ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อฉันไปเรียน Tec40: Technical Diving 40 M ตอนที่ 1


การดำเทคนิคัล Diving ทำให้มุมมองของชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากครับ สมัยก่อนไม่เคยรู้จักเลยครับว่า Technical Diving เป็นอย่างไร เห็นแต่รูปในหนังสือต่างประเทศเลยสังสัยว่าทำไมเขาต้องแบกอากาศลงไปหลายถังจัง คงจะเท่ห์ไม่น้อย จนวันนึงได้มีโอกาสในการลงเรียนหลักสูตร PADI TEC40 ซึ่งเป็นหลักสูตรเริ่มต้นของการดำน้ำแบบ Technical สมัยก่อนดำน้ำ Recreation Diver เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเวลาผ่านไปไวมาก เราได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆของการดำน้ำแบบสันทนาการมาพอสมควร ผมเรียนดำน้ำกับครูเบิ้มตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิตอยู่ที่มหาวิทยาลัย ก็เกือบจะ 20 ปีมาแล้ว และก็ดำน้ำมาเรื่อยๆ
Image may contain: swimming and outdoor

สำหรับข้อกำหนดก่อนเข้ามาเรียน Tec40 นั่นก็คือผ่านการเรียนหลักสูตร Advanced หรือ Rescue Divers,หลักสูตร Deep Specialty และ Nitrox Specialty มาแล้ว ที่สำคัญต้องมีประสบการณ์ และมีสุขภาพแข็งแรง
โชคดีที่ผมผ่าน Specialty มาหลายวิชาแบบว่าถ้าว่างก็จับเรียน Specialty หมด ทั้ง Navigation Specialty, Search and Recovery, Nitrox Specialty, Wreck Specialty เพราะครูที่สอนผมดำน้ำเป็น Master Scuba Diver Trainer: MSDT ดังนั้นวิชา Specialty เลยได้เรียนกันมาเกือบหมดเลยนะครับ

Image may contain: swimming, water and outdoor

เมื่อเราผ่านการเรียนวิชาที่จำเป็นสำหรับการดำ TEC40 แล้ว ขั้นต่อไปคือการเรียนภาคทฤษฎี (เรียนในชั้นเรียน) จะเน้นเกี่ยวกับ การคำนวณต่างๆ ที่แตกต่างเป็นอย่างมากกับการเรียน Recreation Divers กลับมาทบทวนฟิสิกส์ของแก๊ส การหา MOD, การวางแผนการดำน้ำ โชคดีที่สมัยก่อนเจอต้องวางแผนดำน้ำเองด้วยตาราง Multilevel และ The Wheel (สมัยนี้เลิกใช้ไปหมดแล้ว) ทำให้การต่อยอดไม่ยาก เนื้อหาในการเรียน TEC40 จะเน้นเกี่ยวกับ ความเสี่ยงในการดำน้ำแบบ Technical, การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งแทงก์คู่ Rigging และการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่เราจะติดตั้งแบบ Hogathian การวางแผนการดำน้ำ การวางแผนการทำ Decompression Stop หรือที่เราเรียกว่า DECO การทำงานเป็นทีม (สิ่งนี้สำคัญ) ซึ่งจะแตกต่างกับการดำน้ำ แบบสันทนาการที่ใช้ระบบบัดดี้ และที่สำคัญคือ การจัดการเหตุฉุกเฉินต่างๆ สำหรับการดำน้ำ ทำให้เราต้องวางแผนต่างๆและต้องคิดตั้งคำถามตลอดเวลา การดำน้ำแบบเทคนิคัล สิ่งแรกที่ผมได้เรียนรู้คือการพัฒนาระบบความคิดของเราครับ ทำให้เรามีลอจิกในการคิด วางแผน การวางแผนสำรอง ที่จะต้องละเอียดมากครับ
------------------------------------------------
วันนี้เขียนแค่นี้ก่อนนะครับ อยากรู้ว่าสนุกยังไง ติดตามตอนต่อไปนะครับ
ขอบคุณรูปสวยๆจากทีมครูแบงค์รับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...