ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

วิทย์กีฬา กำลังจะถึงสภาวะฟองสบู่ (แตก)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะเขียนถึงปัญหาของวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา สิ่งที่ผมเขียนนี้ผมเขียนจากข้อมูลที่ผมมีอยู่นะครับ ผิดถูกบ้างก็นำข้อมูลมาหักล้างกันนะครับ สำหรับในช่วงที่ผ่านมานั้น มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์การกีฬา ในประเทศไทย ผุดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ มรภ และเอกชนนะครับ ท่านลองคิดดูกันเล่นๆ นะครับ ว่าในปีนึงๆจะมีบัณฑิตที่จบใหม่เข้ามาทำงานในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายกี่คน ต่อปี ถ้าเทียบกับวิชาชีพอื่นๆที่มีความต้องการชัดเจน อย่างแพทย์ และวิศวกร หรือสาขาอื่นๆ  แล้วคนเหล่านี้จบมาจะทำอะไรกัน ในเมื่อความต้องการของอัตรากำลังทั้งทางภาครัฐ และ ภาคเอกชน มีจำกัด ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว นี่ยังไม่นับรวมการเปิดประชาคมอาเซียน ที่จะเกิดการถ่ายเทแรงงานในกลุ่มชาติอาเซียนอีกนะครับ เท่าที่ผมติดตามข้อมูลดู บางแห่งรับนักศึกษากันหลักร้อย หรือหลักเกือบร้อย คนกันเลยทีเดียว ผมคิดว่าปัจจัยนึงคือ งบประมาณต่อหัวนิสิต ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังต้องการ เพราะเปรียบเสมือนเงินรายได้ของทางมหาวิทยาลัย นอกเหนื่อจากงบประมาณแผ่นดินที่มีอย่างจำกัดครับ งบประ

เรื่องของจังหวะที่นักกีฬาส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสำคัญกัน

นั่งดูมวยสากลสมัครเล่น ในปัจจุบันแล้ว ได้แต่นั่งเวทนา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกฏกติการการตัดสิน ตลอดจน ความไม่มีมาตรฐานในการตัดสินเชิงประจักษ์ ทำให้นักกีฬาและโค้ช เกิดความสับสน และไม่รู้แนวทางที่จะชก ต่อยอย่างไรให้ชนะ เพราะบางทีเป็นฝ่ายเดินเข้าหา มี หมัดเข้าเป้ามากกว่า แต่ผลออกมากลายเป็นแพ้ และทำให้นักมวยมีเริ่มไม่มั่นใจในสไตลล์ของตัวเองว่าต่อยถูกต้อง วางแผนถูกต้องหรือไม่ วันนี้ผมขออนุญาตนำบทความเก่าๆ ที่ผมเขียนสมัยปาเกียว ปราชัย ให้กับ ฟลอยด์เมเวเธอร์ โน้น และล่าสุด สว เกียว ก็ปราชัยให้กับเจฟฟ์ ฮอร์น อีกครั้ง (เรื่องโดนปล้นชัยชนะก็ไปว่ากันต่อไปนะครับ) แต่วันนี้ขออนุญาตพูดเกี่ยวกับเรื่องของจังหวะการเคลื่อนไหว (Rhythm) จังหวะการเคลื่อนไหวนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในกีฬาต่อสู้ทุกชนิด เพราะจังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นจะเป็นตัวควบคุมแผนกลยุทธ์ทั้งหมดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการรุก การรับ หรือการรอสวนกลับ ก็แล้วแต่ นักกีฬาจะต้องมีจังหวะแทบทั้งสิ้น จังหวะของการเคลื่อนไหวนั้นก็เป็นการทำงานประสานกันของระบบประสาท (สมอง+ตัวรับความรู้สึก )และกล้ามเนื้อ(Response) นะครับ ท่านผู้อ่านเคยสังเกตไหมครับ ว

รีวิวบ้านๆกับ Polar M430 ลองทดสอบการใช้งานจริง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านบล็อคเกอร์ของผมทุกท่าน วันนี้ได้สั่งซื้อ Heart Rate monitor ตัวใหม่มาจากทางตัวแทนจำหน่าย www.vinasport.co.th นะครับ หลังจากที่ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูล และ ลองสืบราคา จากเวบไซต์ต่างๆมาหลายเวบไซต์ สรุปก็เลยมาลงเอย ทีบริษัทนี้ครับ เพราะพอผมโทรไปสอบถามข้อมูลทางด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ของเขาก็ให้คำตอบได้ดีครับ  ข้อมูลปึกมาก กลับมาที่ Polar M430 กันต่อนะครับ เมื่อแกะกล่องมา มีหัวใจหลักๆ อยุ่สามชิ้นใน แพคเกต ก็คือ 1. ตัวนาฬิกา Polar M430 2. สายชาร์ตและเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ 3. คู่มือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบก็คือ 1. โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน จะเป็น Android หรือ iOS ก็สุดแท้แต่ 2. คอมพิวเตอร์ ผมแนะนำเลยครับว่าต้องมี เพราะเนื่องด้วยข้อจำกัดของสมาร์ทโฟน ในการวางแผนการฝึกซ้อม เราจำเป็นต้องมีพีซี หรือ โน็ตบุ็ค ไว้สำหรับการวิเคราะห์เชิงลึกนะครับ เ ริ่มต้นด้วยการตั้งค่า ก็แสนจะง่ายดาย จากคู่มือ นั้น การตั้งค่าแบ่งออกเป็นสามแบบนะครับ 1. ตั้งค่าผ่านทางสมาร์ทโฟน 2. ตั้งค่าแบบแมนวล 3. ตั้งค่าโดยเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ผมขอแนะนำวิธีนี้นะครับ สองวิธีขั้นต้น จากประ