มีคนสอบถามมาใน Inbox มาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Maximal Running Shoes กับ รองแท้าวิ่งปกติ Traditional Running shoes ว่าอะไรที่เป็นองค์ประกอบว่า จะใช้ Maximal หรือ วิ่งปกติ ดี
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่า Maximal Running shoes คือ รองเท้าที่มีการเพิ่มความมั่นคงของบริเวณกลางเท้าไปจนถึงเส้น ยี่ห้อที่มีตามท้องตลาดก็จำพวก H กับ Sk นั่นเอง ครับ โดยผู้ผลิตบอกว่าจะเป็นรองเท้าที่ช่วยควบคุมการวิ่งให้ได้ดียิ่งขึ้น และมีส้นที่หนา นั่นเอง เมื่อมีการเพิ่มระบบในการถ่ายเทแรงกระแทกแล้ว จะทำให้มีการกระจายของแรงกระแทกบริเวณเท้าได้มาก นั่นก็คือแรงกระแทกก็จะไม่ส่งไปยังกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ นั่นเอง มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง Maximal Running shoes และ Traditional Running Shoes พบว่า Loading Rate หรือ อัตราของแรงที่โหลดลงขณะวิ่ง ในกลุ่มที่ใช้ Maximal Running shoes นั้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ใช้รองเท้าวิ่งปกติ ถามว่า Loading Rate ส่งผลอย่างไรต่อการวิ่ง Loading Rate ก็คือจังหวะที่เท้าสัมผัสพื้น บางคนอาจจะเกิด Heel Strike ส้นลงก่อน หรือ ForeFoot Strike ก็เช่นเดียวกัน กลุ่มที่ใช้รองเท้ากลุ่ม Maximal พบว่ามีอัตราการลงน้ำหนักสูงกว่ากลุ่มที่เป็นรองเท้าปกติ
แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการ เช่น Kinematics ของการวิ่ง การลงน้ำหนัก ของกลุ่มตัวอย่าง นักวิ่งที่ถูกจัดเป็นพวกกลุ่มที่เอาส้นลงก่อนนั้นจะเกิดแรงกระแทก และอัตราการรับโหลดที่สูงกว่า เมื่อใช้รองเท้าแบบ Maximal Shoes ในการวิ่ง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ที่จะมีการเปลี่ยนจากรองเท้าวิ่งแบบปกติไปเป็นรองเท้ากลุ่ม Maximal Shoes ควรฝึกดริล และเทคนิคในการวิ่งให้ดีเสียก่อนที่จะมีการเปลี่ยนรองเท้า แต่เชื่อเถอะครับ ถ้าสำหรับคนไทย ประเด็นเรื่องของรองเท้ากับเทคนิคในการวิ่ง คงจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากกันอีกนาน การเลือกรองเท้าวิ่งนั้นมีองค์ประกอบมากมาย ไม่ใช่จะเลือกเพราะคนดังใส่ ดาราใส่ แต่ควรเลือกตามลักษณะของเท้า ท่าวิ่ง เทคนิคในการวิ่ง รูปแบบในการวิ่งของตัวคุณเองครับ เพราะเวลาเจ็บมา คนเหล่านั้นไม่ได้มาเจ็บกับเรานะครับ....อย่าถามผมว่า Maximal หรือ Minimal แต่ผมเลือกที่จะ Optimal นะครับ
Pollard, C. D., Ter Har, J. A., Hannigan, J. J., & Norcross, M. F. (2018). Influence of Maximal Running Shoes on Biomechanics Before and After a 5K Run. Orthopaedic journal of sports medicine, 6(6), 2325967118775720. doi:10.1177/2325967118775720
Photo by Rob Kerr / OSU Cascades FORCE Lab research on running shoe soles.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น