ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปสาระสำคัญ เรื่อง พลศึกษาในฟินแลนด์


วันนี้เลยขออนุญาตสรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันพอเป็นไอเดีย
1. ชั่วโมงพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมและมัธยม อย่างน้อย 90 นาทีต่อสัปดาห์ และยังมีชั่วโมงในการเพิ่มหรือกระตุ้นกิจกรรมทางกาย มีการเพิ่มการเบรค ระหว่างรายวิชา เป็น ครั้งละ 15 นาทีต่อวัน รวมเป็น 45 นาที และพักกลางวันเป็นสองชั่วโมง เพื่อให้เด็กมีการเพิ่มระดับกิจกรรมทางกาย Physical Activity ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก
2. การเรียนการสอนพลศึกษา เน้นการสอนโดยสอดแทรกองค์ความรู้ทางด้าน สรีรวิทยาการกีฬา โภชนาการกีฬา เพื่อพยายามสร้างการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แบบระยะยาว Life Long Learning แต่วิธีการวัดเป็นเรื่องยาก เพราะ Life Long Learning ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล และ Life Style ของแต่ละคน ดังนั้น การศึกษาคือการ Introduction ให้เขาได้เลือก แต่ไม่ใช่ต้องบังคับเขาให้เป็น เด็กที่นี่จึงมีกระบวนการทางความคิดที่ค่อนข้างอิสระ ในการเลือก
3. พลศึกษาในโรงเรียน เน้นคำเดียวคือ สนุก Fin & Fun เหนือสิ่งอื่นใด Learning Outcome ในช่วงชั้นประถมต้น เน้น การพัฒนา Physcial Literacy, ประถมปลายถึงมัธยมต้น เน้น Fundamental Motor Skill ช่วงมัธยมปลาย เน้นกีฬา แต่ไม่ใช่กีฬา เน้นกีฬาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม เช่น Dancing, Ballroom Dancing เพื่อพัฒนาการเข้าสังคมของนักเรียน ส่วนถ้าจะไปเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ นั้น ก็จะไปเรียนกันเองตามทีมต่างๆ เพราะเขาเชื่อว่าทักษะทางด้านกีฬา มันไม่สามารถสอนกันได้ภายในชั้นเรียน

4. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ เช่น XBox, Group Exercise Program : GX เพื่อเน้นการเคลื่อนไหว พร้อมสอดแทรกความรู้ต่างๆในการเรียนการสอน เช่น การอบอุ่นร่างกาย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (สื่อการเรียนการสอน) การป้องกันการบาดเจ็บ เน้น Games Based Learning เป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องตามข้อ 3 วิธีการสอนแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันไป แต่ยึดตาม National Core-Curriculum เป็นหลัก ซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป
5. Physical Education Class เน้น Student Attitude ไม่ใช่ Study Task เพื่อป้องกันผลลบ ต่อเด็กที่มีทัศนะคติลบต่อวิชาพลศึกษา ดังนั้น Class Participant จึงเป็นเรื่องใหญ่กว่าการ Evaluation หรือการประเมินครับ
6. STEM ศึกษา ถูกเปลี่ยนเป็น STEAM ศึกษา มีการเพิ่ม Art : ศิลปะ เข้าไปในการจัดการเรียนการสอนเข้าไปด้วย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจทั้งเทคโนโลยี และความงาม เข้าไปด้วยกัน มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยใช้ Object Oriented Programming ไม่ยัด Python ให้เด็กเรียนเนื่องจากต้องการพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ของเด็ก และ ป้องกัน Bad Attitude ต่อ การเขียนโปรแกรม โฟกัสที่การทำงานเป็นทีม เช่น กลุ่มนึงจะมีแค่สามคน มีการกำหนดบทบาทชัดเจนในการทำหน้าที่ของแต่ละคน ถ้ามากกว่าสามคน ความสนใจเด็กจะลดน้อยลงครับ
7. อัตราส่วนระหว่างครูต่อนักเรียน คือ 1:10 ครับ สำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูที่นี่ต้องใส่ใจนักเรียน มีการเพิ่มผู้ช่วยสอน Teaching Assistance และการสอนแบบเป็นทีม เข้าไปด้วย
8. ความเห็นของผู้บริหารด้านการศึกษาในฟินแลนด์ เห็นว่า ประเทศไทยควรเพิ่มระยะเวลาและปรับรูปแบบการเรียนการสอนทางด้านพลศึกษา อย่างเร่งด่วน
9. ที่สวีเดนมีการทดลองการเพิ่มการเคลื่อนไหวก่อนการเรียนวิชาในกลุ่ม STEM ซึ่งสามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของวิชาในกลุ่ม STEM โดยรูปแบบเช่น Circuit Training เป็นต้น
10. ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการสอนเรื่องโภชนาการ กายวิภาคศาสตร์ การพัฒนาร่างกาย ซึ่งเป็นวิชาในกลุ่ม Health Science และแยกออกมาจากวิชาพลศึกษา
11. ปัญหาเด็กติดโทรศัพท์มือถือ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ กำลังมีการระดมนักวิชาการ มาเพื่อหาวิธีการแก้ไขเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือ ของนักเรียน
ฟินแลนด์ มีคณะพลศึกษา เพียงแห่งเดียวคือ University of Javaskyla ที่ผลิตครูพลศึกษา เพียงแห่งเดียว ซึ่งตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Faculty of Sports and Health Sceicne
ประเทศไทยชอบบอกว่าระบบการศึกษาของฟินแลนด์ดีที่สุด แต่เชื่อหรือไม่ว่า ตอนนี้ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ถูกนำไปใช้ที่เพื่อนบ้านของเราแล้ว นั่นคือ ที่เวียดนาม มีการสร้างโรงเรียน ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฟินแลนด์ และการจัดการเรียนการสอนระบบเดียวกับที่ฟินแลนด์แล้ว ที่เมืองโฮจิมินห์ ในขณะที่ประเทศไทย ออกข่าวเป็นครั้งคราว
สรุปมาคร่าวๆแค่นี้ก่อนนะครับ เวอร์ชั่นเต็มรอติดตามครับ
แต่ว่าใครจะเป็นเจ้าภาพ ??? หรือจะเดินไปบอกกระทรวงศึกษาธิการของเราว่าควรจะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนได้แล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...