ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อวิศวกรรมย้อนรอย ถูกนำมาใช้กับกีฬา

เมื่อเช้านั่งเขียนงานวิจัยแล้วก็ไปสะดุดตากับเปเปอร์นึงที่เกี่ยวข้องกับกีฬาแบดมินตัน ที่ใช้การวิเคราะห์การเคลื่อนไวทางชีวกลศาสตร์ในการดูการทำงานของกล้ามเนื้อ ในขณะโดดตบ ของนักกีฬาแบดมินตัน เลยนั่งคิดเกี่ยวกับวิศวกรรมย้อนทาง ย้อนรอย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนานักกีฬาแบบทางลัด และ ก้าวกระโดดได้ สำหรับนักกีฬาไทย 


ในทางวิศวะ เรามีเทคนิคที่เรียกว่า วิศวกรรมย้อนรอย Reversed Engineer ซึ่งเมื่อไปค้นหาในวิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายว่า วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) คือ กระบวนการค้นหาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบหนึ่ง ๆ มักเกี่ยวข้องกับการแยกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ออกจากกัน (ได้แก่ เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์) แล้ววิเคราะห์การทำงานในแต่ละส่วน จากนั้นจึงนำมาสร้างอุปกรณ์ใหม่หรือโปรแกรมใหม่ ที่ทำงานได้เหมือนเดิม โดยปราศจากการคัดลอกจากต้นแบบ

วิศวกรรมผันกลับ เป็นวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐาน ที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (ในทางกลับกัน วิศวกรรม อาจถูกมองว่าเป็น 'วิทยาศาสตร์ย้อนกลับ' ก็ได้) วิชาชีววิทยาถือได้ว่าเป็น วิศวกรรมย้อนกลับของ'เครื่องจักรชีวะ' วิชาฟิสิกส์เป็นวิศวกรรมย้อนกลับของโลกทางกายภาพ
แล้วในกีฬาเราจะใช้วิธีการของวิศวกรรมผันกลับได้อย่างไร แนวคิดวิทยาศาสตร์การกีฬาย้อนทาง ถูกนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ ในหลายชนิดกีฬา ด้วยสาเหตุทีว่า บางประเทศนั้นมีนักกีฬาที่มีศักยภาพสูง และยากที่จะหาทางที่จะฝึกนักกีฬาไปให้ถึงสมมรถนะที่ต้องการได้ และตอนสุดท้ายผมจะพูดถึงสิ่งที่จะเป็นผลต่อกีฬาในอนาคต หากเรายังไม่ปรับตัวนะครับ

ปกติแล้ว ในวิทยาศาสตร์การกีฬา เราจะเอานักกีฬาเป็นตัวตั้ง แล้วเป้าหมาย หรือผลลัพธ์ ความสำเร็จเป็นตัวแปรตาม ซึ่งระบบนี้จะให้ความสำคัญกับวิธีการ Process เป็นอย่างมาก เพื่อให้ไปสู่ความสำเร็จ และระบบวิธีแบบนี้คือ เราจะเริ่มต้นจากนักกีฬาคนนึง จากนั้น เราก็จะต้องทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาคนนั้น เมื่อได้ผลการทดสอบแล้วเราก็จะมากำหนดเป้าหมายสำหรับนักกีฬาคนนั้น วางแผนการฝึกซ้อม Periodization และฝึกตาม Periodization ที่วางไว้ จะวางแผนเป็น Traditional หรือจะใช้บล็อค Block Periodization ก็สุดแท้แต่ค่ายว่าสังกัดค่ายไหน จากนั้นก็ฝึกไป และมีการทดสอบสมรรถภาพ ไปเรื่อยๆ แล้วจึงไปวางแผนตอนช่วงการแข่งขันอีกครั้งนึง เพราะปัจจุบันมีการค้นพบว่าโหลดของนักกีฬานั้นมีผลมาจากโหลดภายในตัวของนักกีฬา เอง และโหลดภายนอกก็คือโปรแกรมการฝึกซ้อม ที่มีการออกแบบโปรแกรมเป็นเชิงคิด หรือคาดว่า ไม่ได้เป็นการออกแบบโปรแกรมบนพื้นฐานของความเหมาะสม Optimization และเราจะเน้นการฝึกแบบเชิงเดี่ยว หรือ เชิงซ้อน แล้วอะไรคือข้อมูลสำหรับการออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมหละ ข้อมูลสมรรถภาพ ? ข้อมูลจากการทดสอบ ?---> วิธีการนี้เริ่มล้าสมัยแล้ว

แนวคิดของวิทยาศาสตร์การกีฬาย้อนรอย (ผันกลับ) เราจะเริ่มต้นที่ผลลัพธ์ หรือความสำเร็จของนักกีฬาในระดับโลก หรือเป้าหมายที่นักกีฬาของเราจะไปให้ถึงตรงนั้น แล้วย้อนกลับ มาแยกเป็น Performance Outcome ผลลัพธ์ของสมรรถนะของนักกีฬาคนนั้นในแต่ละด้านที่เราจะใช้ โดยการใช้ข้อมูลจากการทำการวิเคราะห์สมรรถนะทางการกีฬา Performance Analysis และชีวกลศาสตร์ จะช่วยให้เราทราบว่า เป้าหมายที่เราจะไปให้ถึงนั้น จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จากนั้น เราจะเริ่มต้นที่ การวิ่งเคราะห์ช่องว่าง ระหว่างนักกีฬาของเรา กับนักกีฬาที่เป็น Benchmark ของเราว่า สมรรถนะทางด้านต่างของเรายังห่างชั้น ในด้านใด และอะไร จะเป็นกุญแจสำคัญที่นักกีฬาของเราจะมีโอกาสประสบความสำเร็จเหนือคู่ต่อสู้ และยังรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ของนักกีฬาของเรา ที่จะส่งผลต่อความสำเร็จ เมื่อเรามีการทำการบ้านต่างๆเรียบร้อยแล้ว เราจะได้ โซลูชั่น และ แนวคิดที่เราจะเลือกใช้ ก่อนที่จะย้อนกลับไปสู่ โปรแกรมการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาที่มีลักษณะเฉพาะบุคคล Tailor's made periodization นั่นเอง ดังนั้นแนวคิดของวิทยาศาสตร์การกีฬาย้อนกลับเราจะให้ความสำคัญกับ ผลลัพธ์เป็นหลัก นะครับ ถ้าเราสามารถต่อยอดไปถึงในระดับการคัดเลือกนักกีฬาที่มีพรสวรรค์เลยคงจะดีไม่น้อย

แล้วทำไมถึงน่ากลัวสำหรับกีฬาของบ้านเรา ผมจะยกตัวอย่างเช่นกีฬามวยไทย สมัยก่อนเรามีศิลปะการต่อสู้ มวยไทย มีแม่ไม้มวยไทย ที่ยากจะหาใครจับได้ มีการฝึกซ้อมมวยที่ไม่เป็นรองใครในโลก แต่ในปัจจุบัน แม่ไม้มวยไทยทั้งหลาย ถูกฝรั่งใช้เทคนิคของวิทยาศาสตร์การกีฬาย้อนรอย นี่แหละครับ พัฒนาแบบฝึกต่างๆ และรู้ว่ากล้าเนื้อมัดไหนมีการทำงานอย่างไร นำข้อมูลเหล่านี้ไปออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อม พัฒนากลายเป็น Ulitmate Fighter:UFC, Mixed Martial Art:MMA ที่มีคนติดตามมากมาย สร้างมูลค่าการตลาดอย่างมาก ในขณะที่คนจัดมวยไทย นั่งดูตาปริบๆ และภูมิใจอยู่กับศิลปะประจำชาติไปวันๆ ที่นับวันจะเลือนหายตายจากไปกับตัวบุคคล

สำหรับโค้ชคนใดหรือใครอยากจะเอาเทคนิคนี้ไปลองใช้ ก็เชิญตามสบายเลยนะครับ หากมีใครมีข้อเสนอแนะเขียนมาคุยกันได้นะครับ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...