ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิทย์กีฬา ฮาเฮ: หัวใจรักมวยไทย : จากแฟนมวยไทย กำลังตั้งคำถามถึง Soft Power

วันก่อนอ่านเจอบทความเกี่ยวกับ ซอฟท์พาวเวอร์กับมวยไทย โดย รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร | 14 กันยายน 2567 ท่านเคยเป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการซอฟท์พาวเวอร์ของรัฐบาล กับกีฬามวยไทย ก่อนอื่นถ้าหากเราเข้าใจเกี่ยวกับ Soft Power หรือ อำนาจละมุน คือ ความสามารถในการโน้มน้าวใจ หรือจูงใจให้ผู้อื่นอยากทำตาม หรือเห็นด้วยกับเรา โดยไม่ต้องใช้กำลังบังคับขู่เข็ญ หรือใช้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือการทหารเข้าแทรกแซง 


อำนาจละมุนนี้เกิดจากหลายปัจจัย เช่น วัฒนธรรม ค่านิยม แนวคิด และนโยบายต่างประเทศ ซึ่งล้วนส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศนั้นๆ ในสายตาชาวโลก ยิ่งประเทศใดมี Soft Power สูง ก็ยิ่งมีโอกาสในการสร้างความร่วมมือและมิตรภาพกับนานาประเทศได้มากขึ้น

ตัวอย่าง Soft Power ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เช่น:

ฟุตบอลอังกฤษ: พรีเมียร์ลีกอังกฤษ เป็นหนึ่งในลีกฟุตบอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ดึงดูดแฟนบอลทั่วโลก ทำให้อังกฤษมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

บาสเกตบอลอเมริกัน: NBA ถือเป็นลีกบาสเกตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนทั่วโลก และเผยแพร่วัฒนธรรมอเมริกันไปทั่วโลก

โอลิมปิก: มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเป็นเวทีที่รวมนักกีฬาจากทั่วโลก ส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ

เราไปติดตามบทความของท่านอาจารย์ ถึงข้อห่วงใย นี่คือสิ่งที่น่ารับฟังเป็นอย่างยิ่งสำหรับวงการมวยไทย

วันนี้ขอต่อเรื่อง soft power อีกสักนิดนะครับ เนื่องจากผมเป็นแฟนมวยมาตั้งแต่เด็ก ติดตามดูนักมวยทั้งมวยไทยมวยสากล ไปดูในสนามมวยทั้งราชดำเนินและลุมพินี เมื่อนักมวยคนโปรดชนะ ก็มักจะรีบวิ่งไปขอจับมือแสดงความยินดีในห้องพักนักมวย นักมวยคนโปรดในยุคนั้นสำหรับนักมวยไทยก็มี อดุลย์ ศรีโสธร อภิเดช ศิษย์หิรัญ แสนชัย เทอดไทย นักมวยสากลมีคนเดียว คือชาติชาย แหลมฟ้าผ่า ภายหลังเปลี่ยนเป็น ชาติชาย เชี่ยวน้อย ในยุคต่อจากนั้นผมอยู่ต่างประเทศ และเมื่อกลับมาก็ไม่ได้เข้าไปดูมวยในเวทีแล้ว แต่ก็ยังติดตามข่าวอยู่ตลอด แต่ถ้าจะให้บอกว่าใครคือนักมวยคนโปรด ก็ต้องบอกว่า ผุดผาดน้อย วรวุฒิ และสามารถ พยัคฆ์อรุณ จึงขอแสดงความเห็นเรื่อง soft power มวยไทยเสียหน่อย

เรื่องน่าขำมากก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ขับเคลื่อน soft power มวยไทย เสนอโครงการชื่อ 

"โครงการยกระดับกีฬามวย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและเผยแพร่วัฒนธรรมสู่สากล" ได้งบประมาณไป 644 ล้านบาท ในงบประมาณจำนวนนี้ จะใช้ไปกับการประชาสัมพันธ์ และกับการจัดการแข่งขันกีฬามวยไทย

ถึง 473 ล้านบาท 

คำถามคือ ช้าไปหรือเปล่าครับ ไม่น่าเชื่อว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งควรจะมีความรู้เรื่องวงการมวยไทยเป็นอย่างดี ไปเสนอโครงการแบบนี้ได้อย่างไร สัปดาห์ที่แล้ว ผมกำลังดูการถ่ายทอดสด One Championship ซึ่งไปจัดที่เมือง Denver รัฐ Colorado สหรัฐอเมริกา คู่เอกคือ ซุปเปอร์เล็ก เกียรติหมู่เก้า ชกในแบบมวยไทยกับ Jonathan Haggerty ชาวอังกฤษ รายการนี้มีคนดูมหาศาล เพราะถ่ายทอดสดทางช่อง 7 และสดทาง youtube มีคนดูทั่วโลกเป็นล้านคน ในคลิปแนะนำนักมวยที่ออกอากาศก่อนชก ยังเห็นว่านักมวยเหล่านี้ใช้อุปกรณ์การฝึกซ้อมยี่ห้อ Fairtex ซึ่งเป็นของไทยแท้ๆ กันเป็นส่วนใหญ่ 

ข้อมูลจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเอง ในปี 2566 ระบุมียิมที่สอนมวยไทยถึงกว่า 5000 แห่งทั่วประเทศ และมากว่า 4000 แห่งเฉพาะในยุโรป และมีอยู่ในประเทศต่างๆมากกว่า 50 ประเทศ อดีตยอดมวยไทยหลายคน เช่น แก่นศักดิ์ ส.เพลินจิต ก็เป็นเจ้าของยิมสอนมวยไทยที่ใหญ่โตมากในสหรัฐอเมริกา ผุดผาดน้อย วรวุฒิ ก็ไปสอนมวยไทยในประเทศฝร้่งเศสเป็นเวลานานจนมีครอบครัวที่นั่น  และปัจจุบันกลับมาอยู่เมืองไทยแล้ว

แสนชัย พีเค มวยไทยแสนชัยยิม ก็เดินสายไปเปิด work shop ในประเทศต่างๆ และได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม รู้หรือไม่ว่าผู้ที่เข้ามารับการฝึกมวยไทยในยิมมวยไทย หรือกระทั่ง mixed martial art ในต่างประเทศ พวกเขารู้จักเรียกอาวุธมวยไทยเป็นภาษาไทย เช่นคำว่า เตะ ถีบ เข่า ศอก กันทั้งนั้น

ปัจจุบันทั้ง Thai Fight  One Lumpinee ราชดำเนิน และ One Championship ก็จัดการแข่งขันชกมวยไทยกันทุกสัปดาห์อยู่แล้ว ยังไม่รวมเวทีอื่นๆอีกหลายเวที แล้วการกีฬาแห่งประเทศไทยจะไปเสียเงินจัดการแข่งขันมวยไทยเป็นร้อยๆล้านไปทำไมอีก

นักมวย mixed martial art เกือบทุกคนจะต้องฝึกมวยไทยด้วย ชาวต่างชาติต่างหลั่งไหลเข้ามาเรียน มาฝึกมวยไทยในประเทศไทยก้นมากมาย มีจำนวนมากที่ฝึกมวยไทยอยู่ต่างประเทศ แต่จะให้แน่จริง เขาจะมาเมืองไทย 

ในแง่ของ soft power มวยไทยจึงเป็น soft power ไปนานแล้ว และไปไกลมากแล้ว รัฐไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินหลายร้อยล้านเพื่อยกระดับมวย หรือประชาสัมพันธ์มวยไทยอีกแล้ว ถ้ายังดีงดันทำอีก ก็น่าเสียดายเงินภาษีที่มาจากประชาชนจนไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรดี 

หยุดเถิด นโยบาย soft power ประเทศเราไม่มีเงินเหลือใช้พอที่ให้นำมาถลุง มาละเลง ละลายแม่น้ำกันอย่างสนุกสนานเช่นนี้ 

พรรคร่วมรัฐบาลที่อ้างว่าทำเพื่อประเทศชาติ ก็เห็นโหวตผ่านงบประมาณ 2568 ไปอย่างพร้อมเพรียง นี่น่ะหรือ ฝืนใจเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อประเทศชาติ ไม่เคยค้านเพื่อประเทศชาติบ้างเสียเลย อ้างแต่ว่า เป็นมารยาททางการเมือง มารยาททางการเมืองแปลว่า จะผิดหรือถูก จะทำให้ประเทศชาติล่มจม หายนะ ก็ต้องยกมือให้หรือ 

"ระบอบประชาธิปไดยมันเป็นแบบนี้นี่เอง"

#มวยไทย #OneLumpinee #OneChampionship #Softpower #ซอฟท์พาวเวอร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...