ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รีวิวบ้านๆกับ Polar M430 ลองทดสอบการใช้งานจริง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านบล็อคเกอร์ของผมทุกท่าน วันนี้ได้สั่งซื้อ Heart Rate monitor ตัวใหม่มาจากทางตัวแทนจำหน่าย www.vinasport.co.th นะครับ หลังจากที่ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูล และ ลองสืบราคา จากเวบไซต์ต่างๆมาหลายเวบไซต์ สรุปก็เลยมาลงเอย ทีบริษัทนี้ครับ เพราะพอผมโทรไปสอบถามข้อมูลทางด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ของเขาก็ให้คำตอบได้ดีครับ  ข้อมูลปึกมาก


กลับมาที่ Polar M430 กันต่อนะครับ

เมื่อแกะกล่องมา มีหัวใจหลักๆ อยุ่สามชิ้นใน แพคเกต ก็คือ

1. ตัวนาฬิกา Polar M430
2. สายชาร์ตและเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
3. คู่มือ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบก็คือ
1. โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน จะเป็น Android หรือ iOS ก็สุดแท้แต่
2. คอมพิวเตอร์ ผมแนะนำเลยครับว่าต้องมี เพราะเนื่องด้วยข้อจำกัดของสมาร์ทโฟน ในการวางแผนการฝึกซ้อม เราจำเป็นต้องมีพีซี หรือ โน็ตบุ็ค ไว้สำหรับการวิเคราะห์เชิงลึกนะครับ

ริ่มต้นด้วยการตั้งค่า ก็แสนจะง่ายดาย จากคู่มือ นั้น การตั้งค่าแบ่งออกเป็นสามแบบนะครับ

1. ตั้งค่าผ่านทางสมาร์ทโฟน
2. ตั้งค่าแบบแมนวล
3. ตั้งค่าโดยเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ผมขอแนะนำวิธีนี้นะครับ สองวิธีขั้นต้น จากประสบการณ์ส่วนตัวไม่แนะนำให้ใช้ เพราะค่อนข้างยุ่งยากครับ สำหรับมือใหม่ โพลาร์ วิธีการนี้เหมาะที่สุดนะครับ
เมื่อเสียบสายเข้ากับตัวนาฬิกาแล้วต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ นั้น เบราวเซอร์ ก็จะเปิดหน้าเวบขึ้นมา
เพื่อให้ทำการดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ ที่ชื่อว่า Polar Flow Sync

    เจ้า Polar Flow Sync ก็จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนสะพานในการเชื่อมต่อ Polar M430 เข้ากับ Polar Flow Website ครับ เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เจ้า Flow Sync จะพาเราเข้าไปสู่ขั้นตอน
การตั้งค่าโดยอัตโนมัติ สำหรับ มือใหม่ ก็กรอกข้อมูลตามช่องที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล
วันเดือนปีเกิด และอื่นๆ พยายามกรอกให้ครบ สมบูรณ์ที่สุดนะครับ เพราะจะส่งผลต่อการคำนวณ ปริมาณ
การใช้พลังงานของเราในแต่ละวัน รวมถึงรูปแบบกิจกรรมทางกายของเรานะครับ

    แต่สำหรับท่านใดที่มี Polar Flow Account อยู่แล้ว ก็กรอก username และ พาสเวิร์ด ลงไปได้เลยนะครับ


รับสัญญาณจากดาวเทียม GPS ได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่ถึง สามวินาที ในการ Acquired สัญญาณ


     จากนั้นก็จะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่าของนาฬิกา โพลาร์แนะนำให้ใส่ในแขนข้างที่ไม่ถนัดนะครับ ในการ
วัดระดับของกิจกรรมทางกาย เช่น ปกติเราถนัดแขนขวา เราก็จะใส่นาฬิกาที่แขนซ้ายครับ การตั้งค่าจะ
เป็นภาษาอังกฤษนะครับ แต่ผมได้เสนอแนะกับทางบริษัท เขาแล้วว่า น่าจะมีภาษาไทยด้วยนะครับ เขาก็
รับปาก พยายามผลักดันให้นะครับ โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมได้รู้จัก ผลิตภัณฑ์ Polar สมัยที่ผมเรียนปริญญาตรี ก็เริ่มศึกษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็สิบกว่าปีแล้วนะครับ ที่ได้รู้จักผลิตภัณฑ์โพลาร์มา ครับ และพอเรียนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ต้องอ่านงานวิจัยต่างๆ จากต่างประเทศ เขาก็ใช้ผลิตภัณฑ์ของ โพลาร์ ในการเก็บข้อมูลนักกีฬากันแทบทั้งนั้น ผมเลยคิดว่า นี่แหละคือ ผลิตภัณฑ์ที่มาตรฐานสำหรับการฝึกซ้อมกีฬา และการออกกำลังกายที่สุดแล้วครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลมากกว่านะครับ

กลับมาเรื่องของเราต่อ ออกทะเลไปพอสมควร
    เมื่อตั้งค่าเสร็จหมดเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะพาเข้าสู่หน้า ปฏิทิน ซึ่งปฏิทินนี้ก็คือแผนการฝึกซ้อมของเราครับ เราสามารถสร้างและพัฒนาโปรแกรมการฝึกซ้อมของเราเองได้ครับ โดยการคลิกที่วันที่ต้องการและเลือกรูปแบบของการฝึกซ้อม ซึ่งเขามีเทมเพลต ให้เราได้ทำการปรับแต่งได้โดยง่ายนะครับ ผมขอข้ามตรงนี้ไปก่อนนะครับ

สำหรับ Polar M430 จุดเด่นก็คือ เจ้า GPS ที่สามารถบอกระยะทางได้อย่างแม่นยำ ครับ เพราะใช้ชิปเซตของบริษัทที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีจีพีเอส เคยอ่านข่าวเจอว่า โพลาร์ ได้เข้าไป ซื้อหุ้นในบริษัทนี้ด้วยนะครับ เลยทำให้เจ้าชิพ ใน Polar M430 เรื่องความแม่นยำหายห่วงครับ ดูจากผลการทดสอบนะครับ


อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ระบบจีพีเอสนั้นสามารถเลือกใช้ได้สองโหมดนะครับ คือโหมดความแม่นยำสุงและโหมดประหยัดพลังงานครับ ซึ่งระดับของความแม่นยำ จะแปรผกผันกับการรับประทานแบตเตอรรี่นะครับ

อีกจุดหนึ่งก็คือ Heart Rate ครับ เทคโนโลยีของ Heart Rate ที่ข้อมือ ชนิด Photopletysmograph โดยการใช้ ลำแสงวัดการเคลื่อนที่ข้องเลือดที่บริเวณข้อมือ Wrist Joint เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้วัดระดับอัตราการเต้นของหัวใจอีกวิธีนึงนะครับ แต่ก็จะมีข้อจำกัดเรื่องของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงๆ เราก็จะพบปัญหาเรื่องของการแกว่งของสัญญาณอัตราการเต้นของหัวใจ เนื่องจากเหงื่อออก รวมทั้ง จังหวะของการไหลของเลือดนะครับ ใน Polar M430 นั้นเป็นระบบ 6จุด LED เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการอ่านข้อมูลให้มีความแม่นยำ มีความเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเปิดทางสำหรับ การเชื่อมต่อเข้ากับ Chest Strap Heart Rate แบบสายคาดอก ทำให้เราสามารถเลือกใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวัดที่ข้อมือ และการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากสา่ยคาดอกโดยตรง ซึ่งเป็นมาตรฐาน สำหรับการออกกำลังกาย และ มีความแม่นยำสูงครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน M430 เนื่องจากเป็นการปรับปรุงมาจาก M400 ฟังก์ชั่นโดยทั่วไป ก็จะครบถ้วนอยู่แล้ว แต่ใน M430 นั้นจะเพิ่มในเรื่องของการวัดความเร็ว ระยะทางจากข้อมือ ซึ่งจะเหมาะกับในวันที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ หรือ การออกกำลังกายในยิมนะครับ นอกจากนี้ยังเพิ่มการวัด Cadence หรือ ฝีก้าว ซึ่งจะทำให้เราสามารถ ใช้ค่าต่างๆในการฝึกซ้อมได้ หลากหลายมากยิ่งขึ้น ครับ



ผมลองทำการวิ่ง ที่ บนลู่วิ่งกลนะครับ โดยการตั้งโปรแกรมแบบ Interval ใน Polar Flow แล้ว Sync เข้ากับนาฬิกาครับผลที่ได้ก็คือ Heart Rate โดยวัดจากข้อมือ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเสถียร เมื่อเทียบกับแบบ Chest Strap นะครับ



โปรแกรมกมาฝึกแบบ Interval Training โดยการตั้งค่า Zone ของการฝึกครับ อัตราการเต้นของหัวใจค่อนข้างคงที่นะครับ แต่เนื่องด้วยผมเซตโซนล่าง : โซนบน 1:2 จะเห็นได้ว่า อัตรการเต้นของหัวใจของผมยัง Recovery ไม่เต็มที่ครับ (คราวหน้าต้องเพิ่มระยะเวลาพักให้มากหน่อย)

อันนี้เป็นการลองวิ่งในสนามจริงดู ผมลองทำการวิ่งมีการเปลี่ยนเลนในการวิ่งครับ แสดงถึงความละเอียดและความแม่นยำของจีพีเอสนะครับ ตำแหน่งนั้นใกล้เคียงกับการวิ่งจริง แม้สถานที่ที่ผมวิ่งจะเป็นโรงเรียน มีอาคารสูง ก็มีผลต่อ ระยะทางน้อยมากครับ




สรุป การออกแบบ M430 นั้นออกแบบมาใช้งานง่าย ฟังก์ชั่นไม่ซับซ้อน แต่สามารถตอบทุกความต้องการในการฝึกซ้อมได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นของ Fitness Test ในการวัดความก้าวหน้าของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต ของเรา อีกด้วยนะครับ ว่ามีการพัฒนาภายหลังจากการฝึกซ้อม มากน้อยเพียงใด ถ้าท่านอยากให้ผมลองรีวิว ฟังก์ชั่นอื่นๆเพิ่มเติมก็แจ้งไว้ได้นะครับ ผมจะรวบรวมมารีวิวให้ต่อไปครับ


แสดงหน้าจอโซนของการฝึกได้ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...