ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019

เมื่อแฟนกีฬากำลังทำลาย(อนาคต)นักกีฬาเยาวชน

เมื่อวานนี้ผมเขียนเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ไปแล้ว วันนี้จึงอยากจะขอเพิ่มเกี่ยวกับ นักกีฬาระดับเยาวชนกันสักนิด ในต่างประเทศนั้น การพัฒนานักกีฬาในระดับทีมชาติ จะต้องเริ่มจากการพัฒนานักกีฬาตั้งแต่ระดับ Grass Root รากหญ้านั่นเอง นักกีฬาในระดับนี้นั้น คุณต้องเข้าใจเป้าหมายในการพัฒนาก่อน ว่าคุณต้องการปลูกฝังเขาเรื่องอะไร เรื่องชัยชนะ ผลการแข่งขัน Outcome หรือ การพัฒนาตนเอง Development โจทย์มีง่ายๆแค่นี้ครับ เพราะเมื่อคุณมี เป้าหมาย  Objective ที่ชัดเจนแล้วเราก็จะมีเส้นทางที่ไปสู่เป้าหมายนั้นนะครับ ในต่างประเทศนั้น การแพ้ชนะ ของนักกีฬาระดับเยาวชน เป็นเรื่องที่ธรรมดามาก เพราะมันอยู่ในช่วงของการบ่มเพาะประสบการณ์ ซึ่งเขาก็ต้องเจอทั้งสิ่งที่ดี หรือไม่ดี จากการแข่งขัน การฝึกซ้อมอยู่แล้วครับ แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างทัศนคติที่ดี Positive Attitude และความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา Sportsmanship คุณลองสังเกตตัวเองดูนะครับ ถ้าคุณสามารถทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ตัวเองชอบ คุณก็จะทำมันได้ทั้งวัน ทำได้โดยที่ไม่ต้องหยุดพัก แต่ถ้าคุณเริ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีกับมัน คุณก็จะไม่เอาใจใส่ ไม่มีสมาธิจดจ่อ คนรอบข้าง

สรุปสาระสำคัญ เรื่อง พลศึกษาในฟินแลนด์

วันนี้เลยขออนุญาตสรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันพอเป็นไอเดีย 1. ชั่วโมงพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมและมัธยม อย่างน้อย 90 นาทีต่อสัปดาห์ และยังมีชั่วโมงในการเพิ่มหรือกระตุ้นกิจกรรมทางกาย มีการเพิ่มการเบรค ระหว่างรายวิชา เป็น ครั้งละ 15 นาทีต่อวัน รวมเป็น 45 นาที และพักกลางวันเป็นสองชั่วโมง เพื่อให้เด็กมีการเพิ่มระดับกิจกรรมทางกาย Physical Activity ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก 2. การเรียนการสอนพลศึกษา เน้นการสอนโดยสอดแทรกองค์ความรู้ทางด้าน สรีรวิทยาการกีฬา โภชนาการกีฬา เพื่อพยายามสร้างการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แบบระยะยาว Life Long Learning แต่วิธีการวัดเป็นเรื่องยาก เพราะ Life Long Learning ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล และ Life Style ของแต่ละคน ดังนั้น การศึกษาคือการ Introduction ให้เขาได้เลือก แต่ไม่ใช่ต้องบังคับเขาให้เป็น เด็กที่นี่จึงมีกระบวนการทางความคิดที่ค่อนข้างอิสระ ในการเลือก 3. พลศึกษาในโรงเรียน เน้นคำเดียวคือ สนุก Fin & Fun เหนือสิ่งอื่นใด Learning Outcome ในช่วงชั้นประถมต้น เน้น การพัฒนา Physcial Literacy, ประถมปลายถึงมัธยมต้น เน้น Fundamental Motor Skill ช่วงมัธยมปลาย เน้

Start Up อย่างมีระบบช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทย

ช่วงนี้เดินสายต่างประเทศบ่อยนะครับ เลยได้มีโอกาสได้เห็นโลกต่างๆมากมาย โลกใบนี้มันกว้างมากนะครับ ยิ่งโลกกว้างเท่าไร ตัวเราก็ยิ่งเล็กลงเท่านั้น ก่อนอื่น ผมต้องขออนุญาตชี้แจงก่อนนะครับ พอดีว่า ผมไม่ใช่คนเก่งอะไรหรอกครับ แต่ได้รับโอกาสที่ดี ในการเดินทางต่างประเทศมากกว่าครับ เลยอาจจะได้เห็นอะไรมากขึ้น บางสิ่งบางอย่าง อาจจะมีแล้วในบ้านเรา ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ ทุกบล็อค ที่เขียน ก็เป็นการแบ่งปันแล้วกันนะครับ  ผมเดินทางมาสอนหนังสือในประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกอย่างประเทศ ฟินแลนด์ อาจจะว่าไปแล้ว ประเทศที่ไม่ค่อยมีทรัพยากรอย่างฟินแลนด์ เขาก็ต้องหาทางที่จะสร้างรายได้ให้กับคนของประเทศขงเขาครับ เนื่องด้วยการเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ รัฐบาลจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อดูแลพลเมืองของประเทศเขา ดังนั้นถ้าไม่มีอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้เข้าประเทศ ก็จอดไม่ต้องแจวเลยครับ สำหรับนโยบายนี้ สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ ร ัฐบาลร่วมกับภาคเอกชน เปิดพื้นที่ให้กับ Start Up ใหม่ๆ ได้กระตุ้นการทำงานและเกิดธุรกิจใหม่ และเจ้าของกิจการรุ่นใหม่ Young Enterpreneur ครับ โดยพยายามจัดพื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ก

Wöhler design กับวิทยาศาสตร์การกีฬา

Fatigue หรือความเมื่อยล้า นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวันและในวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เช่นกัน ตอนก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึง Morphology สำหรับนักกีฬาไปแล้ว ว่านักกีฬาแต่ละคนก็ย่อมมีความแตกต่างในด้านโครงสร้างและสรีระของร่างกาย วันนี้เลยอยากจะเขียนต่ออีกสักเรื่องนึงเกี่ยวกับการออกแบบ อุปกรณ์ หรือแนวคิดที่จะช่วยให้นักกีฬาลด Fatigue ลงในระหว่างการฝึกซ้อม ซึ่งแนวคิดนี้ก็สามารถเอาไปอธิบายได้เกี่ยวกับการออกแบบทางการยศาสตร์ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ แนวคิดของ wöhler design จากคอนเซปต์ของ Fatigue ที่มีลักษณะตามภาพ ซึ่งปัจจัยของการทำให้เกิด Stress นั้นก็คือ ขนาดของความเครียด Stress และจำนวนวงรอบของการเกิดความเครียด ถ้าความเครียดมาก จำนวนครั้งน้อย หรือ ความเครียดน้อยๆ แต่จำนวนครั้งมาก Cycle มากนั่นเอง แต่ถ้าความเครียดนั้นหรือความเครียดสะสมมันเกินระดับที่วัตถุนั้นรับได้ นั่นก็คือวัตถุนั้นก็จะเสียสภาพไป ในมนุษย์เรา ถ้าเปรียบกระดูก และกล้ามเนื้อเปรียบเสมือนวัตถุ ดังนั้น ตามหลักของ wöhler ลองคิดดูเล่นๆ เช่นถ้าคุณกระโดดสูง Vertical Jump แรงที่เกิดมาก คุณก็จะกระโดดได้จำนวนครั้งที่น้อย แต่ถ้

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

Morphology สำหรับการกีฬา

โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมอุปกรณ์ เช่น จักรยาน เรือพาย กีฬาทางน้ำ แม้กระทั่งมวย นะครับ โค้ชหลายคนพยายาเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้นักกีฬามีมวลกล้ามเนื้อมาก A                 B                   C A) Mesomorph   B) Ectomorph   C) Endomorph สมัยก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Somatotype สำหรับนักกีฬามาแล้ว ว่าแบ่งเป็นสามประเภท แต่สิ่งหนึ่งที่จะเป็นตัวตอบได้ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั่นก็คงเป็นเรื่องของ  ชีวกลศาสตร์ทางการกีฬานั่นเองนะครับ ที่จะเป้นตัวตอบได้อย่างดี สิ่งหนึ่งที่เราพบนั่นก็คือ กีฬาเหล่านี้ จะมีจุดที่เหมาะสม นั่นก็ คือ Optimal Point คือจุดที่เหมาะสมที่สุดระหว่างความแข็งแรงกับน้ำหนัก นะครับ หลายครั้งถ้าท่านเคยสังเกตจะพบว่า นักกีฬาที่มีน้ำหนักน้อย เอาชนะ นักกีฬาที่มีน้ำหนักมากๆ ขอยกตัวอย่างเรือมังกร เมื่อตอนเอเชี่ยนเกมส์ ให้ดูนะครับ ผมลองเอาข้อมุล น้ำหนัก ส่วนสูง ของนักกีฬาที่ได้จาก ท่าน  Tanormsak Senakham  ไปลองใช้เทคนิค การปรับ Scaling Technic ในนักกีฬาเรือพายแต่ละชาติ จะเห็นได้ว่า นักกีฬาแต่ละประเทศนั้นมีสัดส่วนร่างกายที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเอาข้อมูล P

การบอกตำแหน่งจากดาวเทียม GPS กับการกีฬาและออกกำลังกาย และดราม่า ตอนที่ 1

            ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำหรับหลายคนที่ใช้ Wearable Device ไม่ว่าจะเป็น Polar, Apple Watch หรืออีกหลายแบรนด์ นะครับ เกือบทุกยี่ห้อจะมีระบบในการติดตามตำแหน่งด้วยดาวเทียม ซึ่งบางครั้งเราอาจจะเรียกว่า ระบบจีพีเอส นั่นเอง และหลายครั้ง ตามบล็อกต่างๆ มักชอบมีการรีวิว ถึงความแม่นยำของจีพีเอส หรือ ระบบบอกตำแหน่ง แล้วจับเอาแพะ มาชนกับแกะ จับยี่ห้อนึงไปเทียบกับยี่ห้อนึง จนเป็นดราม่าในอินเตอร์เน็ตนะครับ วันนี้เลยขอจัดบทความมาเพื่อให้บรรดา แฟนคลับได้อ่านกันนะครับ เกี่ยวกับระบบ บอกตำแหน่งจากดาวเทียม GPS แบบล้วนๆ เลยนะครับ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ             ในปัจจุบัน ระบบระบุตำแหน่งจากดาวเทียมนั้น มีหลายค่ายให้เราได้เลือกใช้กันนะครับ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตนาฬิกาว่าจะเลือกใช้ระบบอะไร แต่โดยทั่วไปนั้นบนโลกนี้เราจะมีระบบใหญ่ๆ กันทั้งหมด 4 ระบบ 1)      GPS: Global Position Service :GPS เป็นระบบระบุตำแหน่งจากดาวเทียมที่มีความแม่นยำ และใช้กันอย่างแพร่หลายจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 31 ดวง 2)      GLONASS

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

การฝึกที่ระดับความหนักสูง ในกีฬาฟุตบอล High Intensity Training in Soccer ตอนที่ 1

the battle of thresholds and the misused concept of ‘high-intensity‘ การฝึกที่ระดับความหนักสูง ในกีฬาฟุตบอล High Intensity Training in Soccer   เราวิเคราะห์อะไรกันอยู่หรือ ???       หลายทีมในลีกฟุตบอลคงเคยจะประสบพบเจอกับการนำข้อมูลจาก แทรคเกอร์ (ระบบจีพีเอส) ติดตามนักกีฬาฟุตบอลไปใช้ใประโยชน์ บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจเกี่ยวกับความหมายหรือ การใช้งาน ระดับหรือจุดที่ถูกสมมติขึ้นมา ขีดจำกัด Threshold นั้นมีมากมายสำหรับระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น GPEXE, Polar Team Pro ฯลฯ คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับตัวแปร และองค์ประกอบที่เราจะต้องการวิเคราะห์ และนำไปใช้งาน นั่นเอง ที่จะเป็นตัวบอกว่า เราจะนำข้อมูลด้านใดไปใช้ในการฝึกซ้อมได้อย่างไร บางคนกำหนดโซนขึ้นเองจากความรู้สึก บางคนสร้างโซนจากงานวิจัยที่บอกว่า โซนความเร็วจะเป็นเท่าไร แต่ท่านเชื่อไหมว่า ข้อมูลเหล่านี้ มันไม่เพียงพอ และหลายครั้งถูกนำไปใช้อย่างผิด ๆ และไม่เข้าใจถึงหลักการฝึกซ้อมทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ในการกำหนดความหนักในการฝึกซ้อมของนักกีฬาฟุตบอล ผลสุดท้ายก็คือ นักกีฬาฟุตบอลประสบปัญหา การฝึกเกิน Overtraining หรือ การบาดเจ็บ Injuries วันน