษฐศาสตร์ในครัวเรือน home economics
  • แนะแนวให้คำปรึกษา guidance counselling.
วิชาต่างๆก็คล้ายคลึงกับในประเทศไทยนะครับ แต่แปลกตรงที่ไม่มีห้อง วิทย์ คณิต หรือ ศิลป์ คำนวณ นั่นเอง 
Transversal competences and subjects

จะเห็นได้ว่า จากแผนภาาพ นั้นการเรียนการสอนจะพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการจัดการต่างๆ การบูรณาการองค์ความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การปลูกฝังการเป็นเจ้าของกิจการ และ การมีส่วนร่วมกับการสร้างอนาคตอย่างยั่งยืน โดยการจัดการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบ multidisciplinary learning module คือมีการบูรณาการองค์ความรู้ในหลายๆศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ได้สอนเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งแยกเดี่ยวๆ เหมือนประเทศไทย

อย่างที่บอกนะครับ กรอบการศึกษา National Curriculum นั้นไม่ได้บังคับให้โรงเรียนต้องเดินตามทุกตัวอักษร แต่เป็นกรอบให้โรงเรียนไปปรับปรุงเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนนั้นสอดคล้องกับหลักสูตรแห่งชาติให้ได้มากที่สุด เป้าหมายนั่้นก็คือ การสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ การปฏิสัมพันธ์ การถ่ายทอดความรู้ การมีสุขภาพที่ดี และแนวทางในการดำเนินชีวิตของนักเรียนแบบยั่งยืน นั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และปลอดภัยสำหรับเด็กนักเรียนทุกคน โรงเรียนจะต้องจัดหาและสนับสนุน การทดลอง การสำรวจ การเรียนแบบแอคทีฟ Active Learning การเพิ่มระดับกิจกรรมทางกายและการเล่นต่างๆของเด็ก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษานั้นเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค มีการใช้หลากหลายภาษาภายในโรงเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน คือ ไม่ได้ใช้ภาษาฟินแลนด์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการพูดภาษาอื่นๆด้วยเช่น อังกฤษ เยอรมัน เดนิช ให้กลายเป้นส่วนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสารให้ได้ ไม่ใช่เพียงแต่ในชั้นเรียนเท่านั้น
Assessment

สำหรับรอบการประเมินก็จะมีความแตกต่างกันไป โดยการประเมินความสามารถในการเรียนรู้ การทำงาน ต่างๆในแต่ละรายวิชา โดยการประเมินจะมีความแตกต่างกันออกไป ในแต่ละชั้น และ การประเมินผลรวมทั้งแต่เกรด 7-9 ซึ่งความเข้มข้นของการประเมินก็จะมีความแตกต่างกันไป โดยอาศัยการประเมินความก้าวหน้า และสิ่งสำคัญที่สุดมากกว่านั้นก็คือ การให้ผลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อนำไปปรับปรุง และปรับเป้าหมายให้มีความกระหายในการเรียนรู้ในทุกครั้งที่มีการประเมิน และเมื่อสำเร็จการศึกษาในแต่ละชั้นปี ก็จะมีการให้เกรด เป็นตัวเลข (สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ทีมีค่ามากกว่าเกรด)

ครูที่ฟินแลนด์นี่ไม่มีการทำผลงานวิชาการนะครับ เลยมีเวลาทุ่มเทให้กับ นักเรียนได้อย่างเต็มที่ เพราะเขาเชื่อว่า หน้าที่หลักของครู นั้น คือการเป็นผู้ให้คำแนะนำ กับนักเรียนครับ เด็กจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่ที่ครูนะครับ ถ้าครูมัวแต่เอาเวลาที่จะต้องมอบให้กับนักเรียน ไปทำผลงาน ทำกิจกรรมที่ไม่ส่งผลต่อตัวเด็ก ลองคิดดูก็ได้นะครับว่าเด็กของเราจะมีคุณภาพแบบใด....

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...