สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะเขียนถึงปัญหาของวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา สิ่งที่ผมเขียนนี้ผมเขียนจากข้อมูลที่ผมมีอยู่นะครับ ผิดถูกบ้างก็นำข้อมูลมาหักล้างกันนะครับ
สำหรับในช่วงที่ผ่านมานั้น มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์การกีฬา ในประเทศไทย ผุดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ มรภ และเอกชนนะครับ ท่านลองคิดดูกันเล่นๆ นะครับ ว่าในปีนึงๆจะมีบัณฑิตที่จบใหม่เข้ามาทำงานในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายกี่คน ต่อปี ถ้าเทียบกับวิชาชีพอื่นๆที่มีความต้องการชัดเจน อย่างแพทย์ และวิศวกร หรือสาขาอื่นๆ แล้วคนเหล่านี้จบมาจะทำอะไรกัน ในเมื่อความต้องการของอัตรากำลังทั้งทางภาครัฐ และ ภาคเอกชน มีจำกัด ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว นี่ยังไม่นับรวมการเปิดประชาคมอาเซียน ที่จะเกิดการถ่ายเทแรงงานในกลุ่มชาติอาเซียนอีกนะครับ
เท่าที่ผมติดตามข้อมูลดู บางแห่งรับนักศึกษากันหลักร้อย หรือหลักเกือบร้อย คนกันเลยทีเดียว ผมคิดว่าปัจจัยนึงคือ งบประมาณต่อหัวนิสิต ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังต้องการ เพราะเปรียบเสมือนเงินรายได้ของทางมหาวิทยาลัย นอกเหนื่อจากงบประมาณแผ่นดินที่มีอย่างจำกัดครับ งบประมาณเงินรายได้ ที่มหาวิทยาลัยจะสามารถใช้บริหารการจัดการเรียนการสอนได้ ยิ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน นี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงครับ รายได้หลักก็มาจากรายได้จากค่าเทอมของนักศึกษาเป็นหลักครับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมจำนวนของนักศึกษา ให้มีเพียงพอต่อบุคลากรและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน หรือ Teaching Lab นะครับ ผมเคยได้มีโอกาสไปดูการจัดการเรียนการสอนของประเทศในยุโรป ระดับปริญญาตรี มีนักศึกษาเพียง 20-40 คนต่อชั้นเรียนนะครับ ซึ่งแตกต่างกับมหาวิทยาลัยบ้างเราอย่างชัดเจน แต่ถึงกระนั้น อปกรณ์และอาจารย์ในหลักสูตรก็ยังเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนนะครับ หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่อย่าง โอเรกอนสเตท แม้จำนวนนักศึกษาทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพจะมาก แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ยังมีภาคเอกชนที่คอยสนับสนุนงบประมาณ เป็นบริษัทกีฬายักษ์ใหญ่ของโลกครับ
สิ่งที่ผมเขียนนั้นผมกำลังจะบอกว่า ลำพังรายได้จากค่าเล่าเรียนของนักศึกษานั้น มันไม่เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพหรอกครับ ตรงกันข้ามหากเรายิ่งรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นๆ เพื่อที่จะหวังเอาแต่รายได้เข้ามาในองค์กร มันก็จะแปรผกผันกับคุณภาพของบัณฑิต ยิ่งถ้าหากเราเร่งการผลิตบัณฑิตออกมาเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพของบัณฑิต (ท่านอาจจะบอกว่า มคอ คือ การควบคุมมาตรฐาน แต่เอาเข้าจริง มคอ ก็สามารถควบคุมได้ แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) บางแห่งมีหลักสูตรที่มีมาตรฐานแต่ถ้าเรามองในมิติของสิ่งอำนวยความสะดวก Facilities ต่างๆในการจัดการเรียนการสอน นั้นมีพอเพียงหรือไม่ วิทย์กีฬา บางแห่ง แลปปฏิบัติแทบจะนั่งเรียนในกระดาษ ถามว่าตรงตาม มคอ ไหม ตรงครับ แล้วเด็กหละ จะพัฒนาได้อย่างไร ที่จบออกมา หรือแม้กระทั่งการปกป้องวิชาชีพ ให้พ้นจากภัยคุกคามต่างๆ เช่น การเปิดเสรีอาเซียน การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว ล้วนเป้นสิ่งที่ยังไม่มีการดำเนินการเป็นรูปธรรม และยังขาดซึ่งหน่วยงานในการเข้ามาควบคุมมาตรฐานคุณวุฒิ เหมือนดั่งหน่วยงานอื่นๆ เช่น แพทยสภา สภาวิศวกร สภาการพยาบาล เป็นตั้น สำหรับวิชาชีพอื่นๆ ทั้งๆที่วิชาชีพวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เกี่ยวข้องกับคน ต้องฝึกคน ต้องเทรนการออกกำลังกาย ทำงานเกี่ยวกับคนเช่นกัน แต่ทุกวันนี้ยังไม่เห็นมีหน่วยงานใด เข้ามากำกับดูแลเลยครับ จะมีหน่วยงานไหนกล้าที่จะออกมาบอกว่า หลักสูตรนั้น หลักสูตรนี้ ของมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ ก็ยังไม่มี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น