ในกีฬาประเภทที่ต้องการความอดทนในระดับสูงๆ นั้น กรดแลคติก เป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายด้านความอดทน เช่นเมื่อเริ่มปั่นจักรยานเราจะมีความเร็วหนึ่งที่เราปั่นแล้วรู้สึกสบาย ไม่เมื่อยล้า แต่ถ้าเราเพิ่มความเร็วในการปั่น กล้ามเนื้อก็จะเริ่มล้านั่นเป็นเพราะเริ่มมีการสะสมของกรดแลคติก หากมีปริมาณสูงก็จะส่งผลต่อการลดลงของ พลังและความเร็วในการขี่จักรยานในนักจักรยาน ในนักวิ่งก็ทำให้เกิดการลดลงของฝีก้าวและความเร็วในการวิ่ง เป็นต้น ดังนั้นการทดสอบปริมาณาความเข้มข้นของกรดแลคติกสูงสุดในสภาวะที่คงที่จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อทำให้เราได้ทราบถึงความสามารถสูงสุดของเราในสภาวะที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของกรดแลคติก
โดยปกติแล้วเวลาเราทดสอบความอดทนเราจะใช้วิธีการเพิ่มความหนักในการทดสอบขึ้นไปเรื่อยๆ (Incremental Test) ในการทดสอบความสามารถของนักกีฬา หรือ การออกกำลังกาย ซึ่งโดยมากจะเป็นการหาปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด และจุดที่เริ่มมีการสะสมของกรดแลคติกในเลือด (Onset Blood Lactate Accumulation: OBLA) แต่แนวคิดของ MLSS คือการรักษาความหนักของงานสูงสุดให้ได้ในสภาวะคงที่ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของกรดแลกติกหรือยอมให้เพิ่มขึ้นได้น้อยกว่า 0.05 มิลลิโมลต่อลิตรต่อนาที ถ้าหากเกิดการสะสมของกรดแลคติกขึ้น จะทำให้ไม่สามารถรักษาระดับความหนักของการฝึกซ้อมหรือออกกำลังกาย มีการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจเป็นการเทียบแบบวันต่อวัน ของการเปลี่ยนแปลงของ พลัง และอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดที่มีปริมาณความเข้มข้นของกรดแลคติกสูงที่สุดในสภาวะคงที่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน(25 ± 3 years, 180 ± 7 cm, 76 ± 8 kg) ออกแบบการทดลองเป็น Time Course Analysis การวิเคราะห์บนพื้นฐานของเวลา โดยทำการเจาะกรดแลคติกที่บริเวณใบหู ในนาที ที่ 0,4,8, 10 ,14 ,18, 22, 26 และนาทีที่ 30 โดยการปั่นจักรยานที่ความหนักคงที่เป็นระยะเวลา 30 นาที พลังสูงสุดในการปั่นจักรยานนั้นคือ ค่าพลัง ที่สามารถรักษาได้ โดยไม่มีการสะสมของ ความเข้มข้นของกรดแลคติก มากกว่า 0.05 มิลลิโมลต่อลิตร ในช่วง 20 นาสุดท้ายซึ่งมีค่าพลังในการปั่นจักรยานอยู่ที่ 244 +/-45 วัตต์หรือประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของ VO2max ค่าเฉลี่ยอัตรากาเต้นของหัวใจอยู่ที่166 +/- 10 bpm จะเห็นได้ว่า ที่จุด MLSS ค่าของพลังและอัตราการเต้นของหัวใจนั้น มีลักษณะของการแปรปรวนแบบวันต่อวันต่ำกว่า ถ้าหากเปรียบเทียบกับแนวคิดของการใช้การวัดจุดเริ่มล้าในการออกกำลังกาย (Lactate Threshold Concept)
ดังนั้นการใช้ค่าปริมาณกรดแลคติกสะสมสูงสุด ที่สภาวะคงที่นั้น แสดงให้เห็นความแปรปรวนระหว่างวันได้น้อยกว่า คอนเซปต์ของการใช้จุดเริ่มล้าในการฝึกซ้อม ดังนั้นวิธีการทั้งสองวิธี ระหว่างการวัดจุดเริ่มล้า และ การวัดปริมาณการสะสมของแลคเตทสูงสุดที่สภาวะคงที จะไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันได้ กล่าวคือ ถ้าจะเลือกใช้วิธีการใด ก็ให้เลือกวิธีการหนึ่ง จะใช้ MLSS หรือ OBLA ก็ใช้ไปได้เลยครับ แต่ดูเหมือนว่าคอนเซปต์ของ MLSS จะใกล้เคียงกับกีฬาที่ต้องใช้ความอดทนมากกว่า OBLA ในการฝึกซ้อม ไม่ควรเอามาใช้เทียบกันนั่นองครับ สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาถึงก็คือ การเจาะเลือดเพื่อวัดปริมาณกรดแลคติก ถ้าเรามีช่วงห่่างมาก อาจจะทำให้ไม่ได้ค่าที่แม่นยำนักดังนั้นการออกแบบงานวิจัยแบบ Time Course Analysis จึงต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการวัดแต่ละช่วงเป็นอย่างมาก เคยมีการศึกษาชิ้นหนึ่งใช้การออกแบบการวิจัยเป็นแบบ Time Course แต่มีระยะห่างของการวัดที่มากเกินไป ทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะต้องวัดค่าทางชีวเคมี ในเลือด หรือ การทำไบออพซี่ ควรจะต้องมีการศึกษางานวิจัยก่อนหน้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยนะครับ เพื่อจะได้กำหนดจุดในการวัดได้อย่างใกล้เคียงมากที่สุดครับ
Hauser T, Bartsch D, Baumgärtel L, Schulz H. Reliability of maximal lactate-steady-state. Int J Sports Med. 2013 Mar;34(3):196-9. doi: 10.1055/s-0032-1321719. Epub 2012 Sep 12. PubMed PMID: 22972242.
ขอบคุณที่อ่านจนจบ!
Schet
ไม่ได้เรียน CSCS
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น