ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในยุค ไทยแลนด์ 4.0


การปิดตัวลงของนิตยสารชื่อดัง คู่สร้างคู่สม และอีกหลายฉบับอย่าง ดิฉัน หรือ แพรว คงเป็นเครื่องสะท้อนได้เป็นอย่างดีของภัยคุกคามในเรื่องของการบริโภคคอนเทนต์และความตื่นรู้ของคนไทยเรื่องลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา ที่ยังห่างไกลกับสากลโลกเป็นอย่างมากครับ คอลลัมน์หลายคอลลัมน์ถูกนำไปคัดลอกลงในอินเทอร์เน็ต ทั้งที่นิตยสารเหล่านั้นไม่มีนโยบายในการเผยแพร่คอลลัมน์หรือข้อเขียนในรูปแบบของออนไลน์ จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดว่า แล้วคอลลัมน์นั้นไปอยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่างไรทั้งที่ไม่มีการอนุญาต คำตอบคือ การทำโดยพลการและไม่เกรงกลัวต่อกฏหมายอันใด นั่นเอง เพราะกฏหมายของไทย ไม่ได้ปกป้องเจ้าของลิขสิทธิ์อะไรเลย หรือถ้าหากจะต้องสู้กันก็คงจะต้องล้มหายตายจากกันไปก่อนกว่าที่คดีความจะยุติ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ผู้ทำคอนเทนต์หลายรายยอมตัดใจเป็นช้อยเก็บฉาก ไป การปิดตัวลงของสำนักพิมพ์นั้นไม่ใช่แค่สร้างความเดือดร้อนต่อสำนักพิมพ์เท่านั้นแต่บรรดาคอลลัมน์นิสต์ พนักงานต่างก็ตกงานกันเป็นทิวแถวครับ นี่คือ เรื่องจริง นอกจากนี้แฟนคลับที่รอซื้อนิตยสารทุกเดือนยิ่งได้รับความทุกข์ไม่น้อยไปกว่ากัน

ย้อนมาดูวงการกีฬากันบ้าง เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญากับลิขสิทธิ์นั้น ยิ่งดูยิ่งห่างไกลยิ่งนัก เพราะในบ้านเราเมืองเราแทบจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เลย เรามารู้จักคำว่าลิขสิทธิ์กันนะครับ ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิทางกฎหมายที่กฎหมายของประเทศหนึ่ง ๆ สร้างขึ้นซึ่งให้สิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) แก่ผู้สร้างสรรค์งานต้นฉบับในการใช้ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ได้กับการนำเสนองานสร้างสรรค์ใด ๆ ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ คือ ชีวิตของผู้ประพันธ์บวก 50 ถึง 100 ปี (คือ ลิขสิทธิ์จะหมดอายุ 50 ถึง 100 ปีหลังผู้ประพันธ์เสียชีวิต ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจ) บางประเทศต้องมีข้อกำหนดลิขสิทธิ์ (copyright formality) เพื่อสถาปนาลิขสิทธิ์ ในเรื่องของการออกกำลังกาย หรือการกีฬานั้น ตัวอย่างของลิขสิทธิ์ก็เช่น ลิขสิทธิ์การออกกำลังกายภายใต้ชื่อ .... ทั้งหลายตามที่เราคุ้นชินตามสถานการออกกำลังกายชั้นนำ แบบทดสอบร่างกาย เช่น FMS หรือ แม้กระทั่ง อุปกรณ์การออกกำลังกาย ผมจะขอยกตัวอย่าง อุปกรณ์หลายๆประเภท ที่จะมีอุปกรณ์พร้อมกับท่าในการออกแบบนะครับ รวมทั้งสื่อที่มาในรูปเอกสาร หนังสือ ดีวีดี ฯลฯ ปัจจุบันพบว่า ลิขสิทธิ์ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้กำลังถูกนำไป คัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำไปเผยแพร่ โดยปราศจากการได้รับการอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นอย่างมากในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์การออกกำลังกายจำนวนมาก ถูกนำไปทำซ้ำ จากประเทศจีน แล้วนำเข้ามาจำหน่ายกันเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง ในราคาที่ต่างกับเจ้าของลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญากันอย่างราวกับฟ้ากับเหว พร้อมกับการเปิดคอร์สอบรมหลักสูตร โดยที่ไม่มีการขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์ ซึ่งเป็นที่แพร่เหลายกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะตลาดการกีฬาและการออกกำลังกายเป็นตลาดที่ใหญ่มากในประเทศของเรา ผมเคยไปใช้บริการฟิตเนสในประเทศอื่นๆใกล้ๆ ไกลๆบ้านเรา อุปกรณ์ทุกอย่างนั้น เป็นอุปกรณ์แท้ และลิขสิทธิ์ทั้งหมด เพราะเขาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในสิ่งเหล่านี้ครับ อุปกรณ์ก็อปปี้ราคานั้นแตกต่างกันกับสินค้าแท้ เช่น อุปกรณ์การฝึกซ้อม TRX Suspension ถ้าของแท้ สนนราคาอยู่ตั้งแต่ เจ็ดพันขึ้นไปแต่ของก็อปปี้อยู่ที่สนนราคาพันต้นๆ บางค่ายหนักกว่านั้น ก็อปทั้งโลโก้ ทั้งแบรนด์เลยก็มีครับ
เรื่องความอยู่รอดในยุค 4.0 มันเป็นเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับรวมทั้งการเคารพและให้เกียรติกับเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ บรรดา Inventor ทั้งหลายนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่จะวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งนั้นเขาใช้เวลานานมาก แต่คุณสามารถใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการก็อปปี้ และทำลายมันลงได้อย่างรวดเร็ว การปิดตัวของนิตยสาร และวารสารหลายเล่มของประเทศไทย นี่ยังไม่นับรวมถึงค่ายเพลงต่างๆในประเทศ คงจะเป็นเรื่องที่สะท้อนถึง ความเป็นไทยแลนด์สไตลล์ เรื่องของลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาได้เช่นกัน สำหรับเรื่องของการกีฬาและการออกกำลังกายก็เช่นกัน แม้คุณจะยังไม่เห็นผลกระทบโดยตรงแต่ หลายๆประเทศก็กำลังจับจ้องดูความประพฤติของคนไทยในเรื่องนีเช่นเดียวกัน ครับ บริษัทเหล่านี้เขารู้ความเป็นมาเป็นไปเป็นอย่างดี มากว่าคนไทยด้วยกันเองเสียอีก ถ้าเรายังวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นของเราเองไม่ได้ ก็อย่าใช้วิธีการก็อปปี้เลยนะครับ มันทำให้เพื่อนร่วมชาติที่วิจัยและพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาเองนั้น เขาลำบากไปด้วยครับ...ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผมเชื่อได้เลยครับ ว่าต่อไป พวกนวัตกรรมเหล่านี้คงไม่เข้าเมืองไทย แน่นอน เพราะเข้ามาแล้วก็กลัวที่จะถูก ก็อปปี้ นั่นเองครับ เพราะการก็อปปี้ มันไม่มีต้นทุน ระยะเวลา สมอง ในการวิจัยและพัฒนาครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...