ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฺBitter Sweet ร้านประจำของคนสายคลอง


ชีวิตของการทำงานอยู่ปลายสายคลอง ถนนรังสิต-นครนายก ที่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพเท่าไร แค่ 40 กว่ากิโลเมตร อากาศดี ทำงานสนุก แต่สิ่งหนึ่งที่ควบคู่กับชีวิต อาจารย์มหาวิทยาลัยนั่นก็คงหนีไม่พ้นช่วงพักเที่ยงกับการหาร้านกาแฟดีๆ สักร้าน จริงๆแล้วแถว มศว องครักษ์ ก็มีร้านกาแฟอร่อยๆ บรรยากาศดีๆ หลายร้านนะครับ ว่างๆ จะมารีวิว ให้อ่านกันนะครับ 

ร้าน Bitter Sweet นี่อยู่แถวมหาวิทยาลัยครับ ขับรถไม่ไกลมาก ประมาณ 8 กิโลเมตร จาก มศว องครักษ์ ร้านอยู่ฝั่งทางไปนครนายก เลยคลอง 14 มาเล็กน้อย (คลอง 14 นั่นก็คือเส้นแบ่งระหว่าง ปทุมธานี กับ นครนายก) นั่นเอง ร้านจะอยู่ในโซนที่เขาเรียกว่าตลาดต้นไม้ นั่นก็คือระหว่างคลอง 14 กับ 15 



ที่นี่ จะเป็นแหล่งนั่งเสวนากันเป็นประจำหลังจากทานเข้าวเสร็จของเหล่าอาจารย์ที่ที่ทำงานของผม รวมทั้งนิสิตด้วยเช่นกัน วันนี้ผมมากับเพื่อนหลังจากทำกิจกรรมปฐมนิเทศ นิสิตชั้นปีที่ 1 เสร็จ ช่วงนี้ต้อง New Normal ปฐมนิเทศผ่านทางออนไลน์ กันเลยทีเดียวหลังจากทานข้าวเสร็จก็แวะกลับมาที่ร้านกาแฟชื่อร้าน Bitter Sweet เป็นร้านตกแต่งสไตลล์ สวนอังกฤษ English Garden เหมาะกับการจิบชา และกาแฟ วันนี้เมนูที่ผมสั่งก้คือ เค้กสตรอเบอรรี่ กับลาเต้เย็นครับ (ระยะหลังมานี้ท้องไม่ค่อยดีครับ เลยทานกาแฟเข้มๆไม่ได้)



ร้านนี้มีเมนูหลากหลายให้เราได้เลือกชิม ทั้งเครื่องดื่ม ขนมหวาน ปิงซู เค้ก รวมทั้งใครจะทานอาหารเที่ยงแบบง่ายๆ เขาก็มีเมนูให้เลือกรับประทานได้อย่างหลากหลายครับ ถ้าหากมีเวลามาแถวนครนายก ก็อย่าลืมแวะร้านนี้ดูนะครับ ผมว่าเขาบริการดีเลยทีเดียว ชื่อร้าน Bitter Sweet 

Location: https://g.page/bittersweetnakhonnayok?share

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...