ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สุนทรพจน์ที่ผสมผสานความเป็นวิทยาศาสตร์และความงามของมนุษย์ ของ ศาสตราจารย์ เหลา อี้

     กลับมาใช้ชีวิตที่ไต้หวันอีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้มาที่ไทเป เกือบสองปี กว่า มีเวลาช่วงสั้นๆ วันหยุด ในระหว่างที่นั่งเขียนบทความวิชาการ ณ ร้านกาแฟ ในเมืองไทยเป เปิดเฟสบุค ของ อาจารย์หมอชูชัย เกี่ยวกับคำกล่าวสุนทรพจน์ ให้กับบัณฑิตของ มหาวิทยาลัย Peking University เมื่อปี 2015 ของ ศาสตราจารย์ เหล่า อี้ Prof.Rao Yi จากคณะชีววิทยา ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ ระบบประสาทชั้นแนวหน้าของจีน ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถ ถึงขั้นที่ อเมริกา เสนอสัญชาติให้ท่าน แต่ท่านเลือกที่จะกลับมารับใช้ประเทศชาติ ซึ่งสุนทรพจน์ของท่าน มีความหมายมาก เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง วิทยาศาสตร์ กับความเป็นมนุษย์ได้อย่างงดงาม  ขอขอบคุณ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร์ ที่เป็นผู้ถอดความด้วยนะครับ  ถ้าไม่มีท่าน คนไทยหลายคนคงไม่ได้ทราบความงดงามของคำกล่าวสุนทรพจน์ นี้เลยนะครับ

ในพิธีรับปริญญาของ ม.ปักกิ่ง ในปี ค.ศ. 2015 ศ.เหราอี้ คณะชีววิทยา เป็นตัวแทนคณาจารย์กล่าวปัจฉิมโอวาท โดยใช้เวลาเพียง 4 นาที แต่เป็นคำกล่าวที่ได้รับการส่งต่ออย่างแพร่หลายในโซเชียลมีเดียของจีน

"ผมขออภัยด้วยที่ไม่อาจอวยพรให้บัณฑิตทุกคนประสบความสำเร็จ ไม่อาจอวยพรให้ทุกคนมีความสุข

เพราะประวัติศาสตร์บอกเราว่า สำหรับบางคน เพื่อ "ความสำเร็จ" เขายอมทิ้งสำนึกผิดชอบชั่วดี เพื่อ "ความสุข" เขาไม่สนใจแม้จะอยู่บนกองทุกข์ของผู้อื่น

ในทางฟิสิกส์ อะตอมต้องฝืนกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์กว่าจะประกอบกันขึ้นเป็น "สิ่งมีชีวิต" จึงนับเป็นเรื่องมหัศจรรย์

ในทางชีววิทยา กว่าจะเกิดเป็น "มนุษย์" ตามขั้นตอนของวิวัฒนาการก็ต้องนับเป็นเรื่องมหัศจรรย์เช่นกัน

บัณฑิตทุกคนที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ ท่านเองจึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์จากมุมมองของวิทยาศาสตร์

บัณฑิตทุกคนซึ่งเป็นผลจากกฎวิวัฒนาการที่ทำให้มนุษย์สูงกว่าสัตว์ จึงควรเคารพตนเอง

ไม่ว่าจะเป็นที่ผ่านมา วันนี้ หรือในอนาคต มีเพียงตัวเราเองเท่านั้น ที่รู้ชัดถึงความคิดและการกระทำของตัวเองอารยธรรมของโลกทั้งหลายล้วนใช้ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเครื่องควบคุมความคิดและการกระทำของบุคคล แต่สำหรับคนจีนซึ่งส่วนใหญ่ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า อารยธรรมของจีนเชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนต้องควบคุมตน ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับ "การเคารพตนเอง" เป็นอันดับแรก

เมื่อพวกคุณเข้าสู่สังคม พบเห็นอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น เริ่มเผชิญจุดอ่อนและปมด้อยของตัวเอง ภายหลังจากที่คุณผ่านร้อนผ่านหนาว ท่ามกลางสิ่งเย้ายวนและล่อลวงใจ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ง่ายที่จะชนะใจตัวเอง คงความรู้สึกนับถือศรัทธาตัวเองได้... ไม่ใช่เรื่องง่ายก็จริง แต่เป็นเรื่องควรค่าอย่างยิ่งที่จะพยายาม

พยายามอย่าได้…หลงตัว, ลืมตัว, ลดตัว, เหลิงตัว, หลอกตัว, หลบตัว, ลอยตัว, เล่นตัว

แต่จงพยายาม…มั่นใจในตน, ภูมิใจในตน, ประมาณตน, รู้จักตน, ทบทวนตน, แก้ไขตน, ให้กำลังใจตน, พัฒนาตน เพราะการเคารพตนเอง เป็นพื้นฐานของจิตใจที่เสรี การงานที่เป็นตัวของตัวเอง และชีวิตที่เป็นอิสระ

เพราะฉะนั้น ผมจึงขออวยพรให้พวกคุณในวันที่เกษียณ ขอให้คุณรู้สึกว่าในการทำงานที่ผ่านมา คุณนับถือศรัทธาตัวเองได้ ในวัยชราขอให้คุณรู้สึกว่า ชีวิตที่ผ่านมาสร้างประโยชน์ สร้างคุณค่า คู่ควรให้ตัวเองนับถือ

อย่าถามผมว่าทำได้อย่างไร!!!

50 ปีต่อจากนี้เมื่อคุณกลับมาที่นี่ มาเล่าให้น้องๆฟังว่าตัวคุณทำได้อย่างไร

และในวันสุดท้ายที่อะตอมในร่างกายคุณกลับคืนสู่ธรรมชาติตามกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ ขออวยพรให้ชีวิตของคุณที่ผ่านมานั้น มิใช่เป็นเพียงสิ่งมหัศจรรย์จากมุมมองของวิทยาศาสตร์ แต่ยังเคยฉายความน่ารักอย่างมนุษย์ที่สมบูรณ์


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...