ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภูเก็ตโมเดล ความชัดเจนที่ยังคลุมเครือ

จากผลกระทบในช่วงโควิด 19 ที่ผ่านมา หลายธุรกิจต่างก็มักจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หนึ่งในนั้นก็คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว แม้รัฐจะมีแคมเปญ ไทยเที่ยวไทย ที่ออกมาช่วยภาคการท่องเที่ยว แต่ก็เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น เท่านั้น ที่จะทำได้ 


จังหวัดภูเก็ตก็เป็นจังหวัดนึงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 แน่นอนว่า ธุรกิจหลายอย่างต้องปิดตัวลง เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เข้ามาใช้บริการ ไม่ใช่แค่เกิดแค่จังหวัดภูเก็ตอย่างเดียวเท่านั้น แต่หลายจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่ต้องรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็ต่างได้รับผลกระทบ จากวิกฤตนี้เช่นกัน เมื่อเดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสไปยังเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี ก็ไม่ต่างอะไรกับภูเก็ต ธุรกิจต่างๆก็ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะธุรกิจ การดำน้ำ ที่ส่วนใหญ่มักจะคอยบริการชาวต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบ และเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านค้า ต่างๆ เป็นลูกโซ่ ยาวๆ 

ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lock Down ปิดประเทศ ของภาครัฐ มาวันนี้ลมหายใจแห่งภูเก็ตกำลังรวยริน ถ้าหากยังไม่มีมาตรการอะไรก็ตามออกมาจากภาครัฐ ทั้งที่ประชาสังคม ก็ต่างต้องหาทางช่วยเหลือตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นมาตรการระยะสั้น เพราะรายได้หลักของธุรกิจในภูเก็ตก็ยังต้องพึ่งพาชาวต่างชาติเป็นหลักอยู่ดีนั่นเอง 

ผมลองค้นหาแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ และพอจะมาปรับใช้ได้ นั่นก็คือ Swedish Model ที่นักระบาดวิทยาชาวสวีเดน Anders Tegnell เสนอแนวคิดที่เรียกว่า การผ่อนคลาย Relax Stratergy กล่าวคือ แทนที่จะให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่กระจาย ซึ่งนั่นไม่สามารถที่จะหยุดเชื้อได้ แต่เราจะให้ความสำคัญกับการผ่อนปรน และดูแลผู้ที่ติดเชื้ออย่างเหมาะสม แทนที่จะใช้มาตรการปิดเมือง เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่การผ่อนปรน จะช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ 

แน่อนว่า แนวคิดของ Swedish Model ถ้าเรานำเข้ามาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยวลงย่อมเป็นไปได้ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ การกำหนด State Quaranite อย่างเป็นระบบ ที่ราคาไม่สูงเกินเอื้อม ก็เป็นทางหนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามา หรือการพิจารณาทบทวนมาตรการ Travel Bubble ที่เราจะยอมให้เฉพาะบางประเทศในการเดินทางเข้าหากันได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะต้องถูกนำมาทบทวน สำหรับภูเก็ต และการท่องเที่ยว ยิ่งต้องมีระบบ ปล่อยให้เกิด Herd Immunity แบบควบคุมได้ นี่คือหัวใจสำคัญที่สวีเดนไม่ต้องล็อคดาวน์ และเศรษฐกิจก็ยังขับเคลื่อนเดินต่อไปได้ 

เน้นรูปแบบการท่องเที่ยวแบบ Long Stay สำหรับชาวต่างชาติ

ธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ Long Stay ที่จะต้องมีการอยู่ยาว เช่น Nursing Home, สถานที่ฝึกซ้อมสำหรับทีมกีฬา หรือ สถานที่เก็บตัวสำหรับนักกีฬา เป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ เนื่องจาก ช่วงที่ภูเก็ตมีการเปิดฤดูกาล นั้นตรงกับช่วงหน้าหนาวของยุโรปพอดี ดังนั้น ธุรกิจนี้ จึงมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และสามารถสร้างรายได้ ให้กับจังหวัดภูเก็ต ได้เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คือ กลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และอยู่ในเมืองไทยเป็นะระยะเวลานาน ดังนั้น การจับจ่ายใช้สอย ก็จะเกิดขึ้นมาก คนกลุ่มนี้ จะอยู่กันเป็นเดือนๆ เพราะค่าครองชีพ ในประเทศไทย นั้นถูกมากนั่นเอง

สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงไม่แพ้กันนั่นก้คือ การเเพิ่มขีดความสามารถในการบริการทางสาธารณสุข ให้กับจังหวัดแถบอันดามัน

สร้าง Cash Flow ให้กับอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการขนส่งคน

    แน่นอนว่า การเดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการเดินทาง ปะกอบกับการบินไทย ก็เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ ทำไมไม่ใช้การบินไทยในการสร้างการขนย้าย ประชากร ไปยังจังหวัดต่างๆเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว เช่น โปรโมชั่น ตั๋วราคาถูก แพคเกตสำหรับ Travel bubble ซึ่งถ้าทำได้ จะเป็นการเพิ่มช่องทางการหาเงิน มาเพิ่มสภาพคล่องให้กับการบินไทย ไปจนกระทั่งธุรกิจรถทัวร์ รถโดยสารท้องถิ่น ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเกิดความสะดวกสบาย ไปยังพื้นที่ท่องเที่ยว 

พัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ Local สำหรับลูกค้าคนไทย

ผมเชื่อว่าจังหวัดภูเก็ตนั้นเป็นที่ที่คนไทยหลายคนอยากไป และอยากจะใช้เวลาในการพักผ่อน ดังนั้น การพัฒนาเพื่อเพิ่มช่องทางให้กับการเข้าถึงบริการของคนไทย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก เช่น ผมอยากจะใช้บริการรีสอร์ทระดับหรู ในภูเก็ต คุณก็จะสามารถได้ใช้ คุณอยากเล่นกีฬา เช่น ไตรกีฬา กีฬาทางน้ำ ก็มีให้บริการอย่างทั่วถึง นี่ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของเม็ดเงิน ไปจนถึงอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา สำหรับคนไทย นั่นเอง รวมทั้ง อีเวนต์ต่างๆ การจจัดการแข่งขันกีฬาก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน 

แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย 

เดือนตุลาคมนี้จะเข้าสู่ฤดูกาลเปิดการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันแล้ว ถ้ารัฐบาลยังไม่ทำอะไร ผมว่า เศรษฐกิจก็จะมีแต่แย่ลง และภูเก็ต รวมทั้งหลายเมืองการท่องเที่ยวก็จะเข้าขั้นวิกฤตอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...