ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การวัดความหนักในการฝึกซ้อมฟุตบอลรูปแบบใหม่


        สวัสดีช่วงส่งท้ายปี นะครับ ช่วงนี้ในไทยลีกก็กำลังเตรียมตัวเพื่อเปิดฤดูกาลในเดือนมกราคมแล้วนะครับ วันนี้เลยขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับการฝึกฟุตบอลสักนิดนึงครับ ซึ่งในระยะหลังสำหรับประเทศไทย วิทยาการและวิธีการฝึกฟุตบอลนั้นก้าวหน้าขึ้นไปเป็นอย่างมากนะครับ มีการนำ GPS เข้ามาใช้ในการฝึกซ้อม ซึ่งเป้นผลพวงมาจากงานวิจัยทางด้านฟุตบอลในระยะหลังที่มีการนำระบบวีดีโอ และ จีพีเอสเข้ามาใช้ในการเก็บข้อมูลการฝึกซ้อมและการแข่งขันเป้นจำนวนมากครับ (Carling.2008) แต่สำหรับฟุตบอลนั้นการใช้ความเร็วในการฝึกซ้อมนั้นค่อนข้างจะทำได้ยาก เนื่องจากการเคลื่อนที่ของฟุตบอลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นระยะทางที่ค่อนข้างสั้นมากและรวดเร็ว ซึ่งถ้าใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดนั้น ในนักกีฬาฟุตบอลที่มีประสบการณ์สูงๆ ค่าที่ได้จะมีลักษณะที่ต่ำกว่าความเป็นจริง อันเป็นผลทำให้โปรแกรมการฝึกซ้อมนั้น พลาดเป้า หรือไม่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ท่าที่ควร (Polglaze et.al 2005) นอกจากนี้การวัดความหนักในการฝึกซ้อมนั้นยังทำให้นักกีฬาได้รับโหลดในการฝึกซ้อมอย่างเหมาะสม ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ซึ่งจะส่งผลต่อ การพัฒนาการที่ต่อเนื่องของนักกีฬา ป้องกันการบาดเจ็บ และยังสามารถวางแผนทางโภชนาการได้อย่างเหมาะสมด้วยนะครับ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ metabolic power

         เพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดของการใช้ความเร็ว ในการฝึกซ้อมซึ่งไม่เพียงพอ Dr. Di Prempo ได้เสนอหลักในการวิเคาะห์การเคลื่อนไหวบนฐานของเวลา โดยมีแนวคิดที่ว่า การเพิ่มหรือลดความเร็วของการวิ่งในแนวราบนั้น ระดับของการใช้พลังงานจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิ่งขึ้นเขาหรือลงเขา ซึ่งปริมาณการใช้พลังงานจะสัมพันธ์กับความเร็วที่ทำได้ ซึ่งพลังงานที่ใช้ไปนั้นนั้นก็คือ Metabolic Power นั่นเอง (Pmet) (Diprempo.2015) ดังนั้นเมื่อเรานำข้อมูลของความเร็ว ความเร่ง ความหน่วง มาคำนวณเราก็จะได้ค่า Pmet ของแต่ละอีเวนต์ที่เกิดขึ้น มาเข้าสู่การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ผลก็คือความต้องการในการเคลื่อนที่ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลนั่นเอง มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดของ Metabolic Power ในปี ค.ศ. 2010 โดยเป็นการหาความต้องการในการวิ่งของนักกีฬาฟุตบอลที่แข่งขันในลีกสูงสุดของอิตาลี กัลโช่ซีรีส์อา พบว่า ร้อยละ 18 ของระยะทางที่ทำได้ทั้งหมดในการแข่งขันถ้าใช้การแบ่งด้วยความเร็ว แต่ถ้าใช้หลักของ Metabolic Power นั้นจะได้ค่าถึงร้อยละ 26 ของระยะทางที่ทำได้ทั้งหมดที่เป็นการวิ่งที่ความเร็วสูง ด้วยการใช้ Pmet (Manzi.2014) และอีกชิ้นหนึ่งทำการหาความสัมพันธ์ระหว่าง Pmet กับความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของระบบแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล พบค่าความสัมพันธ์ในระดับปานกลางระหว่างปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดกับระยะทางที่ทำได้ที่ระดับสูงของค่า Pmet

Image may contain: 4 people, people playing sports and outdoor
   
     ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า แนวคิดของการใช้ความเร็วในการแบ่งระบบพลังงานนั้นเราจะได้ค่าที่ต่ำกว่า ค่าจริงเป็นอันมาก ซึ่งสนับสนุนโดยข้อมูลของความสามารถแบบแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องการงานวิจัยที่จะมาสนับสนุนของ metabolic Power (Pmet) อีกมาก (Osgnach et.al.2010) ในกีฬาฟุตบอลนั้นถ้าหากเราเปรียบเทียบแมทช์ต่อแมทช์ในเรื่องของความเร็วในการวิ่งที่ระดับสูง นั้น จะพบว่า เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในการแข่งขัน 1 เกม แต่ที่น่าสงสัยคือ ความเชื่อมั่นของเทคโนโลยี GPS ในการวัด ความเร่ง และความหน่วงที่มีค่าสูงๆมากก็ยังคงเป็นคำถามกันต่อไป เป็นอย่างมาก ล่าสุด ในปี 2017 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการใช้ Pmet ไปออกแบบ และ ประยุกต์ใช้ในการติดตามการฝึกซ้อมของนักกีฬา พบว่า ในมุมมองของการฝึกซ้อม พบว่า Pmet ในนักกีฬาฟุตบอลระดับอีลิท ในช่วงปรีซีซั่นนั้น การใช้ Pmet ในการวัดปริมาณการฝึกซ้อมนั้น สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในปี 2010 ที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดของ การใช้ Metabolic Power ในการวัด ความเร็ว ความเร่ง และความหน่วง ในการเคลื่อนที่ของนักกีฬา แล้วแปลงกลับมาเป็นค่าของพลังงาน หรือ ความหนักที่ใช้ในการฝึกซ้อมของแต่ละเซสชั่นนั่นเอง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
        สรุปก็คือ แนวคิดของการใช้ Speed ในการฝึกซ้อม เพื่อหาความหนักในการฝึกซ้อม ค่าที่ได้จะมีค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมากๆ เนื่องจากการวิ่งในกีฬาฟุตบอลมักจะเป็นการเคลื่อนที่ระยะสั้นๆ และ ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ที่สั้นมาก ดังนั้นด้วยข้อจำกัดของ จีพีเอส ข้อมูลที่ได้อาจจะไม่เพียงพอในการหาความเร่ง และความหน่วง เทคโนโลยีของการวัดความเร็วในการเคลื่อนที่อาจกำลังจะถูกแทนที่ด้วยการวัดพลังของเมตาบอลิก โดยการวัดความเร็ว ความเร่ง ความหน่วง ของการเคลื่อนที่แทน แล้วนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาพลังงานหรือความหนักในการฝึกซ้อมฟุตบอล ซึ่งจะได้ผลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า การใช้ความเร็วในการแบ่งโซนในการฝึกนั่นเองครับ นอกจากนี้เรายังนำข้อมูลเรื่องความเร่งและความหน่วงไปใช้ในการทำนายการทำงานของกล้ามเนื้อได้เป็นนัยๆ ว่าจะเกิดความเสี่ยงมากหรือน้อยต่อการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยนะครับ
1. Polglaze T, Dawson B, Peeling P.. Gold standard or fool’s gold? The efficacy of displacement variables as indicators of energy expenditure in team sports. Sports Med. 2016;46:657–670.[PubMed]
2. di Prampero PE, Fusi S, Sepulcri L, Morin JB, Belli A, Antonutto G.. Sprint running: a new energetic approach. J Exp Biol. 2005;208:2809–2816. [PubMed]
3. di Prampero PE, Botter A, Osgnach C.. The energy cost of sprint running and the role of metabolic power in setting top performances. Eur J Appl Physiol. 2015;115:451–469. [PubMed]
4. Manzi V, Impellizzeri F, Castagna C.. Aerobic fitness ecological validity in elite soccer players: a metabolic power approach. J Strength Cond Res. 2014;28:914–919. [PubMed]
5. Osgnach C, Poser S, Bernardini R, Rinaldo R, di Prampero PE.. Energy cost and metabolic power in elite soccer: a new match analysis approach. Med Sci Sports Exerc. 2010;42:170–178. [PubMed]
6. Polglaze T, Dawson B, Peeling P.. Gold standard or fool’s gold? The efficacy of displacement variables as indicators of energy expenditure in team sports. Sports Med. 2016;46:657–670. [PubMed]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่