ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

IO และ Propaganda เมื่อเราไม่ก้าวข้ามมัน

Information Operation: IO

ประเทศไทยแป็นประเทศหนึ่งที่ยังใช้แผนปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร ในการสร้างภาพให้กับรัฐบาลและกองทัพ เมื่อวันจันทร์ผมสอนเรื่อง Propaganda หรือการโฆษณาชวนเชื่อให้กับนิสิต ถ้าเราลองเอาทฤษฎีในการโฆษณาชวนเชื่อ มาเทียบเคียงกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน อันได้แก่ การโจมตีตัวบุคคล การพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ การโกหกเรื่องใหญ่เพื่อหวังผลกับคนหมู่มาก การจำกัดการเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชน สิ่งเหล่านี้ ยังคงเกิดขึ้นในสังคมไทย จากการต่อสู้กันทางระบอบความคิด เสรีนิยม กับ อนุรักษ์นิยม ฝั่งอนุรักษ์นิยมก็ต้องการให้ระบอบอนุรักษ์นิยมอยู่ในประเทศไทย เพราะพวกเขาได้ประโยชน์ ประกอบด้วย ข้าราชการ กองทัพ ร่วมมือกับทุนผูกขาด ส่วนฝ่ายเสรีนิยมก็ต้องการให้ประเทศเดินหน้า เพราะคนไทยได้ประโยชน์

เราจะเห็นการโจมตีกันทำลายกัน สาดโคลนใส่กัน บางทีก็จะใช้หลักในการเชื่อมโยง ว่าคนนั้นเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้ ที่สำคัญคนดันเชื่อด้วยนะครับ อันนี้หมายถึงกระดานใหญ่นะครับ ส่วนกระดานที่เล็กลงมาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกาย เราก็มักจะเห็นการนำเสนอทฤษฎีแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การอ้างงานวิจัยมาบอกว่าแนวคิดนี้ใช่หรือไม่ใช่ ก็ว่ากันไปครับ พักหลังมานี้ผู้เขียนชอบนั่งอ่านบทความในอินเทอร์เน็ตมากมายเกี่ยวกับการกีฬาและการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก จากบล็อคเกอร์ชาวไทย อาจารย์หลายท่าน ที่พยายามงัดทฤษฎีมานำเสนอกันมากมาย ก็สนุกไปอีกแบบนึงแหละครับ ส่วนใครจะแชร์จะเชื่อก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะครับ แต่หลายบทความที่เขียนตอนท้ายก็จะโยงเข้าสู่ธุรกิจ เออ มันก็จริงนะครับ ของฟรีไม่มีในโลก ใครจะมาขยันเขียนบทความให้คุณอ่านโดยไม่มีจุดประสงค์แอบแฝง หาได้น้อยมากในโลกใบนี้ สุดท้ายสิ่งที่จะช่วยให้คุณมีสติ ในการจะเชื่ออะไรก็ตามมันก็ต้องกลับมาสู่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า กาลามาสูตร 10 ที่เขาบอกว่าอย่าเชื่อแม้กระทั่งครูอาจารย์ของตนเอง นั่นแสดงว่าพระองค์ท่านสอนให้เราตรึกตรองและใตร่ตรองให้ดีเสียก่อน...ที่สำคัญไม่ต้องมาเชื่อผมนะครับ แต่จงใช้สติปัญญาในการคิดวิเคราะห์แยกแยะ นั่นเป็นสิ่งที่ผมจะภูมิใจมากกว่าที่เห็นคนที่ตามอ่านบทความ หรือสิ่งที่ผมเขียนนั้น คิด วิเคราะห์แยกแยะเป็น ครั้งหนึ่งผมก็เคยผ่านตรงนั้นมาก่อน นั่นคือความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ ว่าแนวคิดนั้นมันถูกต้องมันใช่ แต่พอมาระยะหลัง พอได้เดินทางในโลกกว้างบ่อยๆ นั้นความคิดเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไป ทั้ง ความรู้ ประสบการณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเดินทางมันช่วยให้เราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น โตขึ้น และมองโลกกว้างขึ้น จริงๆครับ เมื่อสมัยผมเรียนในระดับปริญญาเอก ได้ไปเรียนที่ต่างประเทศ แล้วลองมองย้อนกลับมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเรา หลายอย่างมันช่างสวนทางกับนานาอารยประเทศ พูดแบบนี้จะหาว่าผมชังชาติไหมหนอ แต่มันก็มีทางเลือกเสมอ เมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่าบางสิ่งบางอย่างมันไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหารถติด ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ทางเลือกแรกคือ ช่างมัน ฉันอยู่กับมันได้ อีกทางเลือกนึงคือ มันต้องแก้ปัญหาแม้ว่าจะยากเท่าไรก็ตาม มันไม่เกินความสามารถของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ช่วงปีใหม่ปี (ตรุษจีน) ผมอยู่ที่ไทเป คุณลองคิดเล่นๆ การรื้อสะพานลอยให้รถข้าม คุณต้องใช้เวลารื้อกี่วัน ถ้าเป็นบ้านเราคงจะใช้เวลา เป็นเดือน ที่ไต้หวันใช้เวลาเพียง 4 วันเสร็จพร้อมปรับภูมิทัศน์ คุณเห็นหรือยังครับว่าบางอย่างเราสามารถก้าวไปนอกกรอบความคิดเดิมได้ แต่มันขึ้นอยู่ว่าคุณจะกล้าทำหรือเปล่า




เรื่องอุดมการณ์ความคิดก็สู้กันต่อไป แต่อย่าใช้การชกใต้เข็มขัด หรือเฟคนิวส์ สังคมยุคใหม่เขาต้องการการพูดคุยกันด้วยเหตุผล และที่สำคัญจะต้องคิดตามไม่ใช่พูดด้วยเหตุผลแต่ไม่คิดวิเคตราะห์เหตุผล หรือมีธงนำ ปัญหามันก็แก้ไขไม่ได้หรอกครับ ถ้ามัวแต่ทำแบบนั้น เด็กรุ่นใหม่ไม่ใช่ชอบสร้างข้อกล่าวหา หรือเฟคนิวส์ อย่านำมุกเก่าๆมาใช้กับเด็ก เยาวชนของชาติเลยครับ..... อายเด็กมันบ้าง...

เมื่อไรเราจะก้าวข้าม IO กับ Propaganda ไปเสียที คนไทยต้องแข่งกับประเทศอื่นๆในโลกนะครับ




ความคิดเห็น

  1. อย่าง ดร.บอกครับ เราควรคิด วิเคราะห์และแยกแยะเสมอ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...