ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อะไรคืออนาคต???

ผมเคยถามนิสิตว่า จบแล้วอยากทำงานอะไร เกือบทั้งห้องบอกว่าอยากเป็นครูสอนออกกำลังกายตามฟิตเนส ถ้าเราเปรียบทฤษฎีของ Dot การ Connect the Dot นั่นก็คือการเชื่อมโยงสิ่งที่เรามีอยู่เพื่อจะลากต่อจุดนั้นไปสู่อนาคต ผมเชื่อว่าหลายคนก็พยายามเชื่อมโยงและต่อจุดเหล่านี้อยู่เช่นกัน แล้วถ้าจุดที่เราเชื่อมโยงต่อจุดนั้นและมองย้อนกลับไป มองไปข้างหน้าก็ไม่ใช่อนาคตที่เราคาดหวังไว้หละครับ เราจะทำอย่างไร ปัจจุบันผมเชื่อว่าเด็กหลายคนกำลังต่อจุดของเขา แล้วมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมา และหลายคนกำลังเริ่มเห็นแล้วว่า อดีตที่ผ่านมาของเขานั้นมันไม่ใช่สิ่งที่เขาคิด เมื่อมันไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคิดแล้วจะต้องทำอย่างไร


1) ก้มหน้ายอมรับอนาคตที่พวกหนูไม่ได้เขียน
2) ลุกขึ้นมาสร้างอนาคตของตัวพวกหนูเอง

บ่อยครั้งเราอาจจะเห็นความปรารถนาดีของผู้ใหญ่ แต่เชื่อไหมครับว่าในความปรารถนาดีนั้น ก็อาจจะแฝงมาด้วยการสร้างความฉิบหายโดยไม่รู้ตัววันก่อนผมเขียนถึงงบประมาณแผ่นดินที่เป็นรายจ่ายประจำ พบว่า งบบุคลากรภาครัฐมีสูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดินเรามีการบรรจุทหาร 10 อัตรา ต่อพยาบาล 1 อัตรา จากจุดนี้เรามองเห็นได้หรือยังว่าประเทศของเรามุ่งไปในทางไหน ความมั่นคง หรือการทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจสังคมแบบปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนั้นทำได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ลับ ก็หาได้ไม่ยากในปัจจุบัน การใช้จ่ายงบประมาณโดยเฉพาะงบทางด้านกลาโหม ไปกับการซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เด็กหลายคนตั้งคำถามว่า ซื้อมาทำไม ซื้อมาเพื่อปกป้องใคร นี่เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ การนิ่งเงียบทำให้คนยิ่งอยากรู้และสืบเสาะแสวงหากันมากขึ้น ยิ่งขุดมากเราก็ยิ่งเห็นด้านมืดมากขึ้นของหน่วยงาน หรือคนที่อยู่เบื้องหลังและพยายามล้างผลาญงบประมาณของประเทศ การใช้อำนาจในการแก้ไขกฏหมายเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน การครอบงำหน่วยงานทางด้านตุลาการ และนิติบัญญัติ ทำให้เราสามารถเขียนหรือออกแบบอะไรก็ได้ ตามที่คนมีอำนาจนั้นต้องการ แต่ไม่ได้ทำเพื่ออนาคตของชาติ

เปิดยุทธวิธีม็อบ “เยาวชนปลดแอก” “อ.นิด้า” ชี้หลายปัจจัยดึงคนลงถนน ...

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนรักและจงรักภักดีจาก การโฆษณาชวนเชื่อ แต่ความจงรักภักดีมันต้องเกิดขึ้นจากภายใน ทำไมคนจีนสมัยก่อนเวลาเขาเลี้ยงลูกน้อง ลูกน้องถึงไม่ไปไหน และยอมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา แต่ทำไมปัจจุบันบรรยากาศแบบนี้ถึงเหลือน้อยมากในสังคม เพราะเราไม่ได้มอบความรัก เอาใจใส่ดูแล กันเหมือนแต่ก่อน ขนาดสังคมครอบครัวเองก็ยังมีความแตกต่างกันทางความคิดกันมากมาย พ่อแม่เชียร์ลุง ลูกเคยเชียร์ลุง แต่ตอนนี้ด่าลุง คุยกันไม่รู้เรื่อง ทะเลาะกันก็มี ก็อย่างว่าแหละครับระดับการรับข้อมูลข่าวสารมันไม่เท่ากันนี่นา จะให้คุยกันรู้เรื่องได้ยังไง พ่อแม่ วันๆ เอาแต่ดูเนชั่น ส่วนลูกดูทุกอย่าง ทั้งทีวี อินเตอร์เนต และสัมผัสมากับตัวเอง พอเหตุผลพวกเขาไม่พอ ก็ตีมุขไม่รับฟัง ไอ้เด็กก้าวร้าว แบบนี้มันคงจะคุยกันรู้เรื่องหรอก ทั้งที่จริงแล้วสถาบันครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้น ในการพัฒนาประเทศเลยก็ว่าได้ พ่อแม่ชินชากับปัญหารอบตัว เช่น การทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาการคมนาคม ปัญหาการเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุข และไม่เคยหาว่าปัญหาที่เกิดขึ้น รอบตัวเรานั้น สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร ส่วนลูกก็มองถึงว่า งานจะมีทำไหม เศรษฐกิจจะดีไหม อนาคตครอบครัวของฉัน ลูกของฉันมันเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าสิ่งที่คนรุ่นใหม่ มอง พ่อแม่ของเราก็เคยมอง และเคยเรียกร้อง แต่มันเหมือนว่าสู้ไม่สุด และโดนความด้านชา จนสุดท้ายถอดใจและบอกช่างแม่งมัน แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่ไมเคยย่อท้อต่อโชคชะตา โดยเฉพาะชาวเกาะทั้งหลาย ทั้ง ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรีเลีย ที่ประเทศของเขาไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบเท่าประเทศไทย แต่ทำไมเขาถึงทำทุกอย่างเพื่อประชาชนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าพร้อมที่จะก้าวลง และเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ แต่ทำไม ทหาร นักการเมือง ข้าราชการ แม่งเห็นแก่ตัวกันจัง

ผมอยากให้พวกคุณ (ผู้ใหญทั้งหลาย) ได้ฟัง และยอมรับ ถ้าเราไม่เปิดใจยอมรับ เราก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะครอบครัว ที่เป็นสถาบันที่เล็กที่สุด ยิ่งต้องรับฟัง และคุยกันให้มากๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...