ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เกณฑ์ทหาร หรือจะคิดนอกกรอบสำหรับกองทัพ

ช่วงนี้กำลังฮิตกันเรื่องของการรณรงค์การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ซึ่งอาจจะไปสั่นคลอนถึงระบบอำนาจนิยม เหมือนสุนัขที่กำลังหวงชามข้าวของตัวเอง แม้อาหารนั้นจะอร่อยหรือไม่ก็ตาม และประจวบเหมาะกับเรื่องของการทะเลาะวิวาทกันนะรหว่างอเมริกา กับ อิหร่านนั้นเอง 


Image result for ballistic missile us sky



การรบในสมัยปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีช่วยรบมากมายในปัจจุบัน ระดับสกิลของกำลังพลนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เอาง่ายๆ แค่คุณจะหานักบินรบ ในกองทัพ ส่วนใหญ่ก็มาจากพวกที่จบโรงเรียนนายเรืออากาศ แล้วไปเรียนต่อนักบิน คนเหล่านี้เป็นระดับหัวกะทิของกองทัพเลยนะครับ ถามว่า พอมีไลเซนส์นักบินแล้ว เขายังขับเครื่องบินรบให้กองทัพ อีกไหม คนส่วนใหญ่เลือกที่จะลาออกไปเป็นนักบินให้กับบริษัทเอกชนบ้าง เพราะอะไรหน่ะหรือครับ ก็เพราะความเสี่ยงกับ รายได้ มันอาจจะไม่ได้ไปด้วยกัน นั่นเอง 

Image result for military revolution

แม้กระทั่งทหารบก ถามว่า่รายได้ของทหารระดับนายพลส่วนใหญ่มาจากอะไร มาจากเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง มันเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอ คงไม่ต้องไปนั่งเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ หรือ ที่ปรึกษาของบริษัทเอกชนหรอกนะครับ เท่าที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นได้ว่า แม้ขนาดคนที่อยู่ในกองทัพเอง ยังต้องหาลำไพ่พิเศษเลย นั่นแสดงว่าเงินเดือนของข้าราชการทหาร เราไม่เพียงพอ ส่วนจำนวนนั้นพูดยากนะครับ เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่เคยมีใครทำการศึกษาถึงเรื่องของ Efficiency หรือประสิทธิภาพของกองทัพไทย การหาประสิทธิภาพของกองทัพไงครับ การที่เราจะดู Efficiency นั้นคงต้องหาคนที่เชี่ยวชาญทั้งด้านการบริหาร รัฐศาสตร์และ Data Analytics มาช่วยทำการวิเคราะห์นะครับ ถ้าเราไม่ทำการวิเคราะห์ผลที่ได้ก็คือ ขนาดกองทัพที่มีขนาดใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆและเบียดบังงบประมาณในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญเมื่อกองทัพมีขนาดใหญ่ ทำให้ Line of Command ยาวขึ้น การขยับอะไรแต่ละทีก็จะช้าลงครับ 
Related image

ทุกวันนี้กองทัพไทยยังไม่เคยถูกทดสอบจากต่างประเทศ ครับ เรายังไม่เคยต้องรบกับใคร แน่นอนครับแม้ไม่รบก็ต้องเตรียมให้พร้อมครับ แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวหน้ามาก มีทั้ง iOT มีทั้งระบบเน็ตเวิร์ค ที่ทันสมัย และคงจะต้องถึงเวลาในการดึงคนเก่ง คนมีความสามารถเข้ามาช่วยพัฒนากองทัพ มากกว่าการผูกขาดจากสถาบันที่มีมาเก่าแก่ มากกว่าแต่ก่อน เราจะเห็นในประเทศต่างๆ กองทัพเริ่มลดจำนวนกำลังพลลง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ที่เริ่มใช้ระบบต่างๆเข้ามาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ อังกฤษมีการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของกำลังพล อเมริกาก็เช่นเดียวกัน โดยการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาเพิ่มขึดความสามารถของกำลังพลในกองทัพ การทดสอบสมรรถาพทางกายของกำลังพล การฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้กลับมารบได้อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการดึงศักยภาพจากคนนอกกองทัพแทบทั้งสิ้น

Image result for russian nuclear submarine murmansk


ในมิติของการพัฒนายุทโธปกรณ์ มีการดึงภาคเอกชนเข้าไปช่วยในการพัฒนา เช่น ระบบ DOD ของสหรัฐอเมริกา ใช้บริษัทเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านการทำโปรเจคต์พิเศษ ทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกา ในการออกแบบระบบการป้องกันขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM ที่มีโครงข่ายซับซ้อนและครอบคลุมทั้งประเทศ การออกแบบยุทโธปกรณ์สำหรับการรบในทะเลทราย การออกแบบอากาศยานไร้คนขับ และระบบการควบคุมระยะไกล เป็นต้น 
Related image

การที่จะปฏิรูปกองทัพของประเทศไทยนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้องยอมรับก่อนนั่นก็คือ ศักยภาพที่แท้จริงของกองทัพประเทศเรา ถ้าเรายังพูดความจริง มันก็เป็นอุปสรรคในการพัฒนากองทัพ เหมือนคนที่เปี่ยมไปด้วยอีโก้ หรือน้ำที่เต็มแก้ว และไม่สามารถเติมอะไรลงไปได้อีก ความรู้ในการรบนั้นก็จะยังอยู่เหมือนเดิม และไม่มีทางที่กองทัพจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่กองทัพไทย จะต้องรู้จักหันกลับมามองตัวเอง ว่าเราพัฒนาดีพอหรือยัง ถ้ากองทัพเข้มแข็ง การทำงานด้านการทูตก็จะมีพลังมากขึ้น การเจรจาข้อพิพาท ทางแถบชายแดนตะวันออกของประเทศ คงไม่ปล่อยให้เขมร บุกรุกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตแดนไทย หรือแม้กระทั่งปัญหาไฟใต้คงจะดับได้มาตั้งนานแล้วนะครับ

การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร นั้น จริงๆแล้วมันก็มีหลายวิธีนะครับ ที่กองทัพสามารถทำได้ เราไม่ต้องเกณฑ์แต่ทุกคนต้องฝึกหลักสูตรพื้นฐาน นักศึกษาวิชาทหารก็เป็นวิธีการหนึ่ง ที่กองทัพจะต้องเพิ่มความเข้มข้นลงไป ผมเชื่อว่ากองทัพก็ต้องไปหาวิธีการพัฒนาหลักสุตรสำหรับพลเรือน และปรับวิธีการรีครูท กำลังพล ให้แรงจูงใจที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญต้องลดการเมืองในกองทัพลงด้วยนะครับ บางทีถ้าเราวางอคติลงสักนิด เราอาจจะได้โซลูชั่นที่ดีที่สุดและเหมาะสำหรับประเทศไทย และไม่ต้องไปเดินตามก้นฝรั่งก็เป็นได้นะครับ ถอยออกมาสักนิด เลิกสงครามน้ำลายแล้วประเทศไทยจะพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...