ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวโน้มและประเด็นทางพลศึกษา ตอนที่ 1

ได้มีโอกาสไปนั่งฟังการบรรยายทางวิชาการในการประชุมวิชาการ พลศึกษา สุขศึกษา สันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งบรรยายไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง โดยมีวิทยากรมาจาก สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ สิงคโปร์ นั่งฟังไปฟังมาก็จับประเด็นมาได้บางประเด็น มาทำให้เป็นเรื่องเป็นราว คือ

พลศึกษา เป็นวิชาที่เป็นอันดับแรกของการถูกตัดออกในโรงเรียนระดับ ประถม มัธยม และโรงเรียนประถมและมัธยม มีวิชาที่สอนเกี่ยวกับการพลศึกษาน้อยมาก เมื่อมองกลับมาดูในประเทศไทย ระบบการผลิตครูพลศึกษา มีมากมายจากหลายสถาบัน เช่น คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และ จาก วิทยาลัยพลศึกษา ซึ่งถ้ามาดูปริมาณของบัณฑิตที่จบใหม่ นั้น มีจำนวนสูงมากในแต่ละปี ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นจำนวนที่พอเพียงต่อความต้องการของตลาด แต่จริงๆ ล้นตลาด ครับ ทุกๆปีจะมีบัณฑิตทางด้านพลศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา จบใหม่ในทุกปี หลายคนก็มีการมีงานที่ดีที่ทำ แต่หลายคนก็ต้องเดินเตะฝุ่น
ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทยหรือไม่ เป็น แต่หลายคนอาจจะไม่เห็นว่าปัญหามันใหญ่หลวงเพียงใด ปัจจุบันนี้ มีสถาบันที่สอนเกี่ยวกับพลศึกษา ต่างก็เร่งผลิตบัณฑิต เปิดหลักสูตรใหม่ๆ มาเป็นจำนวนมากมาย และยังมี สถาบันการพลศึกษา อีก สำหรับผมแล้ว ผมเป็นห่วงในเมื่อ ปริมาณแปรผกผันกับคุณภาพ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายมากที่จะคิดว่าคุณภาพของคนนั้น อยู่ในระดับใด เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา ควรจะต้องทบทวนบทบาทของตัวเอง หรือควรจะมีการทำการวิจัยหรือไม่ว่า สถานะ ทางด้านพลศึกษา สุขศึกษา สันทนาการ ของประเทศไทยนั้น อยู่ในระดับใด ที่ยืนของบัณฑิตมีที่ยีนหรือไม่ หรือแม้กระทั่งการคุ้มครองวิชาชีพของตัวเองมีแค่ไหน หน่วยงานในการเป็นปากเสียงปละควบคุมมาตรฐานมีหรือไม่ ต้องกลับไปคิดตรงนี้ให้หนัก มาก มากกว่าที่จะไปแข่งขันกันเพื่อเป็นจ้าวตลาดหลักสูตร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T...

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อ...

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆขอ...