ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลิขสิทธิ์ไทยลีก ไหวไหมเนี่ยะ

 ไทยลีกบริหารอย่างไรให้ Future Value จาก 1000 ล้านมุ่งสู่ 50 ล้าน นี่คือความคิดเห็นส่วนตัว ขอย้ำว่าส่วนตัวนะครับ ไม่ผูกพันองค์กร โดยส่วนตัวแล้วมองว่าปัญามีดังนี้

หลังจากที่ไทยลีก ประกาศว่า มีผู้ที่สนใจซื้อลิขสิทธิ์เพียง 50 ล้าน จากแต่ก่อน ระดับหลายร้อยล้าน วันนี้ผมจึงมีข้อสังเกตว่าทำไมมูลต่าการตลาดจึงหล่นลงฮวบหาบ ขนาดนี้

1. ฟุตบอลน่าเบื่อลงหรือไม่ ? ในฤดูกาลที่ผ่านมาต้องยอมรับเลยว่า ความน่าสสนใจของไทยลีก มันลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก การขาดเอกภาพ ความร่วมมือ กันระหว่าง สื่อมวลชน ทีม คนชม คนเชียร์ ต้องยอมรับว่า สื่อสารมวลชนแทบจะไม่ค่อยมีการโปรโมตเท่าที่ควร การสร้างกระแส การเลี้ยงกระแส ไม่เหมือนแต่ก่อน นั่นจึงเป็นเหตุ ว่าทำไม ไทยลีก ตั้งแต่เปลี่ยนนายกสมาคมอยู่ในสภาวะถอยหลังเข้าคลองถ้าฟุตบอลสนุก เห็นอารมณ์ ความเป็นมืออาชีพ ในทีม เห็นถึงอารมณ์ร่วม ผมเชื่อว่าคอนเทนต์ขายได้ แต่ที่ผ่านมา คุณต้องยอมรับว่า คอนเทนต์ไทยลีก นั้น อาจจะขายได้เพียงแค่คนกลุ่มนึง หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 พฤติกรรมนิวนอร์มอล ย่อมส่งผลต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเป็นอย่างมาก ในขณะที่ต่างประเทศถอดหน้ากาก ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข มาหลายปี ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องมาตรการสาธารณสุข การสวมหน้ากากในที่สาธารณะ ซึ่งแน่นอนกระทบต่อความเชื่อมั่น ในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันเป็นอย่างมาก หนึ่งในนั้นก็คือฟุตบอลไทยลีกนั่นเอง


2. ความไม่เท่าเทียมของเงินลงทุนในการทำทีม ของแต่ละทีมในลีก แน่นอนว่า มันคือความเหลื่อมล้ำ ในลีกโดยแท้จริง ทีใหญ่ ทีมนักการเมือง ทีมที่มีธุรกิจหนุนหลัง แน่นอนว่า มีงบประมาณซื้อนักเตะคุณภาพ อย่างมันมือ แต่ตรงกันข้าม ทีมที่มาจากจังหวัด ที่ไม่ได้มีทุนใหญ่ นักการเมืองใหญ่หนุนหลังนั้น กลับทำผลงานได้แย่ บางครั้งก็ติดค้างค่าตัวนักเตะ ขาดสภาพคล่อง จึงทำให้ศักยภาพทีมนั้นสู้ทีมใหญ่ไม่ได้ ลองดูก็ได้ครับ ทีมที่เพิ่งขึ้นมา ทีมเล็ก เงินน้อย จะไปสู้เจ้าบุญทุ่มยังไงได้ คนทุ่มเยอะได้นักเตะคุณภาพดี คะแนนทิ้งห่างกันหลายแต้มดูไปก็ไม่สนุกครับ อันนี้มีความสำคัญมาก เพราะทุกทีมก็ต้องมีงบประมาณในการเตรียมทีมครับ ในต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ แมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็ถูกครหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารงานสโมสร ซึ่งบทลงโทษนั้นค่อนข้างแรง ในต่างประเทศครับ ส่วนประเทศไทย คุณจะเอางบ อบจ เทศบาล หรืองบหลวง มาสนับสนุนทีมตัวเอง ถ้าคุณมีการเมืองหนุนหลัง ยังไงคุณก็รอด จึงไม่แปลกใจว่าธุรกิจในการฟอกเงิน ของประเทศไทย นั้น ก็คือ ธุรกิจกีฬานั่นเอง
3. คุณภาพของการจัดการแข่งขัน Facilities ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการแข่งขัน ควรจะต้องให้ความสำคัญ เช่น ระบบการระบายน้ำของสนาม แสงสว่าง หญ้า ในสนาม การตกแต่งสนามสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องปรุงให้เกมการแข่งขันดูมืออาชีพและเกิด มนต์เสน่ห์นะครับ
4. การดำเนินการถ่ายทอดสด นั้น มีมูลค่าค่อนข้างสูง เพราะมี Stakeholder หลายเจ้า แทนที่จะเป็นเจ้าเดียว คือการหา Broadcast Operator ที่จะต้องควบคุม บริหารจัดการ Feed คุณภาพ มุมกล้อง โปรโตคอล ไม่ควรใช้การจ้างช่วง SubContractor รับช่วงต่อ จึงยากที่จะควบคุมคุณภาพในการผลิตสัญญาณ งบที่ใช้ในปัจจุบัน จึงไม่น่าตอบโจทย์ เพราะคุณภาพการผลิตสัญญาณ วิ่งสวนทางกับ งบประมาณที่ได้รับ ทำให้คอนเทนต์ ที่ออกมา นั้นไม่ได้มาตรฐาน ของทีวีต่างประเทศ ให้ Broadcast Operator ที่มีประสบการณ์เขาทำซิครับ
5. องค์ประกอบของคอนเทนต์ ควรจะต้องมานั่งดูกันนนะครับว่าเราจะสร้างคอนเทนต์อย่างไรให้มีคุณภาพ และ ทำให้กระแสนั้นเกิดความต่อเนื่อง ได้ตลอดเวลา อันนี้คือปัจจัยสำคัญมากครับ รายการวิเคราะห์ เจาะลึก สัมภาษณ์ ทั้ง ออนไลน์และออฟไลน์ มันน้อยลงมาก ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางออนไลน์ แต่อย่าลืมว่า คุณค่า มันเกิดขึ้นจากออฟไลน์ เพราะเรามีสิ่งที่จับต้องได้ นั่นเอง
6. ความผูกพันระหว่างทีมรัก กับ คนดูเริ่มลดลง สิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬา หรือ ทีมกีฬา นั่นก็คือการทำ Fan Engagement ความผูกพันระหว่างทีมกีฬากับแฟนกีฬา ย้อนกลับไปสมัยก่อน ที่แฟนกีฬากับสโมสรมีความผูกพันกันมาก โดยเฉพาะไทยลีก กับดิวิชั่น 1 สมัยก่อตั้งลีกใหม่ๆ ไม่ว่าจะป็น บุรีรัมย์ เอฟซี,ชลบุรี เอฟซี, เมืองทองยูไนเต็ด,การท่าเรือ เป็นต้น แฟนคลับเหล่านี้ยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของหนังชีวิตในการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อความสำเร็จของทีมตัวเอง แต่บางครั้งการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ภาพลักษณ์ของทีมดูแย่ เกิดปัญหาภายในทีม ทำให้ศรัทธาแฟนบอลลดลง การเพิ่มจำนวน ฐานแฟนบอลก็คือ ทำได้ไม่มากเหมือนแต่ก่อน เรื่องนี้คงต้องให้เครดิตสมัยบังยี ที่ดึงสื่อใหญ่อย่างสยามสปอร์ตและทรูวิ่ชั่น มาเร่วมกันสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับลีก แต่วันดีคืนดีพออำนาจเปลี่ยนก็ไปหักเขา คุณรู้ไหมว่า เขาใช้งบประมาณในการสร้างการรับรู้ไปเท่าไร แต่พอวันดีคืนดีคุณเปลี่ยนนายก สมาคม คุณก็ไปหักกับเขาไง ซึ่งแน่นอนว่า เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือควาย เราเป็นคนไม่ใช่ควาย

7. แพลทฟอร์มจำกัด สปอนเซอร์ไม่เข้า หากเทียบกันระหว่างสมัยที่ สยามสปอร์ตและทรูวิชั่นดูแลเรื่องลิขสิทธิ์ กับ สมัยนี้ คงเทียบไม่ได้ ทรูวิชั่นมีทั้ง ฟรีทีวี ทรู มันไม่ใช่เรื่องยากที่คนจะยอมเสียเงินเพื่อดูคอนเทนต์คุณภาพ อย่างพรีเมียร์ลีก กัลโช่ พ่วงด้วยไทยลีก รวมทั้งกีฬาระดับโลก อื่นๆ แต่กลับกัน ทำไมคนถึงต้องซื้อแพคเกจของ AIS Play ทั้งที่เขาก็ติดเคเบิ้ลทรูเพื่อดูพรีเมียร์ลีก รายการกีฬาระดับโลก แต่ติดเพื่อดูบอลไทยลีก คงไม่บ้าพอ เนื่องด้วยขนาดแพลตฟอร์มที่เล็กกว่า ทำให้การถ่ายทอดสด อยู่ในวงจำกัด ความเสถียรของระบบที่รับคนดูได้จำกัด ทำให้แฟนเริ่มเซ็ง ดูบอลไปกดรีเฟรชไป สัญญาณไม่ใช่ Full-HD จริงๆ ทำให้คนไปดูที่สนาม จะได้ฟีลมากกว่า หรือ รอลุ้น ว่าจะกระตุก จะล่มหรือไม่ในทุกครั้ง และเทียบคุณภาพในการจัดรายการก็แตกต่างกันระหว่างตอนที่ AIS ได้สิทธิ์ กับตอนทรู ได้สิทธิ์ ทรูมีทั้งพรีวิว ก่อนเกม หลังเกม สกูป ต่างๆ ออกทุกสื่อ แต่เดี๋ยวนี้กลับไปให้ความสำคัญกับออนไลน์อย่างเดียวเท่านั้น นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

8. คอนเทนต์ขายไม่ได้ แน่นอนว่าลิขสิทธิ์ทีวี นั้นขึ้นอยู่ว่า สปอนเซอร์จะเข้าหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบัน ใครก็สร้างคอนเทนต์ได้ จำนวนของคอนเทนต์กีฬาในประเทศ กับ จำนวนคนดูไม่สัมพันธ์กัน คอนเทนต์ล้น แต่คนดูจำกัด ทำให้เกร่อ จริงๆเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของภาพรวมทั้งประเทศนะ จำนวนอีเวนต์กีฬาในประเทศไทย กับ จำนวน คนดู เป็นสิ่งที่จะต้องบาลานซ์ให้สมดุลกัน ไม่ใช่ ใส่เงินจัดตะบี้ตะบันไม่ลืมหูลืมตา คำถามต่อมาคือ ใครจะดู สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อมาคือ โปรดักชั่น ครีเอทีฟ การสร้างคุณค่าให้กับคอนเทนต์กีฬา ลองดูตัวอย่างของ พรีเมียร์ลีก บุนเดสลีกา เวลาผลิตสัญญาณโทรทัศน์ เขาใช้ OB กี่คัน กล้องกี่ตัวต่อแมทช์ Super Slow กี่ชุด บุนเดสลีกา 1 แมทช์ ใช้กล้อง 16 ตัว โอบี 3 คัน แบบเทรลเลอร์ ผมกำลังจะชี้ให้เห็นว่า การถ่ายทอดสดนั้นไม่ใช่แค่สักแต่ถ่ายครับ คุณภาพของการผลิตจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ในการถ่ายทอดความรู้สึก และอารมณ์ร่วม ส่งไปยังแฟนบอลที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก เคยสังเกตไหมว่า ทำไมต่างประเทศต่างไล่คว้าลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่ไม่เคยคิดจะซื้อไทยลีก

ไทนลีกนั้นถูกอุ้ม ถูกชู ถูกโอ๋ จากงบประมาณภาครัฐมานาน โดยเฉพาะกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งทำให้การบริหารนั้น ไม่ได้เป็นแบบเอกชน แต่กลายเป็นหลักคิดแบบราชการ คือ เงินเย็น และคุณก็ไม่ได้พัฒนารูปแบบ Business Model จึงไม่แปลกใจว่า ถ้าหากไม่มีเงิน นี่แหละคือ มูลค่าจริงๆ ของการตลาด 50 ล้าน ยังถึอว่าเยอะไปด้วยซ้ำ

เขียนแค่นี้ก็พอเห็นภาพแล้วนะครับว่ามูลค่าการตลาดในอนาคต Future Value มันขึ้นอยู่กับปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันยังคิดแบบเดิมๆ จะไปหวัง Future Value คงไม่ได้ ถ้าไม่ร่วมกันสร้างตั้งแต่วันนี้ ทำในสิ่งเดิมๆ ก็ได้ผลลัพธ์แบบเดิมๆ แต่นี่น่าจะทำสิ่งที่ห่วยกว่าเดิม จึงได้ ผลลัพธ์ที่แย่ลงกว่าเดิมไงครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครว่าพาร์กินสันออกกำลังกายไม่ได้ ลงวิ่งอัลตร้าเทรลกันเลยทีเดียว

พาร์กินสันก็ลงอัลตร้า ได้นะ Parkinson and Exercise... วันนี้ขออนุญาตแชร์เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ให้ฟังนะครับ เพื่อนผมชาวแคนนาดา เป็นครูสอนว่ายน้ำ อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงครับ เขาถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาทราบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนส่วนใหญ่ที่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขานั่นก็คือการออกกำลังกาย นั่นเอง หลังจากที่เริ่มฝึกออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อประมาณ สิบเดือนที่แล้ว คริส  ก็เริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังและซ้อมวิ่ง ภายใ้ต้การดูแลโดยสตีฟ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (อากาศนิยม) และ ฝึกความแข็งแรง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อ Joint Mobility เราเลือกการฝึกแบบแอโรบิค โดยการคุม โซนอัตราการเต้นของหัวใจครับ และทดสอบระดับแลคเตททุกๆเดือน การกำหนดโปรแกรมเนื่องจากข้อจำกัดของคริส คือ ไม่สามารถจะทำการทดสอบ VO2max แบบทางอ้อม สตีฟ ได้เลือกวิธีการทดสอบด้วย Non-Exercise Test แลนำมาหาความสัมพันธ์กับการเจาะแลคเตท ด้วยวิธีการ Cooper's test ครับ วันนี้คริส สามารถจบรายการ Cordillera Conservation T

Full Squat VS Half Squat มุมมองในเชิงชีวกลศาสตร์

ศิริเชษฐ์  พูลทิพายานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มศว เป็นที่ถกเถียงกันในวงการเทรนเนอร์ในเรื่องของ Half Squat VS Full Squat นะครับ วันนี้เลยอยากจะเสนอมุมมองใหม่ในทางชีวกลศาสตร์กันดูบ้างสำหรับเรื่องของการสควอท ท่ายอดฮิตนะครับ สำหรับเทรนเนอร์ทั้งหลาย  โดยวันนี้ผมจะขอเขียนเป็นสามด้านนะครับ เปรียบเทียบกันทั้งสองท่าน ระหว่าง Half Squat และ Full Squat แต่ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ นี่เป็นเพียงแค่การทำตัวอย่างนะครับ ยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด สำหรับว่าท่าไหนจะดีกว่ากันนะครับ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอีกต่อไป แต่ที่แน่นอนนั่นก็คือ จุดมุ่งหมายแตกต่างกันแน่นอน ครับ แต่การนำไปใช้ก็ต้องมีข้อควรระวังด้วยนะครับ  *****ไม่งั้นจะหาว่าเจ้าของบล็อกไม่เตือน**** ผมทดลอง Squat อาสาสมัครเป็นผู้หญิง น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 170.5 เซนติเมตร ผมลองทำโมชั่นแคปเจอร์ ของอาสาสมัคร โดยทำท่าสควอท สองแบบ นะครับ แบบแรกก็คือ การทำ Half Squat และ อีกแบบนึงก็คือการทำ Full Squat ครับ โดยผมเก็บการเคลื่อนไหว ด้วย IMU Sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์วัดความเร่งและการเคลื่อนไหวติดตาม ส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั

EMMAA ระงับกิจกรรมทั้งหมดกับ IMMAF

  วันที่ 4 พฤษภาคม 2023 - สมาคมศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานแห่งอังกฤษ (EMMAA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาจะระงับการมีส่วนร่วมของนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ตัดสินจากการแข่งขันและกิจกรรมทั้งหมดของสหพันธ์ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสานนานาชาติ (IMMAF) จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เหตุผลของการตัดสินใจ การตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากจดหมายที่ EMMAA ส่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2023 ซึ่งได้รายงานถึงปัญหาด้านการปกป้องเด็กและการล้มเหลวของ IMMAF ที่ไม่ดำเนินการแก้ไขในเวลาที่ควร การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากมุมมองทางศีลธรรมและความซื่อสัตย์ หลังจากการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพ ประวัติความเป็นมาของ IMMAF แม้ว่า IMMAF จะเคยให้โอกาสและความทรงจำที่ดีแก่นักกีฬาของ EMMAA มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันมาตรฐานของ IMMAF ได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ทำให้ EMMAA ต้องตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมของตน ความขอบคุณต่อทีมงาน EMMAA ขอบคุณทีมงานอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการจัดการแข่งขันของ IMMAF อย่างไรก็ตาม EMMAA เห็นว่า ประธานกรรมการ ผู้บริหาร และคณะกรรมการของ IMMAF ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่