การฝึกที่ระดับความหนักสูง ในกีฬาฟุตบอล
High Intensity Training in Soccer
เราวิเคราะห์อะไรกันอยู่หรือ???
หลายทีมในลีกฟุตบอลคงเคยจะประสบพบเจอกับการนำข้อมูลจาก แทรคเกอร์ (ระบบจีพีเอส) ติดตามนักกีฬาฟุตบอลไปใช้ใประโยชน์ บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจเกี่ยวกับความหมายหรือ การใช้งาน ระดับหรือจุดที่ถูกสมมติขึ้นมา ขีดจำกัด Threshold นั้นมีมากมายสำหรับระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น GPEXE, Polar Team Pro ฯลฯ คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับตัวแปร และองค์ประกอบที่เราจะต้องการวิเคราะห์ และนำไปใช้งาน นั่นเอง ที่จะเป็นตัวบอกว่า เราจะนำข้อมูลด้านใดไปใช้ในการฝึกซ้อมได้อย่างไร บางคนกำหนดโซนขึ้นเองจากความรู้สึก บางคนสร้างโซนจากงานวิจัยที่บอกว่า โซนความเร็วจะเป็นเท่าไร แต่ท่านเชื่อไหมว่า ข้อมูลเหล่านี้ มันไม่เพียงพอ และหลายครั้งถูกนำไปใช้อย่างผิด ๆ และไม่เข้าใจถึงหลักการฝึกซ้อมทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ในการกำหนดความหนักในการฝึกซ้อมของนักกีฬาฟุตบอล ผลสุดท้ายก็คือ นักกีฬาฟุตบอลประสบปัญหา การฝึกเกิน Overtraining หรือ การบาดเจ็บ Injuries วันนี้เรามาดูกันว่า ข้อมูลจาก Tracker นั้น สามารถนำเอาไปใช้อะไรได้บ้าง หลายทีมยังคงใช้อัตราการเต้นของหัวใจ Heart Rate ในการดูความหนักในการฝึกซ้อม แต่ในระยะหลังในการแข่งขันฟุตบอล อัตราการเต้นของหัวใจนั้นถูกนำไปใช้ในการวัดการฟื้นสภาพ มากกว่า การติดตามสมรรถนะในการฝึกซ้อม หรือเกมการแข่งขัน สาเหตุก็คือ อัตราการเต้นของหัวใจจะเกิดขึ้นทีหลังการทำงานไปแล้ว เช่น การวิ่งสปรินท์ หลังจากนั้นจึงค่อยเกิดการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจ กีฬาประเภททีมที่จะต้องมีการเคลื่อนที่แบบรวดเร็วและต่อเนื่อง Intermittent Sprint การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจ อาจจะบ่งบอกถึง สมรรถนะได้ไม่ดีนัก
ความเร็ว Speed
บ่อยครั้งที่เราใช้ ความเร็ว เป็นตัวแบ่งระดับของความหนักในการฝึกซ้อม บ้างก็ใช้ เวลา ระยะทางที่ทำได้ Distance Cover แล้วนำมาจัดเข้าเป็นกลุ่ม ๆ หรือเรียกว่าการแบ่งโซน จากนั้นก็มานั่งบอกเอาว่า ถ้ามีอีเวนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงมาก ๆ มาก นั่นแสดงว่ามีระดับความหนักของเกมสูง เป็นคำถามที่หลายคนกำลังสงสัย
หลายปีที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงเรื่องการกำหนดความหนักในการฝึกซ้อม เพียงเพราะการใช้ความเร็วเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่า คุณใช้พลังงานมากหรือน้อย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณฝึกแบบ Small Size Game การฝึกจำลองในสนามเล็ก ๆ โดยการปรับลดขนาดพื้นที่ลงนักกีฬาคุณจะมีจำนวนอีเวนต์ High Speed Run เป็นจำนวนน้อย แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณไปเล่นในสนามใหญ่ จำนวนอีเวนต์ของ High Speed Run นั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น นั่นเป็นเพราะการใช้ความเร็วนั้น มันมีสองปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นก็คือ ระยะทาง และ เวลา ในการเล่นสนามเล็ก ระยะทางสั้น เวลาก็น้อย ดังนั้น ความเร็วก็จะต่ำกว่า การเล่นในสนามมาตรฐาน ที่มีระยะทางให้เราได้เร่งความเร็วมากกว่าปกติ นอกจากองค์ประกอบของความเร็วแล้ว ยังมีเรื่องของความสามารถในการรักษาระดับความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งก็ต้องใช้การทำงานของระบบต่างๆ เข้ามาร่วมกัน ทั้งระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต
โดยปกติแล้ว การกำหนดโซนความเร็ว อาจจะแบ่งออกได้เป็น กลุ่ม ๆ ย่อยได้ดังนี้ 0-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นการเดิน Walking จากนั้นเราก็จะแบ่งความเร็วที่สูงกว่า 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นการวิ่ง และ เกิน 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น High Speed Running แต่เราลองมาดู นักวิ่งมาราธอนชาวเคนย่า Eliud Kipchoge มีเพสในการวิ่งมาราธอนอยู่ที่ 2:53 นาทีต่อกิโลเมตร หรือ 20.81 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในการวิ่งมาราธอน แต่ก็ไม่ใช่เป็นการสปรินท์ตลอดสองชั่วโมง
มีงานวิจัยชิ้นนึง ทำการศึกษาในทีม รีล มาดริด โดยการแบ่ง โซนของสปีด ออกเป็น 21.1-24.0 km/h (high-intensity running, HIR), >24.0 km/h (Sprint), จำนวนอีเวนต์ของ high-speed runs (21.1-24.0 km/h) และจำนวนอีเวนต์ของการสปรินท์ sprints (>24.0 km/h).
พบว่า รูปแบบจำวนของอีเวนต์ ในการวิ่งของทีมรีลมาดริด นั้น ไม่แตกต่างกัน ทั้งฤดูกาลแต่จะแตกต่างกับทีมคู่แข่งบ้างในบางตำแหน่ง นั่นแสดงว่า ในทีมระดับโลกนั้น ข้อมูลหรือรูปแบบการเคลื่อนที่ หรือการแข่งขันตลอดทั้งฤดูกาลนั้นมีความใกล้เคียงกันมาก ในแต่ละตำแหน่ง และจำนวน อีเวนต์ของความเร็ว นั้นก็มีเป็นจำนวนมาก
แล้วอะไรคือเกณฑ์ในการกำหนดการฝึกที่ความหนักสูงสำหรับกีฬาฟุตบอล ???
การวิ่งที่ระดับความเร็วสูง High Speed Running นั้น มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดการบาดเจ็บ เพราะว่า การวิ่งนั้นไม่ได้เป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา ดังนั้น การวิ่งจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการลดความเมื่อยล้าที่จะเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยแล้ว ในกีฬาฟุตบอลนั้น ระยะทางต่อแมทช์เฉลี่ย ของทีมที่ความเร็วมากกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (High Speed Running and Sprint) อยู่ที่ประมาณ 6 กิโลเมตรต่อทีม (โดยเฉลี่ยคือ 600 ม. สำหรับผู้เล่นแต่ละคนโดยเฉลี่ยผู้เล่นบางคนอาจจะน้อยกว่า 150 ม. และอื่น ๆ มากกว่า 1,000 ม.ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแทคติก) แล้วปัญหาที่ตามมาคือ นักฟุตบอลเหล่านั้น มีการฝึกที่เพียงพอหรือไม่กับเกมที่มีค่าเฉลี่ยขนาดนั้น แล้วการฝึกโดยใช้ความเร็วสูงๆนั้น เราจะประมาณค่าโหลดในการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างไร แล้วเราจะรักษาความสมดุลของโหลดในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างไร... ดังนั้น การใช้ความเร็วเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะคำนวณหาความหนักในการฝึกซ้อมได้ สำหรับกีฬาประเภททีม โดยเฉพาะฟุตบอล
ความเร่ง
การใช้ความเร่งในการฝึกซ้อมนั้น มีข้อจำกัดมากมาย อย่างแรกคือ ความละเอียดของอุปกรณ์ที่เพียงพอหรือไม่ในการหาความเร่งของนักกีฬาในการฝึกซ้อม จากภาพทั้งสี่ภาพภาพแรก คุณจะเห็นว่า มันเป็นเรื่องที่ยากในการหาผลสรุปของความเร่ง ที่จะส่งผลต่อนักกีฬา
ภาพแรกแสดง ข้อมูลในการวิ่งที่ระดับความเร็วคงที่เป็นระยะเวลา 30 วินาที เส้นสีส้มแสดงความเร็ว ของนักกีฬา จากนั้น ภาพด้านซ้ายล่าง เส้นสีเขียวแสดงถึงความเร่ง ของนักกีฬา ด้านขวาบน เมื่อเรานำค่าความเร็วมาผ่านการกรอง ข้อมูล แล้ว เป็นการวิ่งแบบเดียวกัน และภาพด้านขวาล่างเส้นสีเขียวคือความเร่งที่ผ่านการกรองข้อมูลแล้ว
ประเด็นต่อมาคือ ตัวแปรสองตัวที่ต้องใช้ในการระบุความเร่ง นั่นก็คือ เกณฑ์ของความเร่งที่จะใช้แบ่ง และ ระยะเวลาที่อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือเลยจุดแบ่งขึ้นไป แล้วเราจะเลือก จุดแบ่ง Threshold อย่างไรให้เหมาะสม มีคอนเซปต์หนึ่งที่มาพร้อมกับการใช้ความเร่ง นั่นก็คือ กรอบของเวลา ว่าคุณต้องการจะคำนวณความเร่งโดยใช้กรอบระยะเวลาเท่าใด เช่น เราจะคำนวณความเร่ง ทุกๆ 50 มิลลิวินาที หรือทุกๆครึ่งวินาที จะเป็นตัวที่ใช้ในการทำ Moving Average นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยนั่นเอง เพื่อเป็นการทำให้ข้อมูลมีความต่อเนื่องและได้ค่าเฉลี่ยที่สามารถนำไปฝึกซ้อมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
-->
เมื่อคุณได้ข้อมูลทั้งสองตัว ทั้ง ความเร็ว และ ความเร่ง แล้ว ครั้งต่อไปผมจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการกำหนดจุดหรือช่วง ที่ใช้สำหรับการฝึกซ้อม ทั้ง Speed และ Acceleration ว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกีฬาฟุตบอล ได้อย่างไรบ้าง ไว้ครั้งต่อไปจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
อ้างอิงจาก
อ้างอิงจาก
di
Prampero, P. E., & Osgnach, C. (2018). Metabolic Power in Team Sports -
Part 1: An Update. Int J Sports Med, 39(8),
581-587. doi:10.1055/a-0592-7660
Miñano-Espin, J., Casáis, L., Lago-Peñas, C., & Gómez-Ruano, M. Á. (2017). High Speed Running and Sprinting Profiles of Elite Soccer Players. Journal of human kinetics, 58, 169-176. doi:10.1515/hukin-2017-0086
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น