ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Yilan บนหลังอานจักรยาน ตอนที่ 1


      ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่ง สำนวนนี้เป็นสำนวนที่หลายคนได้ยึดถือปฏิบัติในเรื่อง
ของความพยายามเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเป็นคนที่จบทางด้าน พลศึกษาหรือด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ก็จะมีสุภาษิตบาลีโบราณว่า กยิราเจ กยิราเถนัง และสอดคล้องกับปรัชญาโอลิมปิค ที่ว่า Citius Altius Fortius  นั่นเองนะครับ ความท้าทางของผมได้เริ่มต้นอีกครั้ง หนึ่ง หลังจากนั่งเปิด Google Maps เพื่อหารูทขี่จักรยาน โดยปกติแล้วผมจะใช้เวลาว่างวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ใน
การขี่จักรยานเป็นประจำ รูทใกล้บ้าง หรือ รูทไกลบ้างแล้วแต่ความฟิตในขณะนั้นจะเอื้ออำนวย
    ช่วงนี้ผมก็ต้องเดินทางมาอยู่ที่ไทเป ประเทศไต้หวัน หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาแล้วบ้างในเรื่องของ
จักรยานที่ไต้หวัน กับเส้นทางจักรยานอันสวยงาม และธรรมชาติอันสวยงามของไต้หวัน
     สำหรับผมแล้ว การที่ได้ขี่จักรยานในไต้หวันนั้นเป็นโอกาสที่น้อยมากที่จะได้ทำ หากท่านมาในฐานของนักท่องเที่ยวนั่นเอง ผมชอบขี่จักรยานเพื่อศึกษาธรรมชาติ วิถีชีวิต และการดำเนินชีวิตของคนใน
เส้นทางที่จักรยานของผมได้ผ่าน บางทีก็ได้เข้าไปนั่งพูดคุยกับชาวบ้าน ในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ได้ข้อมูล
จากปราชญ์ชาวบ้านมาเติมเต็มการใช้ชีวิตของผมบ้าง
 
     ถ้าถามผมว่าขี่จักรยานเป็นแฟชั่นไหม
     ผมคิดว่าไม่เป็นแฟชั่นนะครับ แต่สำหรับคนที่จะเริ่มออกกำลังกาย จักรยานก็เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ดี สำหรับการเริ่มต้นในการออกกำลังกายครับ สำหรับผมแล้วผมก็ขี่มานานมากแล้ว ตั้งแต่อนุบาล คุณพ่อคุณแม่ซื้อจักรยานขันเล็กๆให้ มีล้อพยุงด้านข้าง ขี่เองบ้าง ล้มบ้าง แต่นั่นคือการเรียนรู้ และจะทำให้เราแข็งแกร่งนะครับ Implict Training หรือการเรียนรู้จากแบบอย่าง เช่นเมื่อเห็นคนที่ขี่จักรยานเป็น เราก็จะเลียนแบบเขาเหล่านั้น เองนะครับ
ย่าน Xindian มองจากที่นั่งทานอาหารร้าน KFC

     การเดินทางของผมเริ่มต้นที่ไทเป วิ่งไปตามเส้นทาง Taipei-Xindian ออกจากบ้านตอนประมาณเก้าโมงเช้า และขี่ไปเรื่อยๆ จนไปถึง Xindian อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การขี่จักรยานเป็นอย่างมากครับ ใช้เวลาในการขี่ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ก็มาถึงเขต Xindian ซึ่งเป็นเขตเมืองใหม่ หรือที่เรียกว่า New Taipei City ซึ่งก็คือรอบนอกของเมืองไทเปนั่นเอง ครับ ผมใช้เส้นทาง จาก Shilin วิ่งตรงไปตามถนน Zhongshan North Road ตรงยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ก็มาถึง Xindian Station สถานี Xidian จากนั้นแวะหาอะไรกินรองท้องก่อนจะเดินทางต่อ ผมเลือก KFC เพราะสะดวกดี ครับ แวะรองท้องด้วยพายกรอบไก่ทอด ก่อนเดินทางมุ่งหน้าสู่ Yilan Country ครับ เส้นทางเดินทาง สู่ Yilan สามารถไปได้สองเส้นทางนะครับ แพลนของผมตอนแรกก็จะไปทางด้านทิศเหนือ มุ่งตรงสู่ Riufang แล้ววกเข้าไป Gongliao ตรงสู่ Toucheng แล้วเข้า Yilan ซึ่งทางจะสบายกว่า แต่เหตุอันใดจึงทำให้ผมเลือกเส้นทางนี้ผมก็ไม่ทราบได้ ไหนๆ ขี่มาแล้วก็เลยตามเลยด้วยแล้วกันนะครับ ถือว่าเป็นการทดสอบร่างกายไปในตัวเลยครับ 


 เส้นทางเริ่มชันขึ้นเมื่อออกจาก Xindian ก็ต้อนรับ
สู่ขุนเขาลำเนาไพรกันเลยนะครับ ถนนที่ผมใช้มีชื่อว่า ถนน Beiyi มุ่งตรงสู่หมู่บ้าน Pinglin ซึงเป็นหมู่บ้านที่ปลูกชา ที่มีชื่อเสียงของไต้หวันเป็นตำบลเล็กๆ ห้อมล้อมไปด้วยขุนเขาและอากาศดีมากครับ เส้นทางคล้ายกับภาคเหนือของบ้านเราแต่ต่างกันตรงที่มันชันกว่าครับ ทางขึ้นตลอดเลยครับ แทบจะไม่มีทางลงเลยนะครับ แต่ก็ท้าทายดีครับ สำหรับการทดสอบความพยายามครับ

 ระยะทางระหว่าง Xindian ถึง Pinglin นั้น การขี่จักรยานคนเดียวหรือที่เรียกว่า Solo Riding นี่มันเป็นการทดสอบตัวเองอย่างแท้จริง ไม่มีเพื่อนให้คุยด้วย ไม่มีเพื่อนช่วยลาก เป็นการใช้ความสามารถของเราล้วนๆเลยนะครับ และข้อดีของการขี่คนเดียวก็คือ เราได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆรอบตัวเราอย่างที่แตกต่างออกไปครับ เราได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งต่างๆมากมาย เป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเองที่ดีมาก

แบบหนึ่งนะครับ เราเจ็บปวดเราเมื่อยล้า จากความยากลำบากของการปั่นจักรยาน แต่เราก็ไม่สามารถร้องตะโกนบอกใครได้ ตรงกันข้าม เราจะต้องบริหารจัดการอย่างไรไปให้ถึงจุดหมายต่างหาก เป็นการสอนให้เราเรียนรู้ในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ผ่านการวางแผนต่างๆที่ดีมากครับ นี่คือตัวอย่างเล็กๆของการใช้ชีวิตบนหลังจักรยาน และจักรยานก็เปรียบเสมือนครูที่สอนให้เรารู้จักฝ่าฝันอุปสรรค คุณเคยรู้สึกเหนื่อยจนจะทิ้งจักรยานไหมหลครับ หลายคนเคยแต่เชื่อไหมครับ เรากับจักรยานก็เปรียบเสมือน บัดดี้กัน บัดดี้ที่ไม่เคยบ่น บัดดี้ที่ไม่เคยบอกว่าเหนื่อย แม้บัดดี้จะยางรั่ว เราก็ต้องเข็นเขา หรือพาเขากลับไปยังที่หมายให้จงได้ นี่คือสิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้จากจักรยาน จงดูแลเขาให้เหมือนกับที่เขาดูแลเรานะครับ
    เส้นทางสายนี้ยังไม่จบ เดี๋ยวมีเวลาจะเข้ามาเขียนต่อตอนหน้านะครับผม

คอยติดตามตอนต่อไปนะครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...