ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Wöhler design กับวิทยาศาสตร์การกีฬา


Fatigue หรือความเมื่อยล้า นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวันและในวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เช่นกัน ตอนก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึง Morphology สำหรับนักกีฬาไปแล้ว ว่านักกีฬาแต่ละคนก็ย่อมมีความแตกต่างในด้านโครงสร้างและสรีระของร่างกาย

Image result for wöhler design
วันนี้เลยอยากจะเขียนต่ออีกสักเรื่องนึงเกี่ยวกับการออกแบบ อุปกรณ์ หรือแนวคิดที่จะช่วยให้นักกีฬาลด Fatigue ลงในระหว่างการฝึกซ้อม ซึ่งแนวคิดนี้ก็สามารถเอาไปอธิบายได้เกี่ยวกับการออกแบบทางการยศาสตร์ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ แนวคิดของ wöhler design จากคอนเซปต์ของ Fatigue ที่มีลักษณะตามภาพ ซึ่งปัจจัยของการทำให้เกิด Stress นั้นก็คือ ขนาดของความเครียด Stress และจำนวนวงรอบของการเกิดความเครียด ถ้าความเครียดมาก จำนวนครั้งน้อย หรือ ความเครียดน้อยๆ แต่จำนวนครั้งมาก Cycle มากนั่นเอง แต่ถ้าความเครียดนั้นหรือความเครียดสะสมมันเกินระดับที่วัตถุนั้นรับได้ นั่นก็คือวัตถุนั้นก็จะเสียสภาพไป ในมนุษย์เรา ถ้าเปรียบกระดูก และกล้ามเนื้อเปรียบเสมือนวัตถุ ดังนั้น ตามหลักของ wöhler ลองคิดดูเล่นๆ เช่นถ้าคุณกระโดดสูง Vertical Jump แรงที่เกิดมาก คุณก็จะกระโดดได้จำนวนครั้งที่น้อย แต่ถ้าคุณลองกระโดดเชือก คุณไม่ต้องกระโดดสูงแต่คุณต้องโดดต่อเนื่อง พอจำนวนครั้งมาก คุณก็จะรู้สึกเริ่มมีอาการล้าเกิดขึ้น นั่นเอง

ต่อมาพอเราเริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์หรือออุปกรณ์ต่างๆ แม้กระทั่งการพัฒนานวัตกรรม เราก็มักจะใช้วิธีการ Inccured Cost นั่นหมายความว่า ตั้งแต่คุณออกแบบคอนเซปต์ ไปจนถึงการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ออกมานั้น คุณจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เส้นสีม่วง ในภาพที่ 2 แต่ในสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างแพร่หลาย และสูงมาก การที่เราจะไปแบกต้นทุนแบบ Incurred Cost คงจะเป็นไปได้ยาก จึงมีการนำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า Commited Cost คือการหาเครื่องมือที่ถูกต้องและทีมงานที่ดีที่จะมาทำให้กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาคอนเซปต์ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่าย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนในกระบวนการคิด วิจัย และพัฒนาที่ต่ำลง

ไอเดียที่ถูกต้อง Right Idea และการคิดแบบจากข้างบนลงล่าง Top-Down Design เช่นเราจะสร้างเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมอะไร และนำไปทดลองเพื่อทำ Simulation ก่อนที่จะไปเข้าใจว่า สมรรถนะของนักกีฬาเปลี่ยนไปอย่างไร ผมยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นั่นก็คือ เรื่องของ Seated สำหรับจักรยาน เรือกรรเชียงก็ได้นะครับ ปกติถ้าเราอยากรู้ว่าช่วงไหนเหมาะที่สุดที่จะทำให้เรามีสมรรถนะที่สูงที่สุดและเมื่อยล้าน้อยที่สุด คนส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการวัดความยาวขาเพื่อใช้ในการตั้งค่า Seat และค่อยๆปรับไปจนกว่าจะพอดี บางครั้งอาจจะกินเวลาไปหลายเดือนกว่าจะได้จุดที่เหมาะสมซึ่งเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เป็นการคิดแบบ Inccured Cost บางทีก็ยังไม่ทันใช้ แต่ด้วยแนวคิดของ Wöhler design เขาก็จะนำข้อมูลทั้ง Anthorpometry แรงต่างๆ การซับแรงต่างๆ และใช้การทำ Simulation หรือบางคนเรียกว่าการศึกษาตัวแปร Parameter Study เช่น ความสูงของที่นั่ง กับความยาวอาน โดยการเปลี่ยนความสูงของอานไปเรื่อยๆ และความยาวอานไปเรื่อยๆ คล้ายกับเมทริกซ์ จากนั้นเราก็จะได้ Fitting Value ค่าหนึ่งที่เป้นช่วงที่เหมาะสมที่สุด และเกิด Performance ดีที่สุด ครับ และเป็น Individual เจาะจงเฉพาะบุคคลนั้นๆ เลยครับ ก่อนที่จะไปลอง Fit จริงๆ ซึ่งมีความแม่นยำสูงมากกว่า ครับ

เรื่อง Wöhler design สำหรับวิทยาศาสตร์การกีฬาในประเทศไทย อาจจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่สักนิดนึงนะครับ แต่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์มากสำหรับการพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีทางการกีฬา และชีวกลศาสตร์การกีฬา ใประเทศไทยครับ ถ้าเราอยากจะก้าวไปทัดเทียมกับมหาอำนาจทางการกีฬา เราจะต้องเริ่มที่ตัวของเรา จากวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเทคโนโลยีครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่