ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องของจังหวะที่นักกีฬาส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกัน


นั่งดูมวยสากลสมัครเล่น ในปัจจุบันแล้ว ได้แต่นั่งเวทนา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกฏกติการการตัดสิน ตลอดจน ความไม่มีมาตรฐานในการตัดสินเชิงประจักษ์ ทำให้นักกีฬาและโค้ช เกิดความสับสน และไม่รู้แนวทางที่จะชก ต่อยอย่างไรให้ชนะ เพราะบางทีเป็นฝ่ายเดินเข้าหา มี หมัดเข้าเป้ามากกว่า แต่ผลออกมากลายเป็นแพ้ และทำให้นักมวยมีเริ่มไม่มั่นใจในสไตลล์ของตัวเองว่าต่อยถูกต้อง วางแผนถูกต้องหรือไม่
วันนี้ผมขออนุญาตนำบทความเก่าๆ ที่ผมเขียนสมัยปาเกียว ปราชัย ให้กับ ฟลอยด์เมเวเธอร์ โน้น และล่าสุด สว เกียว ก็ปราชัยให้กับเจฟฟ์ ฮอร์น อีกครั้ง (เรื่องโดนปล้นชัยชนะก็ไปว่ากันต่อไปนะครับ) แต่วันนี้ขออนุญาตพูดเกี่ยวกับเรื่องของจังหวะการเคลื่อนไหว (Rhythm) จังหวะการเคลื่อนไหวนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในกีฬาต่อสู้ทุกชนิด เพราะจังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นจะเป็นตัวควบคุมแผนกลยุทธ์ทั้งหมดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการรุก การรับ หรือการรอสวนกลับ ก็แล้วแต่ นักกีฬาจะต้องมีจังหวะแทบทั้งสิ้น จังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นก็เป็นการทำงานประสานกันของระบบประสาท (สมอง+ตัวรับความรู้สึก )และกล้ามเนื้อ(Response) นะครับ ท่านผู้อ่านเคยสังเกตไหมครับ ว่า เมื่อนักกีฬาโดนอาวุธของคู่ต่อสู้มีอาการ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง (Brain Concussion) การเคลื่อนไหวและการตอบสนองก็จะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นเพราะว่า สมอง หรือ ระบบประสาทส่วนกลางนั้นเป็นตัวสั่งการการเคลื่อนไหวนั่นเองครับ แต่ก่อนที่จะรู้ได้ว่าจะต้องเคลื่อนไหวอย่างไรนั้น นักกีฬาก็จะต้องมีการฝึกระบบประสาทสัมผัสนะครับ ระบบประสาทสัมผัสที่ผมพูดถึงก็คือ ตา หู จมูก และการรับความรู้สึกเจ็บ ปวด พวกนี้จัดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกแทบทั้งสิ้น เมื่ออวัยวะรับได้รับการกระตุ้น จากสิ่งเร้า (Stimulus) ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น เสียง กลิ่น หรือความรู้สึก ที่โดยรวมๆเราเรียกว่า สิ่งเร้า (Stimuli) อวัยวะต่างๆก็จะทำการส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เพื่อประมวลผลและตัดสินใจ ให้เกิดการเคลื่อนไหว ระยะเวลาตั้งแต่รับความรู้สึกจากสิ่งเร้าเข้าไปจนถึงการตอบสนองเราเรียกว่า เวลาตอบสนอง (Responded Time) ส่วนระยะเวลาตั้งแต่รับความรู้สึกจากสิ่งเร้า ไปจนเริ่มมีการตอบสนองเราเรียกว่าเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Time) นะครับ ดังนั้น เวลาปฏิกิริยา +เวลาตอบสนอง (การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ,อวัยวะ) =เวลาปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย
วันนี้ผมขออนุญาตนำบทความเก่าๆ ที่ผมเขียนสมัยปาเกียว ปราชัย ให้กับ ฟลอยด์เมเวเธอร์ โน้น และล่าสุด สว เกียว ก็ปราชัยให้กับเจฟฟ์ ฮอร์น อีกครั้ง (เรื่องโดนปล้นชัยชนะก็ไปว่ากันต่อไปนะครับ) แต่วันนี้ขออนุญาตพูดเกี่ยวกับเรื่องของจังหวะการเคลื่อนไหว (Rhythm) จังหวะการเคลื่อนไหวนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในกีฬาต่อสู้ทุกชนิด เพราะจังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นจะเป็นตัวควบคุมแผนกลยุทธ์ทั้งหมดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการรุก การรับ หรือการรอสวนกลับ ก็แล้วแต่ นักกีฬาจะต้องมีจังหวะแทบทั้งสิ้น จังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นก็เป็นการทำงานประสานกันของระบบประสาท (สมอง+ตัวรับความรู้สึก )และกล้ามเนื้อ(Response) นะครับ ท่านผู้อ่านเคยสังเกตไหมครับ ว่า เมื่อนักกีฬาโดนอาวุธของคู่ต่อสู้มีอาการ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง (Brain Concussion) การเคลื่อนไหวและการตอบสนองก็จะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็เป็นเพราะว่า สมอง หรือ ระบบประสาทส่วนกลางนั้นเป็นตัวสั่งการการเคลื่อนไหวนั่นเองครับ แต่ก่อนที่จะรู้ได้ว่าจะต้องเคลื่อนไหวอย่างไรนั้น นักกีฬาก็จะต้องมีการฝึกระบบประสาทสัมผัสนะครับ ระบบประสาทสัมผัสที่ผมพูดถึงก็คือ ตา หู จมูก และการรับความรู้สึกเจ็บ ปวด พวกนี้จัดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกแทบทั้งสิ้น เมื่ออวัยวะรับได้รับการกระตุ้น จากสิ่งเร้า (Sti ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น เสียง กลิ่น หรือความรู้สึก ที่โดยรวมๆเราเรียกว่า สิ่งเร้า (Stimuli) อวัยวะต่างๆก็จะทำการส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เพื่อประมวลผลและตัดสินใจ ให้เกิดการเคลื่อนไหว ระยะเวลาตั้งแต่รับความรู้สึกจากสิ่งเร้าเข้าไปจนถึงการตอบสนองเราเรียกว่า เวลาตอบสนอง (Responded Time) ส่วนระยะเวลาตั้งแต่รับความรู้สึกจากสิ่งเร้า ไปจนเริ่มมีการตอบสนองเราเรียกว่าเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Time) นะครับ ดังนั้น เวลาปฏิกิริยา +เวลาตอบสนอง (การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ,อวัยวะ) =เวลาปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย




ภาพแสดงเวลาปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อเวลาตอบสนองนั้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้นะครับ
1. อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นเวลาตอบสนองก็จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ เนื่องจากการทำงานของสมอง
2. เพศ เพศชายจะมีเวลาปฏิกิริยาตอบสนองได้เร็วกว่าเพศหญิง
3. ประสบการณ์ ที่ได้รับก่อนหน้า เช่น การเป็นนักกีฬา ก็จะมีเวลาปฏิกิริยาตอบสนองดีกว่าคนปกติทั่วไป
สำหรับนักกีฬาในระดับโลกนั้น จะมีเวลาตอบสนองที่สั้นมาก คือ จะใช้เวลาตั้งแต่ได้รับสิ่งเร้าจนเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้สั้นมาก ความสำคัญของเวลาตอบสนองจึงจำเป็นอย่างยิ่ง นะครับ ในกีฬาระดับโอลิมปิค เช่น นักกีฬาสองคน คนแรกมีเวลาตอบสนองสั้นกว่า นักกีฬาคนที่สอง นั่นคือ เมื่อนักกีฬาคนแรกเห็นอาวุธของคู่ต่อสู้เข้ามา ก็จะมีเวลาตัดสินใจที่จะตอบโต้ หรือ จะหนี ได้เร็วกว่า เหมือนกับในการชกมวยระหว่าง ฟลอยด์ เมเวเธอร์ กับ แมนนี่ปาเกียว ที่ฟลอยด์นั้นมีเวลาตอบสนองที่สั้นกว่า จึงตัดสินใจได้เร็วกว่า ปาเกียวที่จะทำอะไร ในขณะที่ปาเกียว ตัดสินใจได้ช้ากว่าฟลอยด์ นั่นเอง หน่วยของเวลาตอบสนองนั้นมีหน่วยเป็น วินาที หรือ มิลลิวินาที (ms) แล้วมันจะเกี่ยวยังไงกับจังหวะของการเคลื่อนไหว แน่นอนว่าเวลาปฏิกริยาตอบสนองนั้นมีผลต่อจังหวะของการเคลื่อนไหวโดยตรง เพราะการตอบสนองในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวใดๆนั้น ก็ย่อมอยู่บนฐานของเวลาแทบทั้งสิ้น หรือพูดกันคือ จังหวะฝีมือ
ฟุตเวิร์ค เป็นตัวกำหนดจังหวะที่สำคัญ แต่ตัวที่สั่งฟุตเวิร์ค นั้นก็คือระบบ ประสาทและกล้ามเนื้อ (Co-Ordination) สิ่งที่จะทำให้นักมวยมีเวลาปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีขึ้นนั้นประกอบด้วย
1. การอบอุ่นร่างกาย การอบอุ่นร่างกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จะทำให้นักกีฬามีการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพทางด้านเวลาตอบสนอง การอบอุ่นร่างกายไม่ใช่การทาด้วยน้ำมันมวยนะครับ
2. การฝึกจิตใจ การฝึกจิตใจในเรื่องของการผ่อนคลายและการจินตภาพ เพื่อฝึกให้สมองสามารถสั่งการกล้ามเนื้อได้ สามารถฝึกได้ตลอดเวลา เพราะเป็นการฝึกที่ง่ายที่สุดครับ และไม่เหนื่อย
3. การฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง เช่นการฝึกด้วย การต่อยเป้า การฝึกด้วยตารางเก้าช่อง การฝึกด้วยบันไดลิง หรือแบบฝึกอื่นๆอีกมากมาย
4. ขนาดของกล้ามเนื้อที่ใหญ่มากเกินไป จะเป็นอุปสรรคสำหรับการเคลื่อนไหวเช่นกัน ในการฝึกพลัยโอเมทริค ถ้านักกีฬามีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ แต่ไม่มีการฝึกระบบประสาท ควบคู่ไปด้วย ทำให้ระดับของกระแสประสาทส่งไปยังกล้ามเนื้อไม่พอ ก็จะทำให้เกิดการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวได้ช้าเป็นต้น
ยังรวมไปถึงการรักษาสมดุลของร่างกาย และการกระทำการเคลือ่นไหวในลำดับต่อไป อีกนะครับ หรือที่เรียกว่า Sequence เพราะในกีฬาต่อสู้ การประมวลผลเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกิดขึ้นตลอด ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปครับ ถ้านักกีฬาใช้เวลาในการประมวลผลนาน ย่อมไม่ส่งผลดีกับนักกีฬาแน่นอน ดังนั้น จากแผนภาพของ Hick ‘s Theory จึงเป็นแนวทางให้กับผู้ฝึกสอนในการเลือกและจำกัดสิ่งเร้าที่จะรับเข้ามาประมวลผลสำหรับการเคลื่อนไหวดูครับ ถ้านักกีฬาสามารถเลือกเฉพาะสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวได้ มีสมาธิ สามารถโฟกัสเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น การตอบสนองก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วนะครับ ไม่เพียงเฉพาะในกีฬาต่อสู้นะครับ แต่สามารถไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกๆกีฬาและการออกกำลังกาย



แผนภูมิแสดงผลของสิ่งเร้าต่อเวลาปฏิรกิริยาตอบสนอง ยิ่งจำนวนของสิ่งเร้ามากเท่าใด ร่างกายก็จะใช้เวลาการตอบสนองมากขึ่นเท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่