ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความล้มเหลวในการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยของผม


 University of Taipei - Wikipedia

หลังจากกลับมาจากเรียนต่อจากต่างประเทศ ตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองมีไฟแรงอย่างมาก หวังที่จะเอาความรู้ที่ไปเรียนยังเมืองนอกเมืองนา กลับมาสอนเด็กที่บ้านเรา แต่เรานั้นลืมไปว่าเด็กที่นี่ช่างแตกต่างกับต่างประเทศมากนัก สังคมที่อ้าปากรอป้อนและไม่เคยแสวงหาความรู้ความจริง ทำให้ กระบวนความคิดของเด็กบ้านเราเคลื่อนตัวไปได้อย่างช้ามาก 

การที่เราจะพัฒนาความคิดของเรานั้น ก็ต้องมาจากการที่เราจะต้องฝึกระบบความคิด เราจะต้องมีข้อมูลมากพอที่จะทำให้เรานั้นคิดตาม ข้อมูลได้มาจากอะไร าส่วนใหญ่แล้วข้อมูลนั้นจะได้มาจากการอ่าน การศึกษาด้วยตัวเอง เป็นส่วนมาก ถ้าเราไม่อ่านหนังสือ เราก็จะไม่สามารถเข้าไปสู่แหล่งความรู้ ที่จะเอามาใช้ในการคิด การประยุกต์ได้ 

ดังนั้นการสอนของผม จึงตั้งใจที่จะให้เป็นระบบที่ทำให้เด็กนั้นรู้จักขวนขวาย เราไม่บอกเขาทุกอย่าง แต่เราจะรอดูว่าเขาจะมีคำถามหรือ มานำเสนอ มาพูดคุยกับเราหรือไม่ แต่เปล่าเลย ไม่มีจริงๆ

ที่สำคัญผมรู้สึกว่าตัวเองรู้สึกล้มเหลว เมื่อนิสิตมาบอกว่าอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง ผมกลับมานั่งทบทวนเนื้อหา อยู่หลายวัน นั่งดูแล้วดูอีก มันก็เนื้อหาชุดเดียวกับที่เราสอนเด็กที่ต่างประเทศนี่หว่า แต่ทำไมเด็กที่ต่างประเทศเขาเข้าใจและมีฟีดแบคที่ดี ในขณะที่เด็กบ้านเราบอกว่าสอนไม่รู้เรื่อง 

Photos at 臺北市立大學天母校區University of Taipei Tienmu Campus - Shìlín Qū -  士林區忠誠路二段101號

ผมพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองในการปรึกษาผู้รู้ทั้งในและต่างประเทศ ที่เชี่ยวชาญเรื่องการสอน ผลก็คือ เด็กของบ้านเราที่ผมสอนนั้น ยังไม่สามารถเชื่อโยง และคิดได้อย่างเป็นระบบ นี่คือปัญหาจริงๆของการศึกษาไทย แต่ก็ยังมีเด็กๆอีกหลายคนที่ผมสอนก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานต่างๆออกมาได้ดี 

ส่วนที่ผมพลาดนั้นก็คือ ผมไม่ได้ประเมินศักยภาพของเด็กก่อนที่จะสอนพวกเขา ครูที่ดี จะต้องสอนให้เด็กทุกคนเข้าใจ ไม่ใช่สอนให้เข้าใจเฉพาะบางคน นั่นเป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้และนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป บางครั้งการสอนเนื้อหาที่ยากเกินไป เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนิสิต นักศึกษา แต่ตรงกันข้ามเลย เนื้อหาที่ท้าทาย ความรู้ใหม่ๆ นั้นอาจจะไกลเกินไปสำหรับพวกเขา มันก็มีสองทางเลือกนะ ทางแรกคือ เราจะรักษามาตรฐานของเราไว้ หรือ เราจะกดมาตรฐานของเราลงมา หลายที่ยอมลดมาตรฐานลงมา แต่ผมเลือกที่จะรักษามาตรฐานไว้ แต่เพิ่มเรื่องของการอธิบายเพิ่มเติมให้ฟัง 

"ผมคิดว่าปัจจุบันนิสิตมีความรับผิดชอบลดลงนะ" คำพูดที่ออกมาจากปากของอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายๆท่าน ความรับผิดชอบนั้นเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผมคิดว่าสมมติฐานนี้จริง หลังจาก COVID-19 ระบาด ทุกมหาวิทยาลัยปรับรูปแบบการเรียนการสอน มาเป็น การสอนออนไลน์ ที่น่าตกใจคืออัตราการส่งงานล่าช้า เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง การเข้าเรียนแบบสอนสดออนไลน์ ลดน้อยลง และอัตราการเข้าเรียนไม่ตรงเวลานั้นมีมากขึ้น แน่นอนว่านิสิตกำลังปรับตัว แต่นี่เทอมที่สองแล้ว จากสถิติก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น นั่นผมคิดว่าน่าจะเป็นนิสัย และความเคยชิน Habit แล้วครับ มหาวิทยาลัยอาจจะเป็นแค่สถานที่ที่มาเรียนแล้วเอาวุฒิ มากกว่าการพัฒนาตัวเองแล้วกระมั้งก่อนจะจบฝาก เป็นเพลงเถื่อนแห่งสถาบัน โดย วิทยากร เชียงกูร

ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน
บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
คนเดิน ผ่านไป มา
กันเขาด้น ดั้นหา สิ่งใด

ปัญญา มีขาย ที่นี่
หรือจะแย่ง ซื้อได้ ที่ไหน
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคา เท่าใด
จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา

ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้
ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา
ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย

นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม
มหาวิทยาลัย ใหญ่ โตเหวย
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย
วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย

ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว

มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง
ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยวเดินหา
ซื้อปัญญา จนหน้าเซียวเทียวมา
เทียวไป ไม่รู้วันดอกหาง

นกยูง สีแดงฉาน
บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน
จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...