พลังทางกลศาสตร์ Mechanical Power และ โหลดที่มากระทำต่อกล้ามเนื้อ Muscle Power Load กับกีฬา เรื่องที่หลายคนมองข้าม แต่มันสำคัญเป็นอย่างมาก (รักพี่ตูนอย่าให้พี่ตูนวิ่งๆหยุดๆ นะครับ กรณีจากพี่ตูน เจ็บ ครับแล้วลองจินตนาการตามไป)
พารามิเตอร์ทางสรีรวิทยาการออกกำลังกาย โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว และความเร่ง ในการทำนายความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บ (Risk Injury) โดยเฉพาะในกีฬาประเภททีมที่มีลักษณะของการเคลื่อนที่สลับกับพัก หรือ สลับกับเบา Intermittent Sport เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล ซึ่งจะมีการเร่งความเร็วและการลดความเร็วในการเคลื่อนที่เสมอ ถ้าเปรียบเหมือนกับการฝึกความแข็งแรง การเพิ่มความเร็วในการฝึกนั่นก็คือ การฝึกให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวแบบ Concentric ในขณะเดียวกัน การชะลอความเร็ว (Deceleration) ก็จะอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบ Eccentric ในการลดความเร็วลง (บางตำราก็บอกว่า Eccentric ไม่ใช่การหดตัวของกลามเนื้อเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงความยาวของเส้นใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดตัวยังไงแบบยืดยาวออกหว่า) ในนักกีฬาฟุตบอล แม้นักกีฬาจะมีการใช้เทคนิคในการหาความสมดุลของกล้ามเนื้อโดยการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา
ด้านหลัง กับ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า Hamstrig/Quadriceps: H/Q ratio แล้ว แต่ก็ยังมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นให้เห็นอยู่ แม้จะเทรนดีแค่ไหนแต่ก็ยังมีการบาดเจ็บให้เห็นอยู่เช่นกัน บาสเกตบอล วอลเลย์บอลก็หมือนกันนะครับ สาเหตุไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะฝึกนักกีฬาให้ฟิตขนาดไหน ก็ตามการบาดเจ็บก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นเราลองมาดูกันว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร ???
ในกีฬาฟุตบอล 1 เกม ที่มีลักษณะของ intermittent speed เราเคยทำการนับไหมเล่นๆ ดูมั้ยครับว่า นักกีฬาแต่ละคน มีการเปลี่ยนความเร็ว จากหยุดกลายเป็นวิ่ง แล้วกลับมาเดิน และหยุด หรือวิ่งๆ อยู่แล้วลดความเร็วลงเพื่อเปลี่ยนทิศทางกี่ครั้ง หรือแม้กระทั่ง การเปลี่ยนความเร็วจากการเดิน ไปเป็นวิ่ง แล้ว เร่งความเร็วขึ้นไปอีก แล้วลดความเร็วลงเป็นหยุดในระยะเวลาอันสั้น กี่ครั้งตลอด 90 นาที ถ้าเปรียบเหมือนรถยนต์ ถ้าเราขับรถกระชากไปมา เดี่ยวเหยียบเร่งไปที่ 120 แล้วลองหยุดในระยะกระชั้นชิด สิ่งที่ตามมาก็คือ เครื่องอาจจะพัง หรือเบรคอาจจะไหม้เช่นเดียวกัน แล้วถ้าเป็นนักกีฬาฟุตบอล สิ่งที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่และหยุด เบรค นั่นก็คือกล้ามเนื้อไงครับ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้เกิดความเครียดขึ้นที่กระดูก เช่น กระดูกหัก กระดูกร้าว แต่ถ้าเกิดที่กล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อก็เช่น ACL Rupture กล้ามเนื้อช้ำ อักเสบ นั่นเอง สิ่งที่ตามมาก็คือการรักษา การฟื้นฟู ซึ่งทำให้นักกีฬาไม่สามารถฝึกซ้อมและแข่งขันได้ สาเหตุของการบาดเจ็บในกีฬาฟุตบอลไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อไม่สมดุลเท่าไร ในนักกีฬาอาชีพ เพราะฟิตเนสโค้ชก็ต้องเทรนมาดีระดับหนึ่งแล้วนะครับ แต่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงความเร็ว จำนวนๆมากๆ หลายๆครั้งนี่แหละครับ เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไม่สามารถตอบสนองต่อการสั่งการได้ เกิดกล้ามเนื้อกระตุก นั่นเองครับ ดังนั้นนอกจากจะต้องฝึกสมรรถภาพทางกายแล้ว การมอนิเตอร์ความหนักในการฝึกซ้อมก็มีความจำเป็นไม่แพ้กันครับ ข้อมูลของการเร่งความเร็วและการลดความเร็ว จำนวนอีเวนต์ที่เกิดขึ้นสามารถบอกเราเป็นนัยๆ ถึงความเสี่ยงของการบาดเจ็บในการฝึกซ้อมครับ และจะต้องหาทางป้องกันต่อไป ถ้าเราไม่มีการมอนิเตอร์การฝึกซ้อมเลย สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราต้องปวดหัวเป็นอย่างมาก ที่นักกีฬาจะประสบปัญหาอาการบาดเจ็บในระหว่างการฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก และทีมงานผู้ฝึกสอนก็จะไม่ทราบว่าโหลดที่เราให้ หรือโปรแกรมที่เราให้นั้นเพียงพอต่อความต้องการของนักกีฬาในแต่ละวันหรือไม่ มีลักษณะเป็น โมโนโทน หรือไม่ครับ หรือ ว่า หนักเกินไปสำหรับนักกีฬา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น