ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การฝึกที่ระดับความหนักสูงกว่าความสามารถสูงสุด Supra maximal Training ตอนที่ 1


         วันนี้จะขอสรุปเกี่ยวกับการฝึกแบบ Supramaximal Training ให้ฟังนะครับ ผมต้องออกตัวก่อนนะครับผมไม่ได้เป็นด็อกเตอร์ทางด้านสนรีรวิทยานะครับ อย่างไรถ้าหากผิดถูกประการใดก็ยินดีแลกเปลี่ยนนะครับ ก่อนอื่นท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงต้องมีการฝึกแบบ Supramaximal Training หรือการฝึกที่ระดับความหนักสูงกว่าปกตินะครับ เราลองมาดูกีฬาที่เห็นง่ายๆนะครับ อย่างกีฬาว่ายน้ำ ตีกรอบให้แคบลงก็อาจจะลงไปในระดับอาเซียนเรานะครับ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ผ่านมา นักกีฬาว่ายน้ำเองทำผลงานได้ไม่ตามเป้าหมายเสียเท่าไร ยิ่งถ้าออกไปในระดับเอเชีย ผลงานนี้ถูกมหาอำนาจทางด้านการกีฬาทิ้งแบบไม่เห็นฝุ่น ตรงกันข้าม นักกีฬาว่ายน้ำ ของประเทศญี่ปุ่น ทำไมทำสถิติดีวันดีคืน ผมขอตั้งโจทย์จากผลการแข่งขันแล้วกันนะครับ สมมติว่าเป็นการว่ายน้ำ 200 เมตรฟรีสไตลล์ สถิติ ของไมเคิลเฟลป์ อยู่ที่ 1:42.96 สำหรับของซีเกมส์ ของ Welson Sim อยู่ที่ 1:47.36 เราจะเห็นความแตกต่างของเวลาเกือบ 5 วินาที ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่า นักกีฬาทั้งสองคนว่ายที่ความสามารถ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้ารายังฝึกซ้อมแบบเดิมๆ ตามคอร์ทเดิมๆ นั่นคือ ไม่มีโอกาสได้เหรียญอะไรเลยในโอลิมปิคเกมส์นะครับ แสดงว่านักกีฬาสองคนนี้ที่ระดับความสามารถของ วิลสัน ซิม อาจจะเป็นแค่เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของเฟลป์ คราวนี้เราย้อนกลับมาดูทฤฎีการฝึกซ้อมนะครับ ในเรื่องของ Law of Overload กันบ้าง ที่เราให้ความหนักการฝึกซ้อมสูงๆ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนา นั่นแสดงว่าความหนักของการฝึกซ้อมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากนะครับ ในการกระตุ้นการพัฒนาของนักกีฬา สำหรับกีฬาที่ต้องการสถิติ เรามักใช้เวลาเป็นเสมือนเป้าหมายของนักกีฬา นะครับ ซิ่งจริงๆแล้วมันเป็นสิ่งที่หยาบเกินไปสำหรับการกำหนดการฝึกซ้อมได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นสรีรวิทยาจึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่งนะครับสำหรับการวางแผนการฝึกซ้อมได้อย่างแม่นยำ นอกจากการพัฒนาของสถิติแล้ว เราจะบอกได้ยังไงว่า สถิติที่พัฒนาขึ้นนั้น มันเกิดจากอะไร เทคนิค สมรรถภาพทางกาย หรือ จิตใจ นั่นเป็นการยากที่จะบอกได้นะครับ ดังนั้นเมื่อเราหาที่มาที่ไปไม่ได้ ตามหลักของเหตุผล เราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ โปรแกรมการฝึกซ้อมที่มีประสิทธิภาพจึงต้องออกแบบจากข้อมูลทางสรีรวิทยาของนักกีฬาคนนั้นๆ ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยของทีมครับ เช่น ในทีมมีนักกีฬาว่ายน้ำฟรีสไตลล์สามคน เราก็ควรจะออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เป็นเฉพาะบุคคลนะครับ สำหรับในกีฬาว่ายน้ำนั้น ระบบพลังงานที่เราใช้กันนั้นก็จะมีกันอยู่สองระบบใหญ่ๆ นะครับ คือ แอโรบิค ระบบพลังงานที่ใช้ออกซิเจนเข้าไปสร้างพลังงานจากการเผาผลาญอาหาร ส่วนอีกระบบหนึ่งก็คือ ระบบแอนแอโรบิคนะครับ เป็นระบบทีแทบจะไม่ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน แต่จะเกิด ผลผลิตขึ้นมานั่นก็คือแลคเตทที่จะส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาครับ ยิ่งถ้าแลคเตทมีมากเกินกว่าที่ร่างกายสามารถทนได้ นั่นก็จะส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาแน่นอนครับ ในกีฬาว่ายน้ำ จึงควรจะมีการวัดโหลดทางสรีรวิทยาในระหว่างการฝึกซ้อมด้วย การวัดการทดสอบการติดตามก็เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์นะครับ ถ้าเรามีข้อมูลยิ่งมาก เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด แต่ถ้าเราใช้ Verb to เดา ขึ้นมานอกจากจะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แล้ว ยังทำให้เกิดการสะสมของปัญหา ตามทฤษฎีของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งบางปัญหาเราเห็นเพราะมันเป็นยอดภูเขาน้ำแข็ง แล้วปัญหาที่อยู่ใต้ยอดภูเขาหละจะทำอย่างไร การทดสอบจึงเป็นหัวใจหลักที่สำคัญอย่างมากครับ ระบบพลังงานสำหรับการว่ายน้ำก็จะมีความแตกต่างกันนะครับ ประเภทสปรินท์ก็จะมีการใช้ระบบพลังงานแบบหนึ่ง ส่วนประเภทว่ายระยะไกล ก็จะใช้ระบบพลังงานอีกระบบหนึ่ง ดังนั้นกุศโลบายในการที่นักกีฬาคนหนึ่งจะกวาดทุกเหรียญนั้น คงจะเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องเข้าใจ และตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมครับ แนวคิดของ Supramaximal นั้นถูกประยุกต์มาจากงานวิจัยของศาสตราจารย์ ทาบาตะ ซึ่งแนวคิดก็คือ พยายามหาวิธีการฝึกซ้อมที่สามารถพัฒนาสมรรถภาพของนักกีฬาให้ได้สูงสุด ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหลักการก็จะคล้ายกับ High Intensity ที่ความหนักมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ครับ ความหนักที่ใช้ในการฝึกก็จะอยู่ที่ 135-180 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในการฝึกซ้อมที่ระดับความหนักสูงนั้นก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดนะครับ ก่อนที่จะต้องทำการฝึกซ้อมจะต้องมีการตรวจสภาพหัวใจ ทั้งฟังก์ชั่นการทำงาน และ โครงสร้างของหัวใจ ด้วยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo Cardiogram) เพื่อหาความผิดปกติของของระบบหัวใจก่อนนะครับ นักกีฬาส่วนมากไม่ค่อยจะได้ตรวจเสียเท่าไร ซึ่งจะพบความเสี่ยงเป็นอย่างมากนะครับ เมื่อมีการฝึกซ้อมที่ระดับความหนักสูงๆ สูงมาก นะครับ ดังนั้นถ้าเรามุ่งเป้าว่าจะต้องการความสำเร็จ ก็จะต้องใส่ใจกับเรื่องพวกนี้ด้วยนะครับ
เดี๋ยวพรุ่งนี้มาเขียนต่อนะครับ ตอนต่อไป


Image result for Japan Swimming Team

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่